Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 ตุลาคม 2551
CPF เล็งลงทุนหมูครบวงจร‘จีน-รัสเซีย’จ่อคิว-ยึดรูปแบบแปดริ้ว             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
Food and Beverage




CPF เปิดโรงงานต้นแบบ “แปดริ้ว” โชว์ไลน์การผลิตทั้งคุณภาพ-มาตรฐานจนถึงมือผู้บริโภค เผยส่งออก “เนื้อหมูสด” ได้แค่ประเทศเดียวคือฮ่องกง เล็ง2ยักษ์ใหญ่ “จีน-รัสเซีย”ผุดโรงงานครบวงจรตั้งแต่เชือดจนถึงแปรรูป ขณะที่ “บอสใหญ่”CPF ฟันธงมีนี้ยอดขายทะลัก 1.5 แสนล้านบาทและยังขยายตัวถึงไตรมาส 2 ปีหน้า

หากจะพูดถึงธุรกิจอาหารในบ้านเราแน่นอนต้องมีชื่อบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ที่รู้จักกันในนาม CPF ซึ่งมีสินค้าที่จำหน่ายในแบบแปรรูปละไม่แปรรูปในผลิต 6 ชนิดด้วยกันคือ ไก่,หมู,กุ้ง,ปลา,เป็ด และ ไข่ไก่ ซึ่งนอกจากจะจำหน่ายในประเทศแล้วยังส่งออกไปขายในต่างประเทศกว่า 21 ประเทศทั่วโลก โดย CPF มีเป้าหมายที่จะยกระดับตัวเองให้เป็น “ครัวของโลก” ในอนาคตขณะเดียวกันในปีนี้ “บอสใหญ่” ของ CPF ก็ฟันธงออกมาแล้วว่าจะมียอดขายรวมทุกธุรกิจทั้งสิ้น 150,000 ล้านบาทและธุรกิจยังจะโตต่อเนื่องถึงโตรมาส 2 ของปี 2552 โน่นเลย

อย่างไรก็ดีหนึ่งในธุรกิจของ CPF ที่เป็นธุรกิจหลักคือธุรกิจหมูครบวงจรเริ่มตั้งแต่เลี้ยงในฟาร์ม จนถึงมือผู้บริโภคด้วยมาตรฐานระดับโลกซึ่งมีจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ และเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่กำลังจะผลักดันสู่นอกประเทศทั้งในจีนและรัสเซียแบบวงจรในอนาคต

‘โมเดล’โรงงานต้นแบบ

“นารายณ์ ฉิมมิ” รองกรรมการผู้จัดการด้านธุรกิจโรงงานแปรรูปสุกร บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ CPF กล่าวถึงโรงงานต้นแบบว่า โรงงานแห่งนี้ลงทุนก่อสร้างด้วยมูลค่า 700 ล้านบาท โดยโรงงานแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบโรงงานแปรรูปเนื้อสุกร ที่มีการคัดสายพันธ์และรับจากฟาร์มของ CPเอง 90% และจากฟาร์มอื่นเพียง 10% ที่ต้องผ่านการรับรองจากสัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์ แล้วนำสุกรส่งไปโรงชำแหละมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ หลังจากนั้นนำเนื้อหมูเข้ามายังโรงงานแปรรูปเพื่อลดอุณหภูมิเนื้อสุกรให้เย็นลงที่ 4 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงตัดแต่งชิ้นส่วนภายในห้องควบคุมความเย็นสม่ำเสมอตลอดเวลาโดยเนื้อสุกรจะไม่สัมผัสพื้นและมือโดยตรงตลอดกระบวนการ

ทั้งนี้ก่อนบรรจุสำเร็จจากโรงงานจะถูกเก็บรักษาในรูปแบบ Chill ที่ 0-4 องศาเซลเซียสและแบบ Frozen ภายใต้ขบวนการที่ทำให้อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส เพื่อให้แกนเนื้อของสุกรมีอุณหภูมิที่ -18 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เนื้อสุกรยังมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และยังสามารถรักษาความสดได้ 100%

ขณะที่วิธีการขนส่งจะบรรทุกด้วยรถห้องเย็นควบคุมอุณภูมิตลอดเวลาเพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนก่อนถึงมือผู้บริโภค

“สด-สะอาด”จนถึงมือผู้บริโภค

สำหรับโรงงานแห่งนี้ได้สร้างเมื่อ 5 ปีที่แล้วแต่โรงงานยังไม่มีกำไรเพราะต้องแบกรับการผลิตมีต้นทุนสูงและยังมีการพัฒนารูปแบบสินค้าตลอดเวลาในโรงงานแห่งนี้โดยในปี 2550 มียอดขายทั้งสิ้น 2,700ล้านบาทโดยมีกำลังการผลิตที่ 1,300ตัว/วัน, ปี 2551คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาทด้วยยอดกำลังการผลิตที่ 1,450 ตัว/วัน, ปี 2552 คาดว่าจะมีกำลังการผลิตที่ 1,600ตัว/วันและมียอดจายที่ 3,500 ล้านบาท และ ในปี 2553 โรงงานแห่งนี้จะเริ่มคุ้มทุนเพราะจะผลิตได้เต็มกำลังคือ 1,800ตัว/วันและมียอดขายเพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท

โดยผลิตภัณฑ์ในโรงงานแห่งนี้จะส่งออกไปประเทศฮ่องกง 15% และอีก 85% จะใช้ในประเทศ โดยแบ่งเป็น 50% ส่งให้บริษัทในเครือCP นำไปผลิตภัณฑ์แปรรูปอีกอื่นๆ 35% ที่เหลือวางขายในโมเดิร์นเทรดยังแบ่งได้เป็นหมูสดอนามัยตรา CP จะวางขายที่ ท็อป, เทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี, ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น ขณะเดียวกันยังส่งตามร้านอาหารที่สั่งพิเศษ เช่น เอ็มเคสุกี้ โออิชิ ส่วนผลิตภัณฑ์เนื้อหมูสำเร็จรูป 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขาหมูพะโล้, ซี่โครงหมูตุ๋นเยื่อไผ่,ขาหมูตุ๋นเห็ดหอม, ซี่โครงหมูตุ๋นเยื่อไผ่ และ ซี่โครงหมูตุ๋นยาจีน จะมีจำหน่ายที่ CPเฟรชมาร์ท ทุกสาขา

นอกจากนี้แล้วเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจทางCPF ยังได้นำเทคโนโลยีระบบการตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์ว่ามาจากที่ใด เพียงแค่นำรหัสสินค้าไปตรวจสอบอินเตอร์เน็ต หรือผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านเลขชุดการผลิตทำให้มั่นใจสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทุกชนิดรายการที่ออกวางสู่ตลาด

“จีน”พร้อมที่สุดลุยครบวงจร

อย่างไรก็ดีเพราะการส่งออกเนื้อหมูสดไปต่างประเทศมีข้อกีดกันจำนวนมากซึ่งตอนนี้CPF ส่งออกได้เพียงประเทศเดียวคือฮ่องกง โดยขณะนี้CPF มีฟาร์มเลี้ยงเลี้ยงหมูใน 2 ประเทศยักษ์ใหญ่คือจีนและรัสเซียซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีประชากรในประเทศจำนวนมากซึ่งโรงงานต้นแบบแห่งนี้จะเป็นแบบอย่างมีการผลิตตั้งแต่การเชือดจนถึงขั้นตอนการแปรรูปในประเทศนั้น

“ประเทศที่น่าจะมีความพร้อมมากที่สุดคือจีน เพราะCPF มีฟาร์มหมูอยู่ในหลายมณฑล อาทิ หนานหนิง หูเป่ย แต่ยังต้องพัฒนาในด้านคุณภาพและมาตรฐานอีกสักระยะ ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ที่หนาวจัดที่ต้องลงทุนมากกว่าฟาร์มที่เมืองไทย และ เรื่องเทคนิคยังเป็นปัญหา แต่เชื่อว่าหากCPF ไปลงทุนในต่างประเทศจีนน่าจะมีความพร้อมมากที่สุด”รองกรรมการผู้จัดการด้านธุรกิจโรงงานแปรรูปสุกร กล่าวยืนยัน

“รัสเซีย”อีกหนึ่งความหวังในยุโรป

ขณะที่การลงทุนจากรัสเซียก็ไม่ได้ละเลย “อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เผยถึงธุรกิจในต่างประเทศว่า CPF กำลังจะเปิดดำเนินกิจการโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ทันสมัยที่สุดในโลกในประเทศรัสเซียในเร็วๆนี้ ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใสดีมาก เนื่องจากรัสเซียเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ ขณะที่ชาวรัสเซียนิยมบริโภคเนื้อสุกรอย่างมาก ถึงขนาดเป็นผู้นำเข้าเนื้อสุกรอันดับต้นๆ ของโลก

“ขณะรายได้ในครึ่งปีหลังที่จะเป็นไปตามเป้าหมายด้วยยอดขาย 150,000 ล้านบาท และจะสดใสต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งปี 2009 ด้วย”

แน่ละการลงทุนธุรกิจในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายๆยิ่งการบุกเบิกด้วยแล้วยิ่งยากเป็น 2 เท่าและยังต้องคำถึงการขาดทุนและกำไรไปพร้อมๆกันแต่หากสามารถปักธงได้กำไรก็คุณ 2 เช่นกันอยู่ที่ว่าจะกล้าลงทุนจริงจังสักกี่มากน้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us