|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กนง.ชุดใหม่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.75% รับมือสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอ ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย หากความเสี่ยงเงินเฟ้อและอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ชี้หากรัฐบาลไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 94% ตามเป้าที่ตั้งไว้ อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค หวั่นการส่งออกมีโอกาสหดตัวตามเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตา 6 มาตรการ 6 เดือน ที่จะหมดอายุในเดือน ก.พ.ปีหน้าจส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดใหม่ ซึ่งเป็นการหารือนัดแรกในการประเมินภาวะเศรษฐกิจและการเงินของไทย มมีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตระยะ 1 วัน(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ไว้ที่ระดับ 3.75%ต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งปัจจัยการเมืองในประเทศ ขณะที่ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกอาจมีความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
“การคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มองว่าขณะนี้ความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวเริ่มลดลงแล้ว จึงมองว่าควรมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงได้ แต่หากในอนาคตมีความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นก็อาจใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายหรือคงที่ได้"
อย่างไรก็ตาม ต้องประเมินสถานการณ์ในการประชุมในช่วงนั้นๆ ประกอบด้วย โดยปัจจัยในประเทศจะพิจารณาทั้งการบริโภค การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งภาครัฐเป็นส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ขณะที่ปัจจัยภายนอกยอมรับว่าเริ่มส่งผลปัญหาเศรษฐกิจบ้างแล้ว ไม่ใช่แค่ด้านการเงินอย่างเดียว จึงต้องดูว่าจะกระทบภาคส่งออกและนำเข้าด้วยหรือไม่ รวมทั้งหาก 6 มาตรการภาครัฐหมดอายุลงในเดือน ก.พ.ปี 52 จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคตอย่างไร
โดยในปัจจุบัน แม้รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้สูงและอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงบ้างจากราคาน้ำมันลดลง ซึ่งจะช่วยให้อำนาจซื้อของประชาชนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่ทั้งการส่งผ่านต้นทุนและการทยอยปรับราคาสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการดูแลของทางการ รวมทั้งการประเมินรายได้ภาคเกษตรในอนาคตลดลงเหลือ 19.7% จากครั้งก่อนที่คาดไว้ 24% ส่วนในปีหน้าลดลงเหลือ 8.6% จากครั้งก่อนประเมินไว้ 9.7%
ทั้งนี้ แม้ราคาน้ำมันในปัจจุบันจะเริ่มลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ทำให้ราคาปรับไม่สูงนัก ทำให้ในที่ประชุม กนง.ในครั้งนี้ได้มีการประเมินราคาน้ำมันใหม่ โดยในปีนี้คาดว่าเหลือ 104 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิม 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล และในปีหน้าเหลือ 95 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิมที่ประเมินไว้ 135 เหรียญต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามความผันผวนของน้ำมันยังเป็นความเสี่ยงอยู่ ประกอบกับจากการติดตามสถานการณ์คาดว่าในช่วงปลายปีนี้แรงกดดันด้านราคายังมีความเสี่ยงอยู่ จึงต้องดูต่อไป
นางดวงมณีกล่าวว่า แม้ในอนาคตภาครัฐไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ 94% สำหรับงบประมาณปี 52 และหากเกิดเหตุการณ์ยุบสภาก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะขณะนี้ก็ยังมีผู้บริหารประเทศอยู่ งบประมาณก็มีการอนุมัติแล้ว รวมทั้งโครงการต่างๆ ของภาครัฐก็ยังมีอยู่ แต่ความเสี่ยงที่รัฐบาลไม่ได้ตามเป้าหมายตั้งไว้ก็มี เพราะการกระตุ้นอาจมีน้อยลง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในแง่ของจิตวิทยาบ้าง
“ความไม่แน่นอนการเมืองจะมีผลต่อความเชื่อมั่นทั้งคนไทยและนักลงทุนต่างชาติและภาคการท่องเที่ยวของไทยบ้าง แต่ปัญหาด้านการเมืองไม่ใช่ปัจจัยเดียวต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ และหากต่อไปปัญหานี้ยังยืดเยื้อก็อาจจะเกิดความเสี่ยงต่อการเติบโตเศรษฐกิจได้บ้าง”
ส่วนภาคส่งออกในระยะต่อไปอาจหดตัวบ้าง ซึ่งสอดคล้องกับภาคต่างประเทศที่มีปัญหา ซึ่งไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐเท่านั้น แต่เริ่มลามไปยังยุโรป ญี่ปุ่นและประเทศในแถบเอเชียด้วย ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งหากกระทบความสามารถในการส่งออกก็อาจมีผลให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในอนาคตลดลงได้ แต่ในตอนนี้ประเทศแถบภูมิภาคเอเชียยังเป็นแหล่งตลาดที่ดีได้ แม้การส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐจะชะลอบ้าง
"ปัญหาวิกฤตการเงินสหรัฐ ที่ผ่านมาในหลายประเทศมีการใช้ทั้งนโยบายการคลัง การเงิน และมาตรการกระตุ้นต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจโลกไม่ชะลอตัวมากนัก ซึ่งถ้าชะลอตัวจะส่งผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบกับไทยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ธปท.จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยืนยันว่าสภาพคล่องทางการเงินยังมีอยู่และเหมาะสมกับระบบการเงินไทยในปัจจุบัน" นางดวงมณีกล่าว
|
|
 |
|
|