Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
In the name of Mother             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

ยูนิคอร์ด, บมจ.
บัมเบิ้ลบี ซีฟู้ด
พรพรรณ ก่อนันทเกียรติ
ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ
ถาวร พรประภา




ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง หากสามารถเป็นแม่ที่ดีได้สำเร็จ ก็ถือได้ว่าคนคนนั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่

ชีวิตของ "พรพรรณ ก่อนันทเกียรติ" หรือ "คุณม่อน" มีชีวิตเหมือน Drama จากกำเนิดเป็นลูกสาวเจ้าสัว ถาวร พรประภา และเป็นภรรยาดำริห์ ก่อนันทเกียรติ กับแม่ของลูก 4 คน โดยขณะที่อุ้มท้องคนสุดท้อง เธอต้องช็อกจากการจากไปกะทันหันของดำริห์ และเมื่อฟื้นคืนสภาพ เธอต้องแบกรับภาระหนี้สินยูนิคอร์ดกว่า 7,610 ล้านบาททันที

ผู้หญิงคนนี้ เธอเป็นคนพิเศษที่มีธาตุทรหดของผู้นำและสร้างสรรค์มากกว่าที่สังคมคาดคิด ฤาว่า... นี่คือ ส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณของความเป็น "แม่ที่ดี" ที่ผู้หญิง คนหนึ่งควรจะมี

หนึ่ง-มิติของความเป็นผู้นำของพรพรรณ ที่ต้องปกป้องคนและธุรกิจของเธอ จากพื้นฐานครอบครัวตระกูลพรประภา กับประสบการณ์บริหารธุรกิจในฐานะกรรมการผู้จัดการตั้งแต่อายุ 18 แต่เมื่อสิ้นดำริห์ เธอถูกสถานการณ์บังคับให้เรียนรู้ธุรกิจผลิตปลาทูน่ากระป๋อง และสามารถสร้างขวัญกำลังใจของพนักงานได้ยามวิกฤติ ทั้งๆ ที่ในอดีตไม่เคยสนใจ ปล่อยให้ดำริห์ทำคนเดียว

สอง-มิติของ Strategic Thinking ที่เธอสามารถร่วมกับทีมผู้บริหาร ใช้วางแผนการฟื้นฟูบริษัทยูนิคอร์ดที่ล้มละลายจากปัญหาหนี้สินกว่า 7,610 ล้านบาท โดยจัดอันดับความสำคัญของงานและคน กำหนดเป้าหมายและวิธีการชัดเจนเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูญเสียปลาทูน่าให้น้อยที่สุด และสร้างสรรค์เแปรรูปปลาทูน่าให้มีมูลค่าเพิ่ม

ท่ามกลางปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าจากเจ้าหนี้ งานแรกคือเธอต้องวิ่งเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้การค้ากว่า 100 บริษัท ไม่ว่าบริษัทส่งปลาวัตถุดิบ โรงงานกล่อง ผลิตกระดาษฉลาก โรงงานกระป๋อง ฯลฯ ให้ส่งสินค้าให้ตามเดิม

"ทุกคนแทบไม่อยากขาย เขาเกร็งและกลัวไม่ได้เงินคืน แต่เราบอกตรงๆ ว่า เราจะซื้อของเขาเหมือนเดิมและจะทยอยคืนเงินให้เขาก่อน เพราะเรารู้ว่า ถ้าไม่จ่ายเจ้าหนี้การค้า พวกเขาจะตายก่อนเจ้าหนี้ธนาคารและตายเร็วกว่าเราด้วย" คุณม่อนเล่าให้ฟังถึงยุควิกฤติที่ยูนิคอร์ดประสบเป็นรายแรก ก่อนยุคไอเอ็มเอฟครองเมืองปี 2540

สาม-มิติของการบริหารการเงินที่พรพรรณละเอียดรอบคอบและหมุนเงินให้สอดคล้องกับแผนดำเนินและขยาย ธุรกิจอย่างเข้าใจข้อจำกัดของเงินทุนที่เจ้าหนี้บังคับได้ดี เช่น กรณีซื้อเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งออกแบบ pouch packaging มูลค่า 50 ล้านบาทได้ โดยกันเงิน 200 ล้านบาท ในส่วนที่บัมเบิ้ลบีชำระบัญชีคืนยูนิคอร์ด 500 กว่าล้านบาท

หลังสิ้นดำริห์ สังคมลืมและทอดทิ้งผู้สูญเสียอย่างเธอให้เผชิญหายนะตามลำพัง แต่เธอยังดำรงธุรกิจอุตสาหกรรมยูนิคอร์ดให้มียอดขายปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทได้ ทั้งๆ ที่เมื่อปี 2538 ยูนิคอร์ดสิ้นเนื้อประดาตัวแทบจะขอดน้ำตากิน ยอดขายยูนิคอร์ดปี 2539 เหลือเพียง 772 ล้านบาท จากที่เคยขายได้ถึง 5,000 กว่าล้านบาทในยุคดำริห์บริหาร

อะไรคือกระบวนการฟื้นฟูธุรกิจและจิตใจของเธอ? ครั้งแรกที่พบกันที่ชั้น 5 ของอาคารยูนิคอร์ด เธอยังแต่งชุดไว้ทุกข์ให้กับคุณพ่อถาวร พรประภา ดิฉันบอกตัวเองว่า นี่เป็นครั้งที่สองที่ดิฉันเห็นเธอสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

เราคุยกันหลายเรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูยูนิคอร์ดและปรับโครงสร้างหนี้มูลค่า 7,610 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้คืนเจ้าหนี้ตลอด 11 ปี ที่มีคุณม่อนเป็นผู้บริหารแผนฯ รับเงินเดือน 300,000 บาท

"ม่อนทำเพื่อรักษาชื่อของยูนิคอร์ดให้อยู่ถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อใดมันไม่ใช่ของเรา มันก็ไม่ใช่ ถ้ามีปัญญาก็หาใหม่ได้ อย่าไปหวังอะไรมาก"

ความหวังเธออยู่ที่ลูก เธอตั้งชื่อลูกเองและวางแผนการศึกษาระดับนานาชาติเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกๆ ได้ประสบแต่สิ่งที่ดีที่สุดที่แม่จะทำให้ได้ รวมถึงปกป้องลูกจากอดีตอันมืดมนสับสนช่วงสุดท้ายของดำริห์ที่ถูกตอกย้ำโดยสื่อ

ขณะนี้ลูกสาวคนโต ด.ญ.ธันยพร หรือ "เมย์" เรียน อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ในโรงเรียน Cranleigh ที่เก่าแก่อายุ 137 ปีและมีชื่อเสียงเด็กเรียนและเล่นกีฬาเก่ง

สำหรับ ด.ช.ธยาน์ (แม็กซ์) ลูกชายคนที่สอง ซึ่งขณะนี้ไปเรียนต่อที่โรงเรียน Cheam School เกรด 6 หลังจากพี่สาวเพิ่งจบไปและตามด้วย ด.ญ.ธนาภา (มิ้นท์) ที่จะไปเรียนในเกรด 5 ตามพี่ๆ ที่นี่

ส่วน ด.ช.ธฤต (แมน) ที่อยู่ในวัยกำลังกินกำลังนอน ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนนานาชาติ เซนต์ แอนดูวรส์ ที่กรุงเทพฯ

"สำหรับวันแม่ในปีนี้ เหลือแต่เมย์ลูกสาวคนโตคนเดียวที่กลับจากอังกฤษมาอยู่ด้วย ส่วนอีกสามคนไปซัมเมอร์ที่ต่างประเทศ ไม่มีอะไรพิเศษในวันแม่หรอกค่ะ ลูกก็ทำเหมือนทุกๆ วัน คือ เรารักกัน หอมแก้มกัน กอดกันก็เป็นความสุข เขาอยากทำให้แม่สบายใจและอุ่นใจ แต่ถ้าจะพิเศษหน่อยก็ต้องเป็นวันเกิดของแม่ที่ลูกๆ จะตื่นเต้น"

น้ำเสียงมีความสุขของเธอวันนี้ ผิดกับวันวานเมื่อมิถุนายน พ.ศ.2538 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่วัดธาตุทองที่ดิฉันรู้จักชื่อเธอ ในฐานะภรรยาของดำริห์ เจ้าของธุรกิจผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องยักษ์ใหญ่ "ยูนิคอร์ด" ที่สร้างตำนานเทกโอเวอร์กิจการ บัมเบิ้ล บี ของสหรัฐฯ ขณะนั้นดิฉันได้แต่เห็นสภาวะทุกขเวทนาของเธอ ที่ช็อกจากการจากไปอย่างกะทันหันของสามี และชุดคลุมท้องสีดำของเธอวันนั้น ยิ่งทำให้บรรยากาศหดหู่ใจยิ่งนัก

"เวลาร่วมชีวิตระหว่างเรา น้อยและสั้นเกินไป 7 ปีกับอีกเพียง 1 เดือนเท่านั้น เราเพิ่งฉลองครบรอบแต่งงานไปได้เพียงเดือนกว่าๆ ไม่เคยคิดแม้แต่น้อยนิดว่า เราจะมีเวลาได้อยู่ร่วมกันเพียงเท่านี้" นี่คือตอนหนึ่งของคำไว้อาลัย "ดำริห์..จ๋า" ของคุณม่อนที่ดิฉันพลิกอ่านเจอจากหนังสืออนุสรณ์ดำริห์ ภาพปกเขียนโดยกวี อังคาร กัลยาณพงศ์

ไม่มีเวลาสำหรับสงสารตัวเอง เมื่อต้องดูแลลูกทั้งสี่และลูกน้องอีกนับพันครอบครัว เธอเป็นผู้หญิงที่ดำริห์และลูกๆ ควรภูมิใจกับ "ความแกร่งดุจเพชร" ที่ผ่านแรงกดดันสูงได้อย่างดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us