|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังโชว์ผลงานจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 51 ทั้งสิ้น 1.54 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 5.2 หมื่นล้านและสูงกว่าปีที่แล้ว กว่า 1 แสนล้านบาท ยอมรับ 6 มาตรการ 6 เดือนกระทบผลการจัดเก็บรายได้จากภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคลและภาษีน้ำมัน
นายสมชัย สัจจพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.26 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3.1 หมื่นล้านบาท หรือ 33.7% สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมรอบครึ่งปีบัญชี 2551 ที่เหลื่อมมาจากเดือนสิงหาคม 2551 ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในเดือนนี้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.35 หมื่นล้านบาทและ 5.9 พันล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้ายังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีน้ำมันต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน
ตลอดทั้งปีงบประมาณรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.54 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5.22 หมื่นล้านบาท หรือ 3.5% และสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วจำนวน 1.02 แสนล้านบาท หรือ 7.1% และหากปีงบประมาณที่แล้วไม่รวมรายได้พิเศษจำนวน 4.8 หมื่นล้านบาท จากการยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน 3.6 หมื่นล้านบาท และส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร 1.1 หมื่นล้านบาท จะสูงกว่าปีที่แล้ว 10.9% ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการดังกล่าวเป็นผลจากการเก็บภาษีของกรมสรรพากรและกรมศุลกากร ตลอดจนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้ 1.กรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 1.27 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6.72 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 5.6% โดยภาษีจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติ บุคคลสูงกว่าประมาณการ 6.27 หมื่นล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม สูงกว่าประมาณการ 2.24 หมื่นล้านบาท และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตามภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตามมติคณะรัฐมนตรี 4 มีนาคม 2551
2.กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้รวม 2.78 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.44 หมื่นล้านบาท หรือ 5.0% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1.22 หมื่นล้านบาท ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3.5 พันล้านบาท และภาษีเบียร์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1.8 พันล้านบาท
ส่วนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ถึงแม้ว่าในปีนี้รัฐบาลจะปรับอัตราภาษีรถยนต์นั่งทุกประเภทที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E 20) ลดลง 5% และทำให้ภาษีสรรพสามิตรถยนต์หายไปส่วนหนึ่ง แต่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์โดยรวมยังสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 1.4% และสูงกว่าปีที่แล้ว 3.5%
3. กรมศุลกากรจัดเก็บได้รวม 9.9 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 13.4% เป็นผลจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องมาจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าในอัตราที่สูงถึง 30.0% ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐและ 20.8% ในรูปเงินบาท
4.รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 1 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2.7 พันล้านบาท หรือ 2.8% เนื่องจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)PTT ได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนด 8.8 พันล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงสุด ได้แก่ บมจ ปตท. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
สำหรับหน่วยงานอื่นนำส่งรายได้ 8.42 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการ แต่ต่ำกว่าปีที่แล้ว 3.63 หมื่นล้านบาท หรือ 30.2% เนื่องจากปีที่แล้วได้รับรายได้พิเศษ 4.8 หมื่นล้านบาท ส่วนกรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 1.33 พันล้านบาท เนื่องจากได้รับรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของค่าเช่าท่อก๊าซและที่ดินจากบริษัท ปตท.
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 6.64 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1.4 พันล้านบาท หรือ 2.2% และสูงกว่าปีที่แล้ว 8.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้สูงกว่าประมาณการและสูงกว่าปีที่แล้ว
|
|
|
|
|