Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
มงคล กาญจนพาสน์             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
เมืองทองธานี
บางกอกแลนด์, บมจ.
คีรี กาญจนพาสน์
อนันต์ กาญจนพาสน์
มงคล กาญจนพาสน์




ตลอด 20 ปีของนิตยสารผู้จัดการ ได้บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลอย่าง "อึ้ง จือ เม้ง" หรือ "มงคล กาญจนพาสน์" และลูกๆ ไว้ ตลอดในแต่ละความเคลื่อนไหวที่สำคัญของเขา นับจากครั้งแรกในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2, 9 และ ฉบับที่ 21 เดือนพฤษภาคม 2528 ในเรื่องปก "ศึกชิงสำนักน่ำไฮ้" ซึ่งเสนอเรื่องราวความขัดแย้งในธนาคารนครหลวงไทยในยุคของการเข้าไปบริหารงานของกลุ่มมหาดำรงค์กุลกับบุญชู โรจนเสถียร ซึ่งสามารถหาอ่านรายละเอียดในพ็อกเก็ตบุ๊คโครงการ Manager Classic เรื่อง "Big Story" ได้

หากย้อนอดีตไปเมื่อครั้งปลายปี 2525 มงคล กาญจนพาสน์ ขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทยให้กับกลุ่มมหาดำรงค์กุล นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเก่าได้เขียนถึงที่มาที่ไปไว้ว่า

ปลายปี 2525 เป็นปีที่วงจรธุรกิจการค้าเริ่มจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ฮ่องกงในภาวการณ์ปี 2525 คือ ยุคพิฆาต มังกรอย่างแท้จริง แคร์เรียนของ จอร์จ ตัน เริ่มซวนเซ ในปี 2525 หลังจากที่ได้แหกตาชาวบ้านและชาวธนาคารทั้งหัวดำและตาขาวมานมนานแล้ว และก็ที่ฮ่องกงนั้นเองแหละ คนที่ชื่อ "อึ้ง จือ เม้ง" กำลังรู้สึกอึดอัดกับภาวการณ์ที่รัดตัวเอามากๆ ในดินแดนเก้ามังกรที่เคยทำประโยชน์ให้กับเขาได้ดี

อึ้ง จือ เม้ง ก็คือประเภทเสื่อผืนหมอนใบที่มาเมืองไทย แล้วค้าขายเป็นเอเย่นต์นาฬิกาญี่ปุ่นจนรวย และเมื่อรวยขึ้นมา เขาก็ขยายฐานเข้าไปลงทุนในฮ่องกงอย่างหนัก

โรงงานผลิตอุปกรณ์นาฬิกาขื่อ "สเตลักซ์" ซึ่งเป็นอาคารสูงเด่นสง่า ที่มองเห็นได้ทันทีเมื่อเครื่องบินร่อนลงสนามบินไคตั้ก (บริษัทสเตลักซ์จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงในปี 2514 มีบริษัทในเครือ 40 แห่ง)

นอกจากนั้นแล้ว อึ้ง จือ เม้ง ยังทำธุรกิจด้านการพัฒนาที่ดินทั้งฮ่องกงและเมืองไทย ในฮ่องกง เขาใช้ชื่อ "ไหมฮอน" (วาชังกรุ๊ปซึ่งมีบริษัทในเครือราว 15 บริษัท) ในการซื้อขายที่ดินและปลูกแฟลตขาย ส่วนในเมืองไทยคือ บริษัท บางกอกแลนด์ (ซึ่งตั้งใน ปี 2516 ถือเป็นกลุ่มแรกที่นำกลยุทธ์ของฮ่องกงมาบุกเบิกพัฒนาธุรกิจนี้ในไทย หลังจากเคยร่วมหุ้นกับชวน รัตนรักษ์ ตั้งบริษัทสยามประชาคารในปี 2512 เพื่อจะทำหมู่บ้าน จัดสรรแห่งแรก "หมู่บ้านเสนานิเวศน์" แต่มีอันต้องแยกกันเดิน)

อึ้ง จือ เม้ง มีวิธีการทำธุรกิจที่ไม่ได้แตกต่างไปกว่าคนจีนที่มีเสื่อผืนหมอนใบเท่าใดนัก นั่นคือ การเข้าไปเกาะผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งแน่นอนที่สุด ขณะนั้นคือ "ถนอมและประภาส"

...แต่แล้วธุรกิจของมงคลในเมืองไทย หลัง 14 ตุลาคม 2516 คงเหลือเพียงการเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารนครหลวงไทย, การจัดสรรที่ดินที่อยู่อาศัยของบางกอกแลนด์ในโครงการเมืองทองนิเวศน์ และเมโทรดีพาร์ท เม้นท์สโตร์ที่เมื่อปี 2527 เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารนครหลวงไทยไป 118 ล้านบาท

...ปี 2521 เป็นปีแรกของต้นทศวรรษ ที่วงจรเศรษฐกิจเริ่มแปรปรวนผันผวนอย่างอุบาทว์ ดอกเบี้ยเคยอยู่เลขสิบต้นๆ เริ่มกระโดดขึ้นมาจนเป็นยี่สิบต้นๆ ...อัตราดอกเบี้ยบ้าเลือด นอกจากจะกระทบกระเทือนอาณาจักรของเขาในฮ่องกงแล้ว กิจการทั้งหลายแหล่ในเมืองไทยก็โดนไปด้วยไม่มีข้อยกเว้น

จนกระทั่งปลายปี 2532 ความเฟื่องฟูของธุรกิจเรียลเอสเตทในไทย ได้ดึงดูดให้ตระกูลกาญจนพาสน์กลับมาอย่าง ยักษ์ใหญ่ในโครงการ "เมืองทองธานี" บนพื้นที่กว่า 2 พันไร่ริมถนนแจ้งวัฒนะ โดยมีอนันต์ กาญจนพาสน์ ลูกชายคนโตเป็นเจ้าของโครงการ ขณะที่ "ธนาซิตี้" มี คีรี กาญจนพาสน์ ลูกชายอีกคนบริหารในนามบริษัทธนายง ที่พัฒนาที่ดินกว่า 1,500 ไร่ริมถนนบางนา-ตราด กม.14 และบริหารโครงการรถไฟฟ้า BTS ที่ยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้วิกฤติเศรษฐกิจไทย ปี 2540 จะตรงกับเหตุการณ์อังกฤษคืน เกาะฮ่องกง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจของตระกูลกาญจนพาสน์อย่างหนัก แต่วันนี้ มงคล กาญจนพาสน์ มังกรโพ้นทะเลคนนี้ได้ นอนตายตาหลับไปแล้วด้วยโรคชรา ปล่อยให้ภารกิจในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของตระกูลเป็นเรื่องของลูกๆ หลานๆ ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us