Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
ฮานาบิ             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





เดือนสิงหาคมกลางฤดูร้อนของญี่ปุ่น มีอะไรที่คล้ายกับเดือนเมษายนที่ร้อนที่สุดของเมืองไทยหลายอย่าง เช่นเป็นช่วงปิดเทอมเหมือนกัน มีเทศกาลไหว้บรรพบุรุษเหมือนกัน เป็นช่วงที่ร้อนสุดๆ เหมือนกัน แต่มีวิธีคลายร้อนที่ต่างกัน บ้านเราคลายร้อนด้วยสงกรานต์ ญี่ปุ่นคลายร้อนด้วยการไปดูดอกไม้ไฟ (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ฮานาบิ)

ประมาณกันว่าการจุดดอกไม้ไฟมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 380 ปีก่อน นั่นหมายความว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นในช่วงนั้น โดยเฉพาะวิชาเคมีก้าวไปไกลพอสมควรทีเดียว จากนั้นมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ แต่ต้องหยุดไปในช่วงสงครามโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การกลับมาใหม่ของดอกไม้ไฟ กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพในญี่ปุ่น เพราะการชื่นชมดอกไม้ไฟจะเกิดขึ้นได้ก็ในยามบ้านเมืองสงบ บริษัทผู้ผลิตดอกไม้ไฟรายใหญ่ของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่มีประวัติเริ่มมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กันทั้งนั้น การเริ่มต้นวิจัยและพัฒนาในช่วงเวลาที่ประเทศไม่เหลืออะไรเลย หลังสงครามเป็นความยากลำบากที่คนญี่ปุ่นรุ่นคุณปู่คุณย่าไม่เคยลืม มาถึงวันนี้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำของโลกในหลายๆ ด้านรวมทั้งเทคโนโลยีดอกไม้ไฟญี่ปุ่น

การทำดอกไม้ไฟในปัจจุบันอาศัยความรู้ทางเคมีกับฟิสิกส์เป็นหลัก ผสมเพิ่มผสานกับศิลปะ เพื่อให้ได้ดอกไม้ไฟตามที่ต้องการ ขั้นตอนการผลิตที่มีความละเอียดอ่อน เริ่มจากการผสมผงดินปืนกับสารเคมีที่ให้สีต่างๆ (สีแดง : Strontium carbonate, สีเหลือง : Calcium carbonate, สีฟ้า : Copper oxide, สีเขียว : Barium nitrate, สีเงิน : Aluminium) ปั้นด้วยมือทีละชั้นจนได้ขนาดตามต้องการ

ทุกเย็นวันศุกร์-เสาร์ ตั้งแต่ปลายกรกฎาคมถึงต้นกันยายน จะมีการจุดดอกไม้ไฟกันตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ เกือบจะทั้งหมดเปิดให้ดูฟรี ซึ่งแน่นอนของฟรีย่อมมีคนไปดูกันเยอะเป็นธรรมดา ดังนั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากคนจำนวนมากที่ไปแออัดในสถานที่เดียวกัน จึงมีการจุดดอกไม้ไฟพร้อมๆ กันในหลายสถานที่คือ ต้องเลือกไปดู (ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง) นอกจากจะช่วยป้องกันเหตุที่ไม่คาด คิดแล้วยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาค และมหภาคได้เป็นอย่างดี รายได้ที่เกิดจากการเดินทางไปดูด้วยรถไฟ JR (ของรัฐบาล) พุ่งขึ้นเป็นเท่าตัวคนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่จุดดอกไม้ไฟมีรายได้จากการออกร้านขายอาหารเครื่องดื่ม และเก็บเงินค่าจอดรถ เรียกได้ว่าเงินสะพัดกันทั่วเกาะญี่ปุ่น

สำหรับวัยรุ่นญี่ปุ่น การไปดูดอกไม้ไฟถือเป็นโอกาสดีในการชวนกันไปออกเดท ซึ่งเป็นมุขที่ไม่เคยล้าสมัย ใช้กันมาตั้งแต่สมัยคุณยายยังสาว สาวญี่ปุ่นที่ถูกชวนไปดูดอกไม้ ไฟ (กันแค่สองเรา) มักจะใส่ชุดยูกะตะตัวเก่ง แต่งหน้าทำผม เตรียมเบนโตะ (อาหารกล่อง) ที่บรรจงโชว์ฝีมือเต็มที่ติดไปด้วย ไม่ได้จำกัดเฉพาะการไปเป็นคู่เท่านั้น ไปเป็นกลุ่มเพื่อนที่โรงเรียนหรือที่ทำงานก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ดอกไม้ไฟมักจะจุดกันกลางแม่น้ำหรือริมทะเล ซึ่งจะดูได้จากสองฝั่งแม่น้ำ ชายทะเล หรือนั่งดูจากเรือ ปกติเริ่มจุดกันตั้งแต่ทุ่มครึ่ง ใช้เวลาดูประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง จุดกันประมาณ 8,000-20,000 ดอก ขึ้นอยู่กับสถานที่ ซึ่งแต่ละที่ ก็จะแข่งกันจุดทั้งคุณภาพและปริมาณ เสน่ห์ของแต่ละที่อยู่ที่รูปแบบการจุด บางที่ทำเหมือนเป็นคอนเสิร์ตดอกไม้ไฟคือ มีดนตรีประกอบ บางที่โดยเฉพาะชายทะเลมักจะจุดกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวราบของทะเล จุดซ้ายทีขวาที ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นโรงละครดอกไม้ไฟ ลักษณะของดอกไม้ไฟไม่ได้มีแค่แบบทรงกลมธรรมดา (ที่มี 2 แบบหลักคือ เป็นทรงกลม ดอกเบญจมาศ กับดอกโบตั๋น) ทรงครึ่งทรงกลมก็ดูเก๋ไปอีกแบบ แต่ที่น่าประทับใจที่สุดคือ ดอกไม้ไฟที่จุดเป็นรูปต่างๆ ได้ เช่น รูปหัวใจ ดาว หอยทาก ผีเสื้อ มิกกี้เมาส์ รวมไปถึงโดราเอมอน ฯลฯ สิบปากว่าก็ไม่เท่าตาเห็น เชิญดูภาพที่เก็บมาฝาก เผื่อจะช่วยคลายร้อนที่เมืองไทยได้บ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us