E.Q. เป็นคำ ที่ย่อมาจาก Emotional Quotient เป็นคำ ที่เข้ามาในเมือง ไทย เมื่อประมาณ
3-4 ปีก่อน ยังไม่เป็นที่ฮือฮามากนัก เป็นแนวคิด ที่รู้จักในวงไม่กว้างขวางนัก
เพิ่งจะมาฮือฮา และพูดถึงกันมากเมื่อประมาณ 1-2 ปีนี้เอง ถ้าคุณผู้อ่านจะถามว่า
คำคำนี้โด่งดังขนาดไหน ก็เอาเป็นว่า บรรดาบุคคล ที่หากินกับการฝึกอบรมตามบริษัทเปลี่ยนมาพูดถึง
อีคิว และใช้แบบทดสอบในการประเมินอีคิวของผู้เข้าร่วมอบรมนักวิชาการตามสถาบัน
ใหญ่ๆ ขอทุนหน่วยงานรัฐบาล เพื่อทำวิจัย และพัฒนาแบบทดสอบอีคิว หน่วยงานสุขภาพจิตของรัฐจัดรายการทีวีพูดถึงการเลี้ยงดูเด็กให้มีอีคิวสูงๆ
รวมถึง บรรดาจิตแพทย์เด็กทั้งหลายต่างหันมาพูดปัญหาเรื่องของอีคิวกันมากขึ้น
คำคำนี้เริ่มมาจากการที่นาย Daniel Goleman นักจิตวิทยา ที่ Harvard ได้เสนอแนวคิดของเขาในหนังสือ
Emotional Intelligence ว่าแทน ที่เราจะประเมินคน หรือให้ความสำคัญกับสติปัญญาของคน
เช่น การเน้น ที่ความเก่งในเชิงของสติปัญญา ในเรื่องของการเรียน หรือ ที่วัดออกมาโดยใช้แบบวัด
ไอคิว (I.Q. : Intelligence Quotient) เราน่าจะประเมินหรือให้ความสำคัญกับคนในแง่ของความสามารถในการเข้าได้
หรือการอยู่ร่วมกับ คนอื่นโดยไม่เกิดปัญหา ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้หากบุคคลนั้น
มีความฉลาด หรือ ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ของตนให้แสดงออกมาอย่างเหมาะสม
หรือไม่แสดงในสถานการณ์ ที่ไม่ควร และหากสถานการณ์ ที่ควรแสดงอารมณ์ หรือความต้องการของตน
บุคคลนั้น ก็ควรจะแสดงออกมาได้พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
ความสามารถในการบริหารอารมณ์นั้น Goleman เรียกว่าเป็น อีคิว คนไหน ที่จัดการ
และควบคุมอารมณ์ของตนได้ดี นาย Goleman ก็บอกว่า มีอีคิวสูง คนไหนทำไม่ได้
อารมณ์เสีย หลุดบ่อยเขาก็ถือว่าอีคิวต่ำ
แต่เดิม Goleman ใช้คำนี้ (E.Q. : Emotional Quotient) เพื่อเป็นการล้อกับคำว่าไอคิว
(I.Q.:Intelligence quotient) แต่ต่อมาแกก็ถูกแย้งว่า คำ ที่แกใช้นั้น มี
ที่มา และ ที่ไปคนละอย่างกับไอคิว ในขณะที่ไอคิววัดออกมาเป็นตัวเลขโดยการใช้สัดส่วนของความสามารถทางสติปัญญาของคนคนนั้
น กับ ค่าเฉลี่ยของเชาวน์ปัญญาของประชากรทั่วไปในวัยเดียวกัน พูดง่ายๆ คือ
ตัวเลข ที่ได้มีการวัดอิงกับมาตรฐานของคนส่วนใหญ่
แต่อีคิวของ Goleman เป็นการใช้แนวคิดเป็นตัววัด โดย Goleman ตั้งโจทย์
และคิดเฉลยด้วยตัวเอง โดยคำตอบของ Goleman นั้น เขาถือเอาว่า คนที่มีอีคิวที่ดีจะต้องให้คำตอบแบบ
ที่เขาวางไว้ นั่นคือ ไม่มีมาตรฐาน ที่อิงกับประชากรกลุ่มใหญ่ แต่ใช้มาตรฐานตามความคิดของ
Goleman เอง
สุดท้าย Goleman เลยเปลี่ยนมาใช้คำว่า Emotional Intelligence แทน เพื่อเลี่ยงปัญหา
ที่ถูกแย้ง แต่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการ หรือคนที่เชื่อว่าตัวเองเป็นนักวิชาการก็ยังติดกับคำนี้มากกว่า
คือ อีคิว
ที่จริงแล้วแนวคิดเรื่องอีคิวของตา Goleman นั้น แกหยิบยืมมาจากแนวคิดเก่าๆ
ทางจิตวิทยา และทางการบริหาร ในทัศนะของผมนั้น แกไม่ได้คิดอะไรขึ้นมาใหม่ยกเว้นอย่างเดียวคือ
คำ ที่ใช้สิ่งที่แกกล่าวถึงนั้น เทอม (term) เก่าทางจิตวิทยา ใช้คำว่า maturity
หรือ ความเป็นผู้ใหญ่ในภาษาไทยเรา ซึ่งว่าไปแล้วคำนี้กินความหมายลึกซึ้ง
และกว้างขวางมาก เพราะหมายถึงการรู้จักใช้ปัญญาในการหาเหตุ และผลในการแก้ปัญหา
การมีสติในการรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึก การรู้จักกาละ และเทศะในการแสดงอารมณ์
และความต้องการของตน จะเห็นว่าแนวคิดนี้ก็ไม่เน้นกับปัญญาหรือความฉลาดมากนัก
แต่อะไร ที่ทำให้แนวคิดเรื่อง อีคิวของ Goleman เป็นที่ฮือฮา และได้รับความสนใจอย่างมาก
ในขณะที่แนวคิดเดิมๆ มีมาก่อน คนเคยให้ความสนใจน้อยอย่างไรก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
เหมือนเดิม
ผมคิดว่าคงคล้ายกับกรณีของ อีตา Gray ที่เขียนหนังสือขายดีออกมาสองเล่ม
เล่มหนึ่งคือ Men from Mars, Women from Venus เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะเน้นถึงแนวการมองผู้ชาย
และผู้หญิง โดยใช้สัญลักษณ์ของเทพเจ้ากรีกเป็นตัวเปรียบเปรย ตัวอย่างส่วนใหญ่ก็มักจะยกจากบุคคลใกล้ตัว
ประสบการณ์ของตัวเอง รวมถึงประสบการณ์ของคนที่มาปรึกษานาย Gray
ว่าไปแล้วหนังสือสองเล่มนี้ก็คือ หนังสือฮาวทู ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ต้นแบบของหนังสือประเภทนี้
ที่เรารู้จักกันดี ก็คือ หนังสือฮาวทูของเดลล์ คาร์เนกี้ ที่จะเล่าเรื่องภายใต้แนวคิดของเขา
พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ สิ่งที่ทำให้หนังสือประเภทนี้ขายได้ และไม่น่าเบื่อสำหรับผู้อ่านเหมือนหนังสือวิชาการทั้งหลายก็เห็นจะเป็นตรงนี้
คือ ตัวอย่างประกอบ ที่เราได้เห็นทั้งความสำเร็จ ที่บุคคลในเรื่องนั้น ทำตามแนวความคิดของผู้เขียน
(หรือผู้เขียน "สกัด"ประสบการณ์ของบุคคลนั้น ออกมา) และความล้มเหลวเพราะบุคคลนั้น
ไม่ได้ทำตามกฎเกณฑ์ ที่ผู้เขียนเล่าไว้ในตอนต้น
เท่านี้หรือ ที่จับใจผู้อ่าน
คำตอบคือ ไม่ใช่
สิ่งสำคัญ ที่ทำให้ผู้อ่านอยากรู้ และอยากอ่าน ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ตัวอย่างของเรื่อง
แต่ตัวอย่างของเรื่องต้องมีความสำค ัญเพียงพอ ที่จะทำให้ผู้อ่านอยากทำตาม
เพื่อประสบความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ที่เคยเกิดขึ้นกับบุคคลนั้น
ลองนึกสมมุติว่าหากผู้เขียนเริ่มต้นว่า "ภารโรงคนหนึ่ง......." ผู้อ่านก็คงจะไม่สนใจมากเท่ากับการเริ่มว่า
" เพื่อนของผมคนหนึ่ง......." ความสนใจของผู้อ่านคงจะมากขึ้นเรื่อยๆ หากเรื่องบอก
ว่า " เพื่อนของผมคนหนึ่ง ที่เป็นประธานบริษัท............." ไปจนถึงเรื่อง
ที่เริ่มว่า "ประธานาธิบ ดีเคนเนดีเคย................."
เราจะเห็นได้ว่าหนังสือประเภทนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือของสิ่งที่พวกเขานำเสนอด้วยการเสนอตัวอย่างที่สำคัญ
(ฐานะทางสังคมของตัวอย่าง) เป็นกรณีศึกษา เมื่อผู้อ่านอ่านหนังสือเล่มนั้น
ก็ เพื่อจะหา "กุญแจ" ที่จะไขไปสู่ความสำเร็จเหมือนตัวอย่างในหนังสือ
หนังสือเล่มใหม่ของ Goleman ก็เช่นกัน หนังสือชื่อ Working with Emotional
Intelligence มีเนื้อหา ที่พยายามยืนยันว่า แนวคิดเรื่องอีคิวมีความสำคัญเพียงไร
โดยยกตัวอย่างประกอบ รวมไปถึงสิ่งที่ Goleman พยายามจะขายไอเดียให้ผู้อ่านเชื่อว่าเดี๋ยวนี้บริษัทใหญ่ๆ
ให้ความสำคัญกับอีคิวมาก เพราะต้องการคนทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่ใช่ว่าไอคิวสูงแล้วทำงานอยู่คนเดียว
ข้อความ ที่ซ่อนอยู่คือ คุณต้องพัฒนาอีคิวของคุณ หากคุณต้องการทำงานในบริษัทใหญ่
พูดอีกทีก็คือ คุณต้องอ่านหนังสือของ Goleman หรือ เข้าคอร์สอบรมในบริษัท
ที่เน้นอีคิว ( ซึ่ง Goleman เองอาจจะเกี่ยวข้อง) จะมีอะไรดีไปกว่า การเรียนรู้จากเจ้าตำรับโดยตรง
ถามว่าคนที่เน้นการพัฒนาอีคิวประสบความสำเร็จอย่างที่ Goleman บอกไว้หรือไม่นั้น
ผมคงตอบไม่ได้ แต่หากถามว่าแนวคิดนี้ประสบความสำเร็จไหม คำตอบคือ แน่นอน
คำนี้กลายเป็นสินค้าตัวใหม่ ที่มีราคา และมีมูลค่า ตัว Goleman เองก็กลายเป็นที่ปรึกษาของหลายบริษัทบ้านเราเองตอนนี้ถ้าจะพูดเรื่องการพัฒนาคน
หากไ ม่พูดถึงการพัฒนาอีคิวก็แสดงว่าคนพูดไม่รู้จริง พ่อแม่ตอนนี้นอกจากอยากจะให้ลูกไอคิวสูงแล้ว
ยังต้องการวัดอีคิวด้วยว่าจะสูงหรือไม่ หน่วยงานภาครัฐ อย่างที่ผมกล่าวตอนต้นก็เฮไปกับเขาด้วย
ให้ทุนไปวิจัยในเรื่อง ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจน และท้ายสุดตอนนี้ถ้าจะด่าใครอย่างสุภาพก็ต้องพูดว่า
คนคนนี้อีคิวต่ำ แทน ที่จะพูดว่าบุพการีลืมสั่งสอน หรือสอนแล้วไม่จำ