เมื่อ Carrefour SA บริษัทผู้ค้าปลีกอันดับหนึ่งของฝรั่งเศส ถูกจำกัดการเติบโตภายในประเทศ
ตามกฎหมาย เพื่อปกป้องผู้ประกอบการรายย่อย หนทางในการขยายตัวของ Carrefour
ในช่วง ที่ผ่านมา จึงอยู่ ที่การแสวงหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ ในทั่วทุกมุมของโลก
แม้ว่า ความเป็นมาของ Carrefour จะไม่ เนิ่นนานเช่นผู้ประกอบการค้าปลีกรายอื่นๆ
ในยุโรป แต่ประวัติของ Carrefour ก็เต็มไปด้วยสีสัน และเรื่องราว ที่น่าสนใจติดตาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ Carrefour อยู่ในฐานะ ที่เป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดของร้านค้าปลีก ที่เรียกว่า
ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ที่ผนวกรวมห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์ มาร์เก็ต
ที่จำหน่ายสินค้ากว้างขวางนับตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน
และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ในราคา ที่ต่ำกว่าร้านค้าทั่วไป
จุดกำเนิดของ Carrefour เริ่มขึ้นจากซูเปอร์ มาร์เก็ต ที่ Marcel Fournier
และ Louis Defforey ร่วมกันเปิดในชั้นล่างของห้างสรรพสินค้าของ Fournierในย่าน
Annecy ประเทศฝรั่งเศส ก่อน ที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตในนาม Carrefour แห่งแรกจะเกิดขึ้นในปี
1963 ณ บริเวณหัวมุมทางแยก ที่มีถนนตัดผ่านกัน 5 สาย โดยชื่อ Carrefour ในภาษาฝรั่งเศส
ก็หมายถึงทางแยก หรือ crossroads ในภาษาอังกฤษนั่นเอง
แนวความคิดว่าด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จากการโหมประโคมของสื่อสารมวลชน
พร้อมกับการเปิดสาขาใหม่ของ Carrefour ที่มีขนาดใหญ่ในเขต Sainte-Genevieve-des-Bois
นอก กรุงปารีส ในปีเดียวกัน
หลังจากเปิดดำเนินการได้ไม่นาน Carrefour ก็ขยายการลงทุนไปทั่วทุกเขตของฝรั่งเศส
และแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน พร้อมกับการเริ่มขยายธุรกิจเข้าไปในประเทศใกล้เคียง
ทั้งในเบลเยียม ในปี 1969 และสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1970 รวมถึงการรุกเข้าไปในสหราชอาณาจักร และอิตาลี
ในปี 1972 และสเปน ในปี 1973
ในช่วงกลางของทศวรรษ ที่ 1970 นี้เอง ที่ Carrefour จำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการเติบโตในต่างประเทศอย่างจริงจัง
เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งในช่วงปี
1985 Carrefour ก็มีสาขากระจายอยู่ในกว่า 10 ประเทศทั้งในยุโรป และในละติน
อเมริกา พร้อมกับการมุ่งหาตลาดใหม่ในย่านเอเชียแปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา
Carrefour พยายามขยายธุรกิจ ไฮเปอร์มาร์เก็ต สไตล์ฝรั่งเศส เข้าไปในสหรัฐอเมริกา
ด้วยการเปิดร้าน ที่มีพื้นที่กว่า 33,000 ตารางฟุตในย่านชานเมืองฟิลาเดลเฟีย
ในช่วงปลายของทศวรรษ ที่ 1980 ซึ่ง ที่นั่นกลุ่มลูกค้าชาวอเมริกันต่างตื่นตัวตื่นใจกับช่องทางเดิน ที่กว้างขวาง
ช่องการชำระเงิน ที่มีมากถึง 60 ช่อง และ ที่สำคัญพนักงาน ที่เลื่อนตัวอยู่บน
โรลเลอร์สเกต
กระนั้น ก็ดี Carrefour ไม่ประสบผลสำเร็จเท่า ที่ควรในตลาดแห่งนี้ เพราะนอกจากจะด้อยในเรื่องการประชา
สัมพันธ์แล้ว รายการสินค้า ที่มีให้เลือกก็มีอยู่อย่างจำกัด ขณะเดียวกันการแข่งขันด้านราคา
และการเรียกร้องของสหภาพแรงงานในเรื่องค่าจ้าง ผลประโยชน์ รวมถึงกฎระเบียบการทำงาน
ซึ่งหลายครั้งต้องไปสรุปในชั้นศาล ส่งผลให้ ในปี 1993 Carrefour ถอนตัวออกจากสหรัฐอเมริกาหลังจากเปิดสาขาแห่ง ที่สอง ที่นิวเจอร์ซี่ย์
ได้เพียงปีเดียว
สำหรับในย่านเอเชียแปซิฟิกนั้น Carrefour เริ่มเปิดสาขาในไต้หวันตั้งแต่ปี
1989 และในปีต่อมาได้ร่วมทุนในสัดส่วน 50-50 กับ Groupama จัดตั้งบริษัท
Carma เพื่อทำธุรกิจประกันภัย
ในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน Carrefour ได้ใช้จ่ายเงินกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
เพื่อรักษาสถานะนำ ในตลาดประเทศฝรั่งเศส ด้วยการซื้อกิจการที่กำลังล้มละลายของ
Montlaur เป็นมูลค่ากว่า 175 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 850 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับซื้อกิจการของ
Euromarche ในปี 1991 ซึ่งการซื้อกิจการเช่นนี้กลายเป็นหนทางเดียวของ Carrefour
ในการรักษาการเติบโตในฝรั่งเศสไว้ได้ โดยระหว่างปี 1991 นี้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติให้
Carrefour เปิดสาขาใหม่เพิ่มได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น
Michel Bon ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการซื้อกิจการเหล่านี้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัท
ในปี 1992 หลังจาก ที่ผลกำไรในรอบครึ่งปีตกต่ำลงกว่า 50% โดย Daniel Bernard
เข้ารับตำแหน่งแทนจนกระทั่งปัจจุบัน
ในปี 1993 Carrefour พยายามเข้าไปเคาะประตูหลังบ้านคู่แข่งขันในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง
ด้วยการร่วมทุนกับ Gigante ผู้ค้าปลีกในเม็กซิโก ดำเนินการขยายสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตในเม็กซิโก
ก่อน ที่ในปี 1998 Carrefour จะซื้อหุ้นร่วมทุนทั้งหมดจาก Gigante
การขยายตัวออกไปในต่างแดนส่งผลให้นับตั้งแต่ ปี 1995 เป็นต้นมา Carrefour
มีสาขาร้าน ไฮเปอร์มาร์เก็ต ในต่างประเทศมากกว่า ที่มีอยู่ในฝรั่งเศสเสียอีก
ยุทธศาสตร์ของ Carrefour ในขณะนั้น ให้น้ำหนักการลงทุนไว้ ที่การขยายสาขาในตลาดเอเชียแปซิฟิก
ซึ่งมี การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 1994 Carrefour รุกเข้าไปในตลาดมาเลเซีย
ก่อน ที่ในปี 1996 จะโหมลงทุนในย่านตะวันออกไกลทั้งในจีน และเกาหลีใต้
ขณะที่ในประเทศไทย Carrefour ได้เข้าร่วมทุนกับ CRC บริษัทค้าปลีกในเครือกลุ่มเซ็นทรัลจัดตั้งบริษัท
Cencar เพื่อดำเนินการร้านไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ Carrefour แต่ด้วยนโยบายขยายการลงทุนอย่างเร่งด่วนของ
Carrefour ประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย ทำให้ในที่สุด Carrefour ได้ซื้อหุ้นในส่วนของ
CRC ทั้งหมด ใน Cencar พร้อมกับขออนุมัติการลงทุนจาก BOI ด้วย
ในปี 1996 Carrefour พยายามกระชับธุรกิจในฝรั่งเศส ด้วยการซื้อหุ้น 41%
ของ GMB ซึ่งเป็นคู่แข่งขันสำคัญอีกรายในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของฝรั่งเศส
และ ขายการลงทุน 11% ในบริษัทคลังสินค้าขายปลีก Costco ในสหรัฐอเมริกา แต่ยังครองการถือหุ้น
20% ใน Costco UK
ในปีต่อมา Carrefour ได้ให้สิทธิแก่ Guyenne et Gascogne, Coop Atlantique
และ Chareton ในการใช้ชื่อ Carrefour สำหรับไฮเปอร์มาร์เก็ต 16 แห่ง ที่บริษัทเหล่านี้เป็นเจ้าของ
Carrefour รุกเข้าไปในยุโรปตะวันออกด้วยการเปิดสาขาในโปแลนด์เมื่อปี 1997
และปีถัดมาเริ่มดำเนินการในสาธารณรัฐเชค ก่อน ที่ในปี 1998 Carrefour จะสร้างประวัติศาสตร์การครอบงำกิจการด้วยการซื้อหุ้น
98% จากComptoirs Modernes บริษัทฝรั่งเศส ซึ่งเป็น ผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ต
กว่า 800 แห่ง ภายใต้ชื่อ Stoc, Comod และ Marche Plus
การซื้อ Comptoirs Modernes ทำให้ Carrefour มีเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในบราซิล,
ฝรั่งเศส, โปแลนด์, โปรตุเกส และสเปน รวมกว่า 1,000 แห่ง นอกจากนี้ Carrefour
ได้เข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า 23 แห่งในประเทศบราซิลจาก Lojas Americanas
ในปี 1998 ด้วย
ในเดือนสิงหาคม 1999 Carrefour เข้าซื้อกิจการของ Promodes ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไฮเปอร์มาร์เก็ต,
ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ และดิสเคาท์สโตร์ กว่า 6,000 แห่งของฝรั่งเศสในมูลค่ากว่า
16.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในการซื้อกิจการในครั้งนี้ Carrefour ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นจำนวน
42% ในบริษัท Cora ลง และขายกิจการร้านค้าอีก 35 แห่ง เพื่อให้การซื้อกิจการจาก
Promodes ได้รับการอนุมัติตามกฎหมาย
การเข้าซื้อกิจการ Promodes นอกจากจะทำให้ Carrefour เป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ที่มีอิทธิพลสูงสุดในตลาดยุโรปตอนใต้
และเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ Carrefour ในละตินอเมริกาแล้ว ยังส่งผลให้
Carrefour มีเครือข่ายร้านค้าปลีกรวมกว่า 9,000 แห่งกระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก
และก้าวขึ้นเป็นบริษัทผู้ค้าปลีกอันดับสองของโลกรองจาก Wal-Mart ด้วย
ท่ามกลางความตื่นตัวจากกระแสอินเทอร์เน็ต ฟีเวอร์ Carrefour ได้ร่วมกับ
Sears ผู้ค้าปลีกรายใหญ่อีกรายหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และ Oracle ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ออก
Global NetXchange ซึ่งเป็นโปรแกรมแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าบนอินเทอร์เน็ต
เมื่อต้นปี 2000
ขณะเดียวกัน Carrefour ได้ปรับโครงสร้างทางการเงิน และลดสัดส่วนของหนี้
ด้วยการขายศูนย์การค้ากว่า 150 แห่งให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือของ
BNP Paribas ในราคารวมกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
แต่ในเดือนเดียวกันนั้น เอง Carrefour ก็ตกลง ที่จะซื้อกิจการค้าปลีกกว่า
500 แห่งในเบลเยียมจากบริษัทโฮลดิ้ง GIB ในราคากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้ว่า Carrefour จะมีจุดเริ่มต้นทางธุรกิจจาก Hypermarket แต่กิจการของ
Carrefour ในปัจจุบันก็ครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่ศูนย์ยานยนต์ และธุรกิจประกันภัยในฝรั่งเศส
ไปจนถึงคลังสินค้าในอังกฤษ (Costco) รวมถึงธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง PETsMART
ในสหรัฐอเมริกา
หากปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา กำลังบ่งบอกหนทางสู่ความยิ่งใหญ่ของ
Carrefour ในปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจนับจากนี้จึงอยู่ ที่ว่า เมื่อถึง crossroad
ข้างหน้า Carrefour จะเลือกดำเนินไปบนเส้นทางแยกสายใด