Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2551
FRCDพลิกกำไร แบงก์SMEวุ่น เล็งฟ้องบอร์ด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




วุ่นไม่เลิกเอสเอ็มอีแบงก์หลังบอร์ดส่งฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อ ป.ป.ช.ฐานทำให้เกิดความเสียหายจากตราสารFRCD แต่ดอกเบี้ยไลบอร์ขึ้นสวนทางทำให้พลิกกลับมามีกำไร ผู้บริหารแบงก์กุมขมับหาทางออกกับเงินที่ได้รับเหตุบอร์ดประกาศให้สัญญาเป็นโมฆะและ SCBT อยู่ระหว่างฟ้องแพ่ง ขณะที่อดีตเอ็มดี “พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์” และผู้บริหาร 4 รายเตรียมฟ้องกลับบอร์ด ระบุตอนแบงก์ได้ประโยชน์กลับนิ่งเฉยแต่พอเสียหายรีบหาแพะมาสังเวย

แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดลอนดอน หรือไลบอร์ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4%กว่าๆ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธพว.มีภาระผูกพันกับธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์(ไทย) จำกัด(มหาชน) SCBT ที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยน (Swap) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposit-FRCD) 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.14 หมื่นล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 3.5-8.5% ส่งผลให้ธพว.กลับมามีกำไรจากบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีอีกครั้ง

หลังจากก่อนหน้านี้ไลบอร์ลดต่ำมาที่ระดับ 2%กว่า จนทำให้ธพว.ขาดทุนและต้องจ่ายเบี้ยปรับให้กับสแตนดาร์ดถึง 3 พันล้านบาท แต่จากกรณีที่คณะกรรมการธพว.สั่งให้สัญญาระหว่าง 2 ธนาคารเป็นโมฆะ เนื่องจากระบุว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงแต่มีการเก็งกำไร ประกอบกับก่อนหน้านี้ SCBT ได้ยื่นฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้พิพากษาให้ธพว.จ่ายเบี้ยปรับ ดังนั้นธพว.จึงไม่มีแนวทางปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรกับผลกำไรที่เกิดขึ้น

"มาถึงตอนนี้ขั้นตอนทุกอย่างสับสนไปหมด เพราะเมื่อไลบอร์ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 3.5% ก็ทำให้ธพว.กลับมาได้ประโยชน์ตามสัญญาที่ระบุไว้ แต่จะทำอะไรก็ไม่ได้เพราะบอร์ดสั่งให้สัญญาเป็นโมฆะไปแล้วและสแตนดาร์ดก็ฟ้องศาล เราจะต้องหยุดนิ่ง ไม่มีใครกล้าเคลื่อนไหว ทั้งที่หากเดินหน้าต่อก็จะสามารถหักลบกลบหนี้ลดเบี้ยปรับไปได้และอาจจะได้กำไรเกินกว่าที่จะต้องเสีย เช่นที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนตลอดปี 50 ที่ธพว.ได้ประโยชน์มาโดยตลอดทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าแบงก์อื่นๆ" แหล่งข่าวระบุ

อดีตเอ็มดีเตรียมฟ้องกลับ

นอกจากนี้นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ อดีตกรรมการผู้จัดการ ธพว.ซึ่งลาออกไปเมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่รวม 4 ราย ที่ถูกกล่าวโทษจากการที่คณะกรรมการ ธพว.สั่งฟ้องและสั่งให้จ่ายค่าเสียหายหากธพว.ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT อยู่ระหว่างเตรียมการฟ้องกลับคณะกรรมการธพว. ที่มีมติให้กล่าวโทษร้องทุกข์ความผิดทางอาญาไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

เนื่องจากเห็นว่าช่วงที่ออกเอฟอาร์ซีดีซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนต้นปี 51 คณะกรรมการธพว.ได้เข้ามาบริหารงานแล้ว ซึ่งผลการทำประกันความเสี่ยงจากบัตรเงินฝากดังกล่าวส่งผลดีต่อธพว.มาโดยตลอด แต่ช่วงระยะเดือนก.พ.51 ดอกเบี้ยไลบอร์ปรับลดต่ำมากทำให้ธพว.ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT

จากนั้นคณะกรรมการธพว.จึงเริ่มกระบวนการสอบสวนและระบุให้สัญญาเป็นโมฆะ และอ้างว่าบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีไม่เพียงแค่ประกันความเสี่ยงแต่ยังเป็นการเก็งกำไรทำให้ธพว.ได้รับความเสียหาย ทั้งที่ก่อนหน้าธพว.ได้รับประโยชน์มาโดยตลอด ซึ่งหากใช้ข้ออ้างดังกล่าวแล้วก็ควรจะทำตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่บริหารหรือตั้งแต่ธนาคารได้ประโยชน์

ทั้งนี้ตั้งแต่ดอกเบี้ยไลบอร์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3.5% ส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับ ให้สแตนดาร์ดฯ นับตั้งแต่ วันที่ 22 ม.ค.51 เฉลี่ยวันละ 2.5 ล้านบาท จนถึงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รวมแล้วเป็นเงิน 420 ล้านบาท แต่นับจากปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถลดวงเงิน ที่เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเสียค่าปรับได้แล้วกว่า 12 ล้านบาท และจนถึง สิ้นสุดสัญญาใน เดือน ส.ค. 53 ธนาคารจะไม่ต้องจ่ายค่าปรับอีกกว่า 2,500 ล้านบาท

หนุนคลังออกซอฟท์โลน

รายงานข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) แจ้งว่า จากกรณีสมาคมธนาคารไทยเสนอขอให้กระทรวงการคลังดำเนินการโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยถูกหรือซอฟต์โลนจำนวน 2 หมื่นล้านบาท แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ไม่สามารถดำเนินการได้อีกจากพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ โดยกระทรวงการคลังอาจพิจารณาให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นผู้ปล่อยเงินกู้แทนนั้น ธพว.พร้อมดำเนินการแต่กระทรวงการคลังต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้ ธพว.ไม่มีสภาพคล่องส่วนเกินเพียงพอจะร่วมกับแบงก์รัฐอื่นเพื่อดำเนินการ

สำหรับซอฟต์โลนขณะนี้หากจะปล่อยกู้ควรจะจำกัดเงื่อนไข ซึ่งจากปัญหาวิกฤตการเงินที่ลุกลามมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากระทบกับปัญหาเงินทุนหมุนเวียนของหลายธนาคาร ดังนั้นหากจะปล่อยกู้ก็ควรจะเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเท่านั้น ด้วยขณะนี้เอสเอ็มอีหลายแห่งได้รับผลกระทบหนักจากการส่งออกที่ชะลอตัวในหลายประเทศคู่ค้าของไทย ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่อเนื่องหรือซัพพลายเชนต้องลดยอดผลิต ปรับตัวไม่ทัน ซึ่งส่วนนี้อยากเรียกร้องให้ภาครัฐหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยออกมาพูดตัวเลขจริง ไม่อยากให้ปิดบังหรือเปิดเผยเพียงข้อมูลด้านดีเช่นที่ผ่านมา จนทำให้เอสเอ็มอีชะล่าใจหรือไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ

แนะแยกบัญชีเพื่อสังคม

อย่างไรก็ตามหากจะให้ธพว.ดำเนินการปล่อยกู้ จะขอเสนอให้แยกบัญชีการปล่อยกู้ดังกล่าวหรือบัญชีพิเศษ(พีเอสเอ)ต่างหากจากเงินกู้ทั่วไปของธนาคาร เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการตั้งสำรองของธนาคารหากภายหลังจะได้รับผลจากการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมื่อธปท.มีโครงการซอฟต์โลนก็มักจะปล่อยกู้กับธนาคารพาณิชย์มากกว่าธพว.เนื่องจากไม่เชื่อใจ ซึ่งเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการตรวจสอบเข้มงวด

ทั้งนี้จะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เอสเอ็มอีแบงก์(เอเอ็มซี)ขึ้นมา อาจเป็นบริษัทลูกหรือเกิดจากการร่วมทุนกับเอเอ็มซีเพื่อแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอี รวมถึงรองรับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ เพราะถ้าหากขายสินทรัพย์ให้เอเอ็มซีอื่นจะต้องมีการเข้ามาสำรวจสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคาร ซึ่งอาจมีปัญหาการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us