Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
เยเมน : ประเทศที่ต้องคำสาป             
โดย ธานี ลิ้ม
 





ประเทศในตะวันออกกลางซึ่งติดกับแอฟริกาและถือว่ามีจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าดีที่สุดประเทศหนึ่ง

นั่นคือประเทศเยเมน (Yemen) แต่ทว่าเยเมนกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่หลายคน คิดเท่าใดนัก

ว่ากันว่าเยเมนเป็นประเทศต้องคำสาป ด้วยความที่อยู่ระหว่างชาติเข้มแข็ง อย่างซาอุดีอาระเบียและโอมานของฝั่งตะวันออกกลางกับประเทศอีริเทรีย (Eritrea) และเอธิโอเปีย ตั้งอยู่อีกฟากทะเลของแอฟริกา ซึ่งสองประเทศหลังซึ่งถือว่าเป็นชาติด้อยพัฒนา

แต่เยเมนกลับถูกอารยธรรมจากแอฟริกาครอบงำมากกว่าที่จะได้รับจากซาอุฯ ดินแดนอันศิวิไลซ์แห่งตะวันออกกลาง ทำให้ล้าหลังกว่าชาติอาหรับแม้จะมีบ่อน้ำมันก็ตาม

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ชาติอาหรับด้วยกันเองก็มิใช่ว่าจะช่วยกันฉุดดึงให้ชาติที่ด้อยกว่าโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ทว่ายังต้องการชิงดีชิงเด่นกันอยู่ เหมือนการบุกยึดคูเวตของอิรักหรือกรณีฉนวนการ์ซ่า เขตเวสต์แบงก์

เยเมนซึ่งอยู่ติดกับซาอุดีอาระเบียแต่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านกลับไม่ใช่เพื่อนบ้านธรรมดา กลายสถานะเป็น "ลูกหนี้" เพื่อนบ้าน จนต้องเฉือนพื้นที่ชายแดนส่วนหนึ่งไปให้ซาอุฯ เพื่อชำระหนี้สินที่กู้ยืมมา ทำเอาชาวเยเมนเจ็บปวดไม่น้อย

เมืองหลวงของเยเมนคือ เมืองซาน่า (Sanaa) ซึ่งหลายคนไม่คุ้นชื่อเท่าใดนัก เพราะซาน่าแม้จะเป็นเมืองหลวงแต่ยังล้าหลังพอสมควร อาจเป็นเพราะทำเลที่ตั้ง อยู่บนเนินเขาอันสลับซับซ้อน ทำให้สภาพบ้านเมืองยังไม่ได้รับการพัฒนา หากเทียบ ความรุ่งเรืองกับกรุงเทพฯ ก็น่าจะห่างกันประมาณ 10-15 ปีทีเดียว บรรยากาศในซาน่ามองผิวเผินคล้ายๆ กับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพียงแต่มีภาษาอารบิกเต็มไปหมดเท่านั้น

ไม่มีตึกสูงระฟ้า มีแต่ตึกแถวเก่าๆยาวเหยียด ยวดยานที่วิ่งดูเก่าโบราณๆ ใช้งานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ปี ยกเว้นรถยนต์ของทางราชการซึ่งจะเป็นรุ่นใหม่ ยี่ห้อดังทั้งสิ้น สภาพเมืองซาน่าจะเห็นคนเยเมนมีความขยันขันแข็ง ชอบทำการค้าขาย จะเห็นได้จากตึกแถวสองชั้นเก่าๆ สองฟากถนน จะเปิดเป็นร้านโชวห่วย ขายจิปาถะ กลางถนนก็มีคนเร่ขายของเหมือนขายพวงมาลัย ดอกมะลิตามสี่แยกบ้านเรา แต่ที่นี่ขายน้ำบรรจุขวด เพราะขาดแคลนน้ำเอามากๆ

ถนนหนทางยังถือว่าล้าหลัง แม้เขตเมืองหลวงซาน่าบางช่วงบางตอนยังเป็นหลุมบ่อ ลูกรัง

แต่ในทางตรงข้ามบางคนกลับมองว่าเป็นประเทศที่ยังบริสุทธิ์ ยังไม่มีความศิวิไลซ์มาเยือน

ชาวเยเมนแต่งกายใช้ผ้าสีขาวผืนใหญ่พันเป็นกางเกง มีผ้าลายสีแดงโพกศีรษะ ที่สำคัญมีเข็มขัดเส้นใหญ่คาดเอวพร้อมด้วยมีดสั้นโค้ง

แม้แต่ช่วงที่นักธุรกิจชาวเยเมน พบปะเจรจากับคณะของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ และผู้แทนการค้าจากไทย ก็ล้วนแต่พกมีดลวดลายต่างๆ สวยงามกันทั้งสิ้น

จากการสอบถามพบว่า มีดที่พกนั้นหลายคนไม่ได้พกมีดจริงๆ เป็นเพียงด้ามมีดเท่านั้น แต่บางคนก็เป็นมีดจริงๆซึ่งถือเป็นขนบประเพณีปฏิบัติ

เยเมนเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ ขนาดพอๆ กับประเทศอิรักแต่เล็กกว่าซาอุฯ 3 เท่าตัว มีขนาด 527,970 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 19 ล้านคน ทำให้มีความหนาแน่นของประชากร 28 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทอดยาว ติดทะเลอาระเบียน ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาและเนินเขาเสียส่วนใหญ่ ไร้ต้นไม้ ใช้สกุลเงินริยาล (Yemeni Riyal) 1 เหรียญ สหรัฐ ก็ประมาณ 167 ริยาล มีเงินเฟ้อระดับ 5% ประชากรมีรายได้ต่อหัว 350 เหรียญสหรัฐ หรือ 10,500 บาท

ในปี 2533 เยเมนเหนือได้รวมกับเยเมนใต้ แต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมือง เพราะเยเมนไปเข้าข้างอิรักในสงคราม อ่าวเปอร์เซีย แต่พออิรักพ่ายแพ้สงคราม ทำให้เยเมนถูกกลุ่มชาติอาหรับบอยคอต คนงานชาวเยเมนกว่า 1 ล้านคนถูกส่งกลับจากซาอุฯ และถูกตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากชาติอาหรับ กระทั่งปี 2540 เยเมนทำการเลือกตั้งใหม่และปฏิรูปเศรษฐกิจ จึงได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติจำนวน 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปด้านธุรกิจการค้า

เมืองท่าของเยเมนที่ขึ้นชื่อคือเอเดน (Aden) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญของ ประเทศ อยู่ติดชายฝั่งทะเล คืออ่าวเอเดน เป็นประตูการค้าสู่ยุโรป แอฟริกา และแถบมหาสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลของเยเมนเต็มไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำทุกชนิด ทำให้ ไทยต้องนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากเยเมนจำนวนมาก มิใช่การซื้อขายโดยตรง แต่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

การค้าระหว่างประเทศของเยเมนตกอยู่ในมือนักธุรกิจชาวจีน ที่เข้าไปลงทุน ก่อนหน้า สัมปทานสัตว์น้ำส่วนใหญ่จึงมีจีนเป็นเจ้าของ มีคนจีนในเยเมนประมาณ 15,000 คน และปัจจุบันก็เข้าไปตั้ง China Construction Company เพื่อรับงานก่อสร้างจากรัฐบาลเยเมน

ปัจจุบันเยเมนกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงทำการส่งเสริมการค้าทุกรูปแบบ ออกกฎหมายคุ้มครอง นักลงทุนและให้ Workpermit แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของโรงงานที่เข้ามาซื้อเพื่อลงทุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยจัดตั้งหน่วยงาน GIA-Government Invesment Agency

แต่อุปสรรคการลงทุนในเยเมนก็คือ ระบบสาธารณูปโภค เพราะปัจจุบันมีไฟฟ้า ใช้เพียง 30% ของความต้องการ น้ำก็ยังขาดแคลน หากคิดจะลงทุนก็ควรมองงานด้านสาธารณูปโภคน่าจะดีที่สุด ซึ่งรัฐบาลเยเมนมีงบประมาณเกินดุล จึงเตรียมที่จะลงทุนกิจการสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น

ความต้องการของเยเมนอีกประการ ก็คือเรื่องสาธารณสุข ซึ่งนพ.สุรพงษ์ อำพันวงศ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ที่ร่วมคณะไปด้วยบอกว่า นักธุรกิจเยเมนหลายราย ต้องการให้ไทยไปก่อตั้งโรงพยาบาล ไม่ว่าจะร่วมทุนหรือลงทุนเองทั้งหมด เนื่องจากเยเมนขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ แต่หมอสุรพงษ์ยังสงสัยว่า กำลังซื้อของเยเมนเป็นอย่างไร? เกรงว่าจะมีเพียงกลุ่มคนจำนวนไม่มาก แต่ที่ทำได้ขณะนี้คือ ร่วมมือให้การฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่เยเมน

นักธุรกิจไทยหลายคนเห็นว่าเยเมน น่าจะเป็น "สปริงบอร์ดการค้า" ไปยังกลุ่ม ยุโรป เพราะเคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมาก่อน รวมทั้งการที่เยเมนได้ทำการตกลง ร่วมกับ European Union เพื่อประโยชน์ทางการค้าร่วมกัน

มองในแง่การค้าระหว่างไทยกับเยเมน ปี 2545 ปรากฏว่าไทยขาดดุล การค้าเยเมน 565.39 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 23,750 ล้านบาท เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันจากเยเมนจำนวนถึง 636 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่เยเมนนำเข้าสินค้า จากไทยเพียง 58.08 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2,440 ล้านบาท สินค้าที่นำเข้าจากไทยคือ ข้าว น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็กกล้า อาหารทะเลกระป๋อง ส่วนสินค้าออกของเยเมนนอกจากน้ำมันที่ผลิตได้แสนบาร์เรลต่อวัน และที่ขึ้นชื่ออีกอย่างก็คือ กาแฟมอคค่า

เยเมนวันนี้จะต้องใช้ความพยายาม อย่างสูงในการพัฒนาประเทศเพื่อให้หลุดพ้นจาก "คำสาป" คาดว่าคงใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปีทีเดียว...!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us