Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
อาคารพิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




สถาปัตยกรรมที่งามสง่าหลังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยเกือบ 100 ปีมาแล้ว เคยเป็นห้างสรรพสินค้าของเอกชน ก่อนกลายมาเป็นที่ทำการของรัฐบาล และปัจจุบันคือ อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตัวอาคารตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาจะมองเห็นได้ชัดเจน แต่น้อยคนนักที่เคยเข้าไปเยี่ยมเยือน ทั้งๆ ที่เพียงแค่งานสถาปัตยกรรมภายนอก ซึ่งสวยงามแปลกตาด้วยอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกรูปแบบนีโอคลาสสิกแล้ว ภายในยังเป็นพิพิธภัณฑ์ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย

นอกจากเป็นศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ความรู้ด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และยังมีห้องจัดเก็บเอกสารและจดหมายเหตุให้บริการในการศึกษาวิจัย และมีบริการสารสนเทศครบสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล ตลอดทั้งปียังมีนิทรรศการหมุนเวียน ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปวัฒนธรรมในรัชสมัย และวิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย

ย้อนหลังกลับไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้างยอนแซมป์สัน แอนด์ซัน ซึ่งเป็นสาขาร้านจำหน่ายผ้าตัดเสื้อ รองเท้า รวมทั้งอานม้าที่มีชื่อเสียงในย่านบอนด์สตรีท กรุงลอนดอน ได้ขยายสาขามาตั้งในเมืองไทย ตามคำชักชวนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2441 โดยทางห้างได้เช่าตึกแถวตรงถนนพระสเมรุเป็นที่ทำการแห่งแรก

ในปี พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ให้กรมพระคลังข้างที่ ลงทุนก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่บนพื้นที่ 1,008 ตารางวา เชิงสะพาน ผ่านฟ้า เป็นผลงานการออกแบบของ ชาร์ล เบเกอแลง สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส ลักษณะอาคารเป็นตึก 3 ชั้น หันหน้าอาคารไปยังถนนราชดำเนินกลาง แล้วต่อปีกทอดยาวออกไปสองข้างตามแนวถนนหลานหลวง และถนนดำรงรักษ์ อาคารที่แม้มีรูปทรงแบบฝรั่งเหมือน อาคารอื่นที่สร้างในยุคเดียวกัน แต่เมื่อสร้างล้อไปกับแนวถนน จึงดูแปลกตาไม่เป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดา มีหอคอยยอดโดม ตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบ กรีก-โรมัน ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2455 ใช้เวลาทั้งหมด 6 ปี นับว่าเป็นห้างเดียวที่อยู่บนถนนราชดำเนินนอก ซึ่งก่อนหน้านั้นโปรดให้เป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย และสถานที่ราชการเท่านั้น

ต่อมา ทางหลวงไมตรีวานิช (เฉลิม ยอดมณี) ได้เช่าต่อเป็นที่ทำการของห้างสุธาดิลก จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและสุขภัณฑ์สมัยใหม่ โดยที่สัญญาเช่าได้หมดลงเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2475

ปี พ.ศ.2476 กรมโยธาธิการ (กรมนครภิบาล) ได้ขอเช่าเป็นที่ทำการของกรมฯ ในปี 2538 กรมศิลปากร จึงได้ขึ้นทะเบียน และกำหนดที่ดินและอาคารเป็นพื้นที่ โบราณสถาน

กรมโยธาธิการได้เช่าอาคารหลังนี้ต่อจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนถึงปี พ.ศ.2545 จึงได้มอบสิทธิการเช่าให้สถาบันพระปกเกล้า และตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2545

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us