Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
Final Accounting             
 





การล้มครืนของจรรยาบรรณและ Arthur Andersen

ชื่อของ Arthur Andersen กลายเป็นสิ่งที่มีความหมายเดียวกับการทำลายเอกสาร การตกแต่งบัญชี และการฉ้อฉลของบริษัทไปเสียแล้วอย่างน่าเสียดาย หลังจากบริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่รายนี้ต้องล่มสลายลงเพราะการขาดความรับผิดชอบของบริษัทเอง หาใช่เพราะคนอื่นไม่ นี่คือข้อสรุปของ Barbara Ley Toffler อดีตหุ้นส่วนคนหนึ่งของ Arthur Andersen ผู้รับผิดชอบงานให้บริการที่ปรึกษาด้านความรับผิดชอบและจริยธรรมธุรกิจซึ่งเป็นบริการหนึ่งของ Arthur Andersen

Toffler ชี้ว่า การล่มสลายของ Arthur Andersen คือการฆ่าตัวตายเอง หาใช่เป็นเพราะล่มสลายตาม Enron ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทไม่ Enron เป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายเท่านั้นของบริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่แห่งนี้ ที่มุ่งหวังแต่จะกอบโกยรายได้จากค่าธรรมเนียมให้มากๆ และแสวงหาอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยลืมเลือนเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท นั่นคือการปกป้องนักลงทุน

Arthur Andersen ก่อตั้งโดย Arthur Andersen ในปี 1913 ที่ชิคาโก ผู้ก่อตั้งคือ Andersen เป็นคนอเมริกันรุ่นแรกของประเทศ และเป็นนักบัญชีหนุ่มวัย 28 ผู้ภาคภูมิใจในจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ในฐานะนักบัญชีของตนยิ่งนัก Arthur Andersen เมื่อแรกก่อตั้งเป็นสถานที่ซึ่งการยืนหยัดในสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้องเป็นคุณความดีอันมีค่า และเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในการทำสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าทำสิ่งที่ง่าย Toffler และ Leonard Spacek ผู้สืบทอดของเขา ต่างยืนอยู่ข้างนักลงทุนเสมอ หวงแหนชื่อเสียงอันดีงามยิ่งชีวิต และกล้าคัดค้านการทำผิดมาตรฐานบัญชีและนโยบายที่ผิดพลาดทุกรูปแบบ

ยุครุ่งเรือง

หลังจาก Andersen เสียชีวิตในปี 1947 บริษัทยังคงเจริญรุ่งเรืองถึงขนาดกลายเป็นบริษัทบัญชีที่ได้รับการยกย่องนับถือสูงสุดในโลก รายได้กระโดดขึ้น 3 เท่าในช่วงปี 1947-1956 เป็น 18 ล้านดอลลาร์ ในปี 1963 รายได้พุ่งขึ้นเป็น 51 ล้านดอลลาร์จากสำนักงาน 55 แห่งใน 27 ประเทศ ในเวลานั้น Arthur Andersen ยังคงยึดมั่นในการปฏิเสธลูกค้ารายใหญ่ทว่าการทำบัญชีมีปัญหา รายได้จากทั่วโลกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับ 2.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 1988 แต่ในเดือนสิงหาคม 2002 Arthur Andersen ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม เนื่องมาจากกรณีการล่มสลายของ Enron และไม่อาจรับงานสอบบัญชีลูกค้าได้อีกต่อไป

Toffler ชี้ว่า วัฒนธรรม "Androids" ของ Arthur Andersen คือตัวการที่นำไปสู่ความหายนะของบริษัท Androids หมายถึงพนักงานใหม่ของ Andersen ที่ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาของบริษัทอันเข้มงวดกวดขัน เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดลงไปในตัวพนักงานใหม่ทุกคนก่อนเริ่มทำงาน กฎเกณฑ์อันเคร่งครัดนี้จุกจิกไปถึงแม้กระทั่งวิธีการถือออร์เดิร์ฟที่ถูกต้องในงานเลี้ยงค็อกเทลด้วย วัฒนธรรมที่ควบคุมพนักงานไปทุกฝีก้าวเช่นนี้ ย่อมนำความหายนะมาสู่บริษัทเมื่อเกมธุรกิจเปลี่ยนทิศ และผู้นำเปลี่ยนทางในการทำธุรกิจ

Toffler ซึ่งเข้าร่วมกับ Andersen ในปี 1995 ต้องใช้เวลาถึง 4 ปีในการปรับตัวเข้ากับระบบการทำงาน จรรยาบรรณ และสภาพแวดล้อมภายในบริษัท ที่ล้วนอยู่ในสภาพยุ่งเหยิงสับสน สิ่งที่เธอเห็นคือบริษัทที่กำลังหลงทาง และมุ่งแต่จะหาเงินให้ได้มากๆ เป็นสรณะ เธอยังพบว่า การดำเนินธุรกิจอย่างแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ และการยอมรับการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพียงเพราะว่า "ที่นี่เราทำกันแบบนี้มานานแล้ว" นั้นคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ผู้ชายผิวขาวเป็นใหญ่ โดยไม่มีชนส่วนน้อย ผู้หญิงหรือผู้ที่มิได้เป็นชาวอเมริกันเข้าร่วมอยู่ในฝ่ายบริหารระดับสูงสุดของบริษัทเลยแม้แต่คนเดียว

ความไม่ชอบมาพากลของ Enron

Toffler เล่าอย่างละเอียดถึงพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลของ Enron และการที่ Andersen ยังคงยอมรับ Enron เป็นลูกค้าต่อไปแม้จะมีพฤติกรรมการจัดทำงบการเงินที่น่าสงสัย ด้วยความละโมบในค่าธรรมเนียมก้อนโตจำนวนหลายล้านดอลลาร์ Andersen จึงยังคงรับรองงบการเงินของ Enron ต่อไป และสั่งย้ายทุกคนที่ไม่ยอมรับรองบัญชีของ Enron ออกไปไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับบัญชีของ Enron อีกต่อไป Toffler ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับการล้มละลายของ Enron และ WorldCom's (บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อื้อฉาวอีกรายที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Andersen) และการทำลายเอกสาร อันนับเป็นการเล่าจากปากของคนวงในอย่างเธอ มิหนำซ้ำยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจรรยาบรรณการบริหาร ผู้เห็นการล่มสลายของ Andersen กับตา

สิ่งหนึ่งที่ Toffler เห็นว่าเป็นปัญหาคือ แม้ใครคนใดคนหนึ่งในองค์กรจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กร แต่ก็ลำบากที่จะพูดเพราะไม่มีอำนาจอยู่ในมือ เธอจึงเห็นว่า ควรถือเป็นหน้าที่ของผู้นำและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีอำนาจที่จะบันดาลความเปลี่ยนแปลง จะต้องคอยเฝ้าสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กร และต้องลงมือแก้ไขอย่างทันท่วงทีก่อนที่ปัญหานั้นจะกัดกร่อนทำลายองค์กรไปในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us