Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 2)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ตอนที่ 1
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 3)
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา (ตอนที่ 4)
ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ตอนที่ 5 (ตอนจบ)




ผมได้มีโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศออสเตรีย ประเทศฮังการี และประเทศเยอรมนี เมื่อเร็วๆ นี้ (หลังส่งต้นฉบับตอน ที่แล้ว) และได้ไปเยือนสถานที่ ที่มีความเกี่ยวพันกับดนตรีคลาสสิก ความจริงแผนการเดินทางของผมกำหนดล่วงหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยเหตุไปช่วยงานผลิตรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับ ดนตรีคลาสสิก (เหตุนี้ผมจึงมีไอเดียฉวยโอกาสเขียนถึงดนตรีคลาสสิกเสียเลย) จึงขอใช้เนื้อ ที่นี้เล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ เคล้าเสียงดนตรีแห่งกรุงเวียนนา

เล่าต่อจากตอน ที่แล้ว หลังจากความเจริญด้านศิลปะการดนตรีได้แพร่กระจายจากประเทศอิตาลี สู่ประเทศเยอรมนี และมาสู่ประเทศออสเตรีย ทำให้ดนตรีท้องถิ่นได้รับอิทธิพลจากกระแสการพัฒนานี้ กระแส ที่ว่าคือ ดนตรี มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเข้าสู่ยุคที่มีชื่อว่า ยุคคลาสสิก (คำว่า คลาสสิก ในที่นี้คือ ศัพท์เฉพาะสำหรับเรียกชื่อของยุค ซึ่งต่อจากยุค บาโร้ค) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณต้นศตวรรษ ที่ 18 ไปจนถึงต้นศตวรรษ ที่ 19 ดนตรีในยุคนี้มีตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ ดนตรีของไฮเดน โมสาร์ท และผลงานต้นๆ ของ บีโธเฟน

คุณลักษณะเด่นของดนตรียุคคลาสสิกถ้าเขียนเป็นคำจำกัดความสั้นๆ คือ "ความเรียบง่ายภายใต้แบบแผนที่ชัดเจน" ลักษณะของดนตรีจะต่างจากยุคบาโร้ค คือ เพลงจะมีแนวทำนองอยู่แนวเดียวโดยดนตรี ที่เหลือจะเป็นส่วนประกอบ และจังหวะจะโคนของเพลงจะไม่สม่ำเสมอเหมือนดนตรียุคบาโร้ค นอกจากนี้โดยองค์รวมเพลงในยุคคลาสสิก จะมีความซับซ้อนน้อยกว่า เป็นตัวแทนของคนธรรมดามากขึ้น ไม่ได้เน้นถึงการประดิดประดอย และ ความเป็นที่สุด ทำให้ดนตรียุคนี้ฟังง่ายกว่า และสามารถเข้าถึงผู้คนทั่วไปได้มากกว่า

คีตกวีในยุค คลาสสิก ที่ผมอยากจะแนะนำให้ท่านรู้จักท่านแรกคือ ฟรานซ์ โยเซฟ ไฮเดน (1732-1809) ไฮเดนเกิด ที่ Rohrau ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเวียนนา พ่อของไฮเดนเป็นชาวชนบท อาชีพซ่อมล้อรถม้า ฐานะของครอบครัวห่างจากความร่ำรวยแต่มีใจรักในดนตรี เขาได้รับการฝึกฝนด้านดนตรีเบื้องต้นจากญาติ และขณะที่เป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ใหญ่กลางกรุงเวียนนา (St. Stephan church อยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ซึ่งปัจจุบันเป็นถนนคนเดินใหญ่ที่สุด มีร้านค้ามากมาย ผมได้ไปทานปลากับมันฝรั่งจานละ 300 กว่าบาท ที่ร้าน "ทานด่วน" ใกล้ๆ โบสถ์ ซึ่งถือว่าราคาถูกแล้วในย่านนั้น ) พออายุได้ 17 ปี เสียงแตกเกินจะทน จนถูกให้ออกจากวง ระหกระเหินหารับประทานด้วยการเป็นนักดนตรีรับจ้าง และสอนดนตรีเล็กๆ น้อยๆ ต่อมาได้เรียนวิชาการประพันธ์พื้นฐานจากครูผู้ใจดี ที่กรุงเวียนนา

ไฮเดนได้มุมานะพยายามพัฒนาฝีมือด้านการประพันธ์ดนตรีจนได้งาน เป็นผู้ควบคุมวงดนตรี และเริ่มฉายแววความเป็นหนึ่ง ไฮเดนได้พบกับจุดสูงสุดในชีวิตก็เมื่อเจ้าชายเอสเตอร์ฮาซี แห่งตระกูลผู้สูงศักดิ์ และทรงอิทธิพลชาวฮังการี ได้ให้ตำแหน่งงานเป็นผู้ประพันธ์ดนตรี และควบคุมวงดนตรี ที่ปราสาทของตระกูล ซึ่ง ที่นั่นด้วยสภาวะแวดล้อม ที่อำนวย ไฮเดนสามารถผลิตผลงานเพลงออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และยกย่องอย่างสูง จนถึงอายุ 58 ปี เขาลาออกจากงานเมื่อผู้อุปถัมภ์ค้ำชูได้สิ้นชีวิตลง อย่างไรก็ตามชื่อเสียงของเขา ที่ขจรไปทั่วยุโรปจนถึงประเทศอังกฤษ ทำให้เขาได้รับงานประพันธ์ดนตรี และได้รับเชิญไปควบคุมวงดนตรีถึงประเทศอังกฤษ เขาได้พบกับ โมสาร์ท ซึ่งมีอายุคราวลูก ทั้งคู่เป็น เพื่อนที่ดีต่อกัน ซึ่งไฮเดนก็ได้ยกย่องความสามารถของโมสาร์ทเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น เขาได้พบกับบีโธเฟน ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ บีโธเฟนมาสมัครเป็นลูกศิษย์ของไฮเดน แต่ไม่นานทั้งคู่ต้องแยกทางเพราะความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน ไฮเดนจากโลกนี้ไปด้วยโรคชรา ที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1809 อายุรวม 77 ปี

ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมปราสาทของตระกูลเอสเตอร์ฮาซี ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมือง Sopron ประเทศฮังการี ซึ่งอยู่ติดชายแดนกับประเทศออสเตรีย ทางใต้ของกรุงเวียนนา ระยะทางไม่ถึง 1 ชั่วโมงรถขับ (เว้นแต่ท่านจะมีหน้าตาไม่ละม้ายกับคนแถวนั้น และไม่ได้ถือพาสปอร์ตยูโร และติดอยู่ ที่ด่าน ต.ม.) บริเวณปราสาทกว้างใหญ่พอประมาณคือ ไม่ใหญ่จนน่ากลัว ตั้งอยู่ในเขตชนบท ที่เงียบสงบ ด้านหลังของปราสาทมีสนามหญ้าขนาดใหญ่ และสวนต้นไม้รูปร่างแปลกๆ ที่เล็มใบไม้เหมือนรูปแจกันยักษ์หลายสิบต้น รอบๆ ปราสาทเป็นป่ามีต้นไม้สูงใหญ่ ผมมีความรู้สึกว่าบรรยากาศ ที่ปราสาทเอส เตอร์ฮาซี คงมีอิทธิพลกับผลงานเพลงของไฮเดนอยู่พอสมควร ผมพยายามเงี่ยหูฟังว่าจะมีดนตรีของไฮเดนดังออกมาจาก ที่ใด ที่หนึ่งหรือไม่

ไฮเดนแม้รูปลักษณ์ไม่เป็นคนรูปหล่อ พ่อไม่รวย แต่ขยัน ประหยัด มี ระเบียบ ตรงไปตรงมา ใจดี และเคร่งศาสนา เขาผลิตผลงานเพลงมากกว่า 1400 ชิ้น แต่งซิมโฟนีไว้ถึง 104 บท (มีอีก 3 ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพราะไม่แน่ใจว่าเป็นผลงานของไฮเดน) เขาเป็นคนมุ่งมั่น และมีระเบียบในการทำงาน แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับการศึกษา ที่สูง และไม่ได้เป็นคนที่รอบรู้ในเรื่องต่างๆ แต่ ในโลกของดนตรีเขามีความชัดเจน มีความชำนาญ คิดอย่างมีระบบ และ สร้างสรรค์ เขาเป็นผู้วางรากฐานโครงสร้างของดนตรี ซึ่งต่อมากลายเป็นแนวทางปฏิบัติ ที่สำคัญของคีตกวีรุ่นต่อมา เช่น โมสาร์ท และบีโธเฟน

ผลงานเพลงของไฮเดนส่วนใหญ่จะสะท้อนนิสัย และความนึกคิดออกมาอย่างชัดเจน ดนตรีจะมีความประณีต มีระเบียบ สดใส สอดแทรกด้วยความไร้เดียงสา และความคิดสร้างสรรค์ ผลงานส่วนใหญ่จะฟังง่ายไม่ซับซ้อน (ท่านต้องคุ้นเคยกับดนตรีคลาสสิกหรือฟังเพลงบรรเลงได้ยาวๆ) ถ้าฟังเป็น บรรยากาศจะให้ความรู้สึก ที่อบอุ่น บางเพลงจะสอดแทรกอารมณ์ขัน และมุขตลกสร้างความเพลิดเพลิน ฟังได้เรื่อยๆ

อย่างไรก็ตามท่านจะรู้จักดนตรีคลาสสิกได้ก็จากการฟัง ไฮเดนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการประพันธ์เพลงประเภท ซิมโฟนี (คือ ดนตรี ที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าในรูปแบบ ที่เป็นการแสดงภูมิปัญญาของนักประพั นธ์อย่างเต็มที่) และเพลง String Quartet (วงเครื่องสาย 4 ชิ้น) ผลงาน ที่น่าสนใจถ้าท่านมีโอกาสหามาฟังก็เช่น ซิมโฟนีหมายเลข 101 ที่มีชื่อว่า "The Clock" เป็นซิมโฟนียอดนิยมของไฮเดน นอกจากนั้น ยังมีซิมโฟนีหมายเลข 45, 94, และ 104 ผลงาน String Quartet Opus 67 (Opus หมายถึงผลงานลำดับที่) เป็น String Quartet ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผลงานชนิดเดียวกันทั้งหมด 82 ชิ้น นอกจากนั้น ก็มี String Quar tet Opus 20, 54, 33 เป็นต้น ส่วนงานเด่นอื่นๆ ก็เช่น Concerto for Trumpet and Orchestra in E-flat Major (Con- certo คือ ผลงานการบรรเลง ที่มีพระเอก ซึ่งมักจะเป็นเครื่องดนตรีน้อยชิ้นหรือชิ้นเดียว โดยมีวงออร์เคสตร้าบรรเลงประกอบ และเป็นการแสดงความสามารถระดับสูงของผู้เป็นพระเอก) งานสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า The Creation และ Piano Sonata (Sonata คือ การบรรเลงเดี่ยว ของเครื่องดนตรี) No.33 in C Mi nor, No.60 in C, No.62 in E-flat เหล่านี้เป็นต้น เขียนเพลินจนเกินหน้า หวังว่าคงไม่เป็นการยัดเยียดข้อมูลจนเกินไป ตอนต่อไปผมจะเล่าถึงชีวิต และดนตรีของโมสาร์ทให้ท่านฟัง แล้วพบกันครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us