Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
POWER TRANSFORMATION             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ทักษิณ ชินวัตร
เจริญ สิริวัฒนภักดี




ความเคลื่อนไหวเชิงนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร มิใช่เพียงความเคลื่อนไหวเชิงการเมืองที่ผู้คนในแวดวงใช้โครงความคิดเดิมอรรถาธิบายเท่านั้น หากเป็นความเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์ของอิทธิพลใหม่ของสังคมที่มาจากรากฐานทางเศรษฐกิจ มาจากการพัฒนาของสังคมธุรกิจไทยที่ขยายปริมณฑลเข้าถึงชุมชน ในระดับลึกและกว้างอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิมของชนบทกำลังถูกทำลายด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมไปถึงโครงสร้างทางการเมือง โดยการนำของตัวแทนธุรกิจสมัยใหม่ในรัฐบาลชุดนี้ กำลังฌาปนกิจความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบเก่าไปด้วย

ผมเคยวิเคราะห์เรื่องที่มีความคิดต่อเนื่องเหล่านี้มาบ้าง ยังไม่เคยปะติดปะต่อให้เป็นภาพการเปลี่ยนถ่าย อิทธิพลในยุคใหม่นี้อย่างชัดเจน ว่าไปแล้วในยุคใกล้ๆ นี้มียุคของการปรับโครงสร้างเช่นนี้มาแล้วหลายยุค

ยุคสงครามเวียดนาม

"เหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเวียดนาม การส่งกองทหารหลายหมื่นคนทำสงครามแบบแผน ถือเป็นประวัติศาสตร์และบทเรียนสำคัญในเชิงการเมืองของสหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน มีการเคลื่อนตัวของอิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้ามาอย่างจริงจังในภูมิภาคนี้และต่อมาขยายไปทั่วโลก ได้กระตุ้นโดยตรงให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของโลก เคลื่อนตัวออกจากฐานเดิม แสวงหาโอกาสใหม่ในขอบเขตทั่วโลกด้วย"

"ประเทศไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปรากฏการณ์ครั้งสำคัญนี้ ในทางเศรษฐกิจเกิดการพัฒนาอย่าง มากในด้านสาธารณูปโภค ที่เน้นระหว่างเมืองกับหัวเมืองและชนบทบางพื้นที่ การเข้ามาของการลงทุนจากต่างประเทศ และการเติบโตของธุรกิจท้องถิ่นเปิดโอกาสให้เกิดกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ เป็นการผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพื่อสนองพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่เริ่มเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง (Critical Mass) ใช้สินค้าเพื่อความสะดวกสบายแบบตะวันตกมากขึ้น กระแสการตื่นตัวรับสินค้าสมัยใหม่กว้างขวางกลายเป็นการตลาดที่คุ้มต่อการลงทุน ดูเหมือนเป็นกระแสที่มาพร้อมกับการตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง กระแสการลงทุนจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ มาลงทุนโดยตรงในเมืองไทย โดยมองว่าแปซิฟิกริมเป็นย่านความเจริญใหม่ทางเศรษฐกิจ" (อ่านรายละเอียดจากเรื่อง Critical Mass นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544)

ยุค Globalization

"ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของไทย ทำให้ฐานผู้บริโภคสินค้าสมัยใหม่ขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะเกิดวิกฤติการณ์ของตลาดหุ้นไทยอันเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ตลาดหุ้นในฮ่องกง ก็เกิดในวงแคบ และจำกัดวงอยู่ในภาคการเงินเป็นหลัก ขณะที่ผู้มาใหม่ในภาคการเงินล้มไป แต่ผู้มาใหม่ในภาคการผลิตแม้จะต้องปรับตัว ปรับโครงสร้างธุรกิจ แต่ส่วนใหญ่พวกเขายังคงอยู่ นี่คือข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจน้อย

อีกมิติหนึ่งของวิกฤติการณ์โครงสร้างเศรษฐกิจได้เปลี่ยนโครงสร้างสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น มากกว่ายุคก่อนหน้านั้น โอกาสของผู้มาใหม่ก็คือคนที่มองโอกาสนี้อย่างเจาะลึกในเชิง Strategy มากกว่าการแสวงหาผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ เช่นในยุคก่อนหน้านั้น

โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวและพัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ของโลก ที่มุ่งเพื่ออำนวยความสะดวกระดับบุคคล พัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นสินค้าใหม่ของผู้บริโภคระดับโลก จากเครือข่ายการสื่อสารที่พัฒนาไปมากขึ้น ผู้ขายสินค้าสมัยใหม่เหล่านี้ในประเทศไทยจึงเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะกรณี ทักษิณ ชินวัตร (จากเรื่อง New Model Newcomer นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545)

ความจริงในยุคบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและต่อเนื่องมาในยุคชาติชาย ชุณหะวัณ การสร้างเครือข่ายถนนระหว่าง ชุมชนทั่วประเทศเป็นจุดขายทางการเมือง เป็นพื้นฐานของระบบสื่อสารยุคใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้นในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นระบบที่จะต้องวางโครงข่ายสาย และระบบสื่อสารไร้สาย ไปจนถึงอิทธิพลของ "เนื้อหา" ที่อาศัยเครือข่ายเหล่านั้น โดยเฉพาะทีวี

"ที่สุดแล้วทีวีไทยทุกช่องเริ่มพัฒนาเครือข่ายทั่วประเทศที่ทำให้ความเสียเปรียบได้เปรียบลดลงอย่างเด่นชัด ในราวปี 2531-2533 อันเป็นช่วงเบิกร่อง เศรษฐกิจไทยพองโตอย่างมากในเวลาต่อมา

จากนี้โครงสร้างความหลากหลายของชุมชนหัวเมืองต่างๆ ของไทยลดลงในช่วง 20 ปีมานี้ ไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มาจากหัวเมืองแล้วเติบโตขึ้นระดับชาติแม้แต่รายเดียว ขณะเดียวกับเครือข่ายธุรกิจของธุรกิจระดับชาติแผ่ขยายออกสู่ต่างจังหวัดอย่างขนานใหญ่ ความใหญ่ที่เป็นบุคลิกธุรกิจไทยเดิม ได้มีขนาดความใหญ่มากขึ้น น่ากลัวมากขึ้นอย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อน ไม่ใช่ความใหญ่ในเครือข่ายธุรกิจของกลุ่มธนาคารไทยที่หนังสือแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองสมัย 14 ตุลาคม กล่าวถึง ซึ่งเป็นการโยงผลประโยชน์ธุรกิจย่อยๆ หลายกลุ่มมารวมกัน โดยการถือหุ้นข้ามกัน หากแต่วันนี้ ความเป็นเจ้าของการบริหารตกอยู่ในมือ เจ้าของกลุ่มเดียวอย่างเข้มข้น อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี

อิทธิพลของทีวีพัฒนาควบคู่ไปกับระบบสื่อสารของไทย ซึ่งถูกแรงกระตุ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีมานี้ ให้สร้างเครือข่ายระดับประเทศ ด้วยการลงทุนเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในการสร้างระบบสาธารณูปโภคของสังคมไทย (แม้ว่ารัฐจะได้ลงทุนโดยตรงทั้งหมดก็ตาม)

ขณะเดียวกัน ทีวีกลายเป็นเครือข่ายทรงพลังของสินค้าที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ที่ถูกถ่ายทอดมาจาก Globalization ด้วย เป็นการเชื่อมโยงไปถึงฐานรากของชุมชนไทยเลยทีเดียว การลงทุนดำเนินธุรกิจยุคใหม่ของธุรกิจระดับโลก ในระดับท้องถิ่นในเมืองไทย มีต้นทุนที่ถูกลง และเจาะตลาดได้ง่ายขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน" (จากเรื่อง Consumer Contract นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2545)

แนวของเรื่องผมเคยเขียนต่อความคิดนี้ไว้นานแล้วเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ว่าด้วยการล่มสลายของกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น หรือการถอยร่นของธุรกิจเหล่านี้ เพราะบทบาทตัวแทนการค้าประจำท้องถิ่นของสินค้าระดับชาติหมดไป เมื่อเครือข่ายธุรกิจส่วนกลางขยายไปถึง และโอกาสของกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นเติบโตเป็นธุรกิจระดับชาติก็หมดไปด้วย

การถอยร่นของธุรกิจท้องถิ่น ย่อมรวมถึงธุรกิจที่ใช้อิทธิพลดั้งเดิมสร้างและขยายตัวมานาน อิทธิพลในระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น มีอำนาจที่ไม่สอดคล้องกับระบบระเบียบ กฎหมายของสังคมยุคใหม่มานานแล้ว

ความจริงกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นกับโมเดลธุรกิจแบบอำนาจนิยมแบบท้องถิ่น เพิ่งเติบโตอีกครั้งหลังเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของสังคมไทยในช่วงปี 2516-2519 นี่เอง การต่อสู้ของนักศึกษาและประชาชน เพื่อสร้างการเมืองแบบกระจายอำนาจ ด้วยการเลือกตั้ง ในสิ่งที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตย ด้วยการทำลายโครงสร้างอำนาจส่วนกลางที่อยู่ในเมืองของรัฐบาลทหาร และเทคโนแครต ทำให้ตัวแทนอำนาจดั้งเดิมของท้องถิ่นเติบโตขึ้น เข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองอย่างเปิดเผย แม้พวกเขาจะไม่สามารถขยายอำนาจธุรกิจสู่ระดับชาติ ด้วยโมเดลธุรกิจสมัยใหม่ และพวกเขาก็สร้างโอกาสในการรักษาอิทธิพลของพวกเขาไว้ได้ในระดับหนึ่ง พร้อมทั้งก่อกวนระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ไปด้วย

โมเมนตัมด้วยระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยทุนขนาดใหญ่ พัฒนาการด้านบริหารในการปรับกระบวนการผลิต และการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดการสร้างเครือข่ายตลาดจากฐานประเทศ บริษัท จนถึงผู้บริโภคระดับบุคคล จากบางขอบเขตไปสู่ขอบเขตทั่วโลก พิจารณาเฉพาะประเทศ การเข้าถึงตลาดชุมชนด้วยการตลาดสมัยใหม่ จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษาความมั่นคงและแข็งแกร่งของธุรกิจเป็นทอดๆ ไป

สินค้าระดับโลกเข้าถึงชุมชนได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร เช่น แครอท ไปจนถึงสินค้าสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นปรากฏการณ์ที่กำลังจะส่งผลต่อการเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคมเดิมครั้งใหญ่

สังคมไทยมีผู้มีอิทธิพลแบบใหม่ยึดอำนาจแกนกลางไว้แล้ว และอำนาจนี้กำลังพยายามกำจัดผู้มีอิทธิพลแบบเก่า เพื่อทำลายอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดทางเศรษฐกิจไปจนถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่กำลังเกิดขึ้นและก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจขัดขวางได้ ขณะเดียวกันก็จะทำให้ผู้มีระบบคิดแบบดั้งเดิมกำลังจะกลายเป็น "ความคิด" ที่เข้าสู่พิพิธภัณฑ์ในไม่ช้าด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us