Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 ตุลาคม 2551
นายแบงก์ชี้จีดีพีปีหน้า3.9% ส่งออกฉุดแนะรัฐเร่งเมกะโปรเจกต์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน

   
search resources

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
อุสรา วิไลพิชญ์
Banking and Finance




สแตนชาร์ตห่วงเศรษฐกิจไทยปีหน้าเผชิญปัจจัยลบทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่จะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยคาดจีดีพีโตแค่ 3.9%จาก 4.7%ในปีนี้ แนะรัฐรับช่วงเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบ-เมกะโปรเจ็กต์ เพื่อชดเชยการส่งออกที่ลดลง ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยเชื่อเป็นขาลงเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และทิศทางเงินมีโอกาสแตะ 36 บาทในกลางปีหน้า "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" เห็นพ้อง ส่งออกปีหน้ารับผลกระทบเศรษฐกิจโลก

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะเผชิญกับความท้าทายที่หนักหน่วงทั้งสองด้าน คือจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2552 จะอยู่ในระดับ 3.9%จาก 4.7%ในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าภาวะวิกฤตทางการเงินโลกในครั้งนี้ อาจมีผลกระทบในทางลบต่อทั้งภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย และส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าตลาดการส่งออกของไทยกระจายตัวค่อนข้างดี โดยมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของยอดรวม แต่หากรวมตลาดหลักอื่นๆในภูมิภาค ได้แก่ อาเซียน จีน และฮ่องกง รวมกันแล้วมีมูลค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของยอดรวม ดังนั้นหากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวไปพร้อมๆกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและการเจริญเติบของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองยังส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศสถานการณ์การเมืองที่ยังขาดเสถียรภาพ ทำให้ความเชื่อมั่นภายในประเทศทั้งจากนักลงทุนและผู้บริโภคยังคงอ่อนแอและเปราะบางต่อไป ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าของโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่อาจจะล่าช้าเนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง

ด้านภาวะเงินเฟ้อของไทยที่จะคลายตัวลงอย่างมากจากราคาน้ำมันที่ลดลง รวมถึงการอุปโภคบริโภค-การลงทุนที่อาจจะยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าน่าจะอยู่ในอัตราเฉลี่ย 2.5%ในปี 2552 จากอัตราเฉลี่ย 6.4%ในปีนี้ ซึ่งจะเอื้อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)สามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบนี้น่าจะได้เห็นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า 2 ครั้ง ๆละ 0.25% และในไตรมาส 3 อีก 1 ครั้งในอัตรา 0.25% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% แต่หากภาวะเศรษฐกินชะลอตัวลงเร็วและมากกว่าที่คาด ก็อาจได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น

สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ธปท.คงจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากรอดูความชัดเจนของตัวเลขเศรษฐกิจก่อน แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดก็อาจจะได้เห็นการปรับลดดอกเบี้ยลงในไตรมาสแรกของปีหน้า

ส่วนทิศทางค่าเงินบาท จากแนวโน้มการขาดดุลการค้าที่คาดว่าจะต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เนื่องจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว ประกอบกับเงินลงทุนที่ยังไหลออกอย่างต่อเนื่องจากมีผลกดดันต่อค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่าจะอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายปี 2551 และไปที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางปี 2552

นางสาวอุสรากล่าวอีกว่า มาตรการของภาครัฐ 11 มาตรการที่ออกมานั้น เป็นการช่วยทางด้านความเชื่อมั่นและลดผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่อยากเห็นคือการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยผ่านทางการเบิกจ่ายงบประมาณที่รวดเร็วขึ้น และการผลักดันให้เกิดโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เพื่อชดเชยการส่งออกที่จะชะลอตัวลงและภาคการบริโภค-การลงทุนของเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัว

นายไท ฮุย หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาวิกฤตของสหรัฐฯที่ได้มีการอนุมัติงประมาณออกมา 7 แสนล้านเหรียญแล้วนั้น ถือเป็นมาตรการที่จำเป็น แต่ไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ แต่จะเป็นการควบคุมหรือจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจะนำไปซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาอยู่ไม่ให้ราคาตกลงไปมากกว่านี้ เพื่อไม่ปัญหาลุกลามต่อไป แต่ในขั้นต่อไปก็จะต้องมีการเพิ่มและการแก้ไขหนี้เสียของธุรกิจสถาบันการเงินต่อไป

กสิกรฯประสานเสียงส่งออกหด

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารคกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาคงจะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยทำให้ชะลอตัวลงโดยในปีนี้น่าจะมีการขยายอยู่ที่ 15% แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกอัตราการขยายตัวจะมีค่อนข้างสูง แต่ในครึ่งปีหลังจะมีการชะลอตัวลง ส่วนการส่งออกในปีหน้านั้นหากดูจากบทวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็คาดว่าจะมีการขยายตัวเป็นตัวเลขเพียงหลักเดียว

ส่วนอัตราดอกเบี้ยของไทยต่อจากนี้ก็มองว่าไม่น่าจะสูงกว่านี้ โดยส่วนตัวมองว่าน่าจะทรงตัวมากกว่าจะปรับลด เพราะขณะนี้อัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงมาแล้ว และการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนส่วนหนึ่งก็เพราะว่าต้องรอดูทิศทางของตลาดในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการปรับพิจารณาเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องดูถึงอุปสงค์อุปทานของเงินทุน อัตราเงินเฟ้อซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มลดลงมาแล้ว รวมถึงดูปัจจัยภายนอก โดยดอกเบี้ยในต่างประเทศก็ค่อนข้างที่มีแนวโน้มจะลดลงและทิศทางนโยบายทางเศรษฐกิจว่าจะเป็นอย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us