Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 ตุลาคม 2551
แบงก์ชาติส่งซิกลดดอกเบี้ย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




คณะกรรมการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐจแถลง "ควบคุมได้-ไม่พบผลกระทบเพิ่ม" ขณะที่นโยบายแบงก์ชาติได้เวลาปรับรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งสัญญาณดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงหลังราคาน้ำมันลดหมดแรงกดดันเงินเฟ้อ "อัจนา" เผยเตรียมผ่อนปรนนโยบายการเงิน หันไปให้น้ำหนักความเสี่ยงด้านการขยายเศรษฐกิจ ปลัดคลังสั่งสรรพากรเร่งสรุปเพิ่มวงเงินลดหย่อน RMF-LTF

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามประสานงานแก้ไขเศรษฐกิจในภาวะฉุกเฉิน เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกัน 5 หน่วยงานว่า การเฝ้าติดตามสถานการณ์วิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีผลเสียหายเกิดขึ้นต่อสถาบันการเงิน ตลาดทุนและธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

โดยที่ประชุมได้นำข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นว่ามีประโยชน์เข้ามาพิจารณาประกอบด้วยเพื่อให้การทำงานร่วมกันสามารถเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้โดยเร็ว เช่น ในส่วนของตลาดทุนได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยจัดงานตลาดนัดกองทุนรวมขึ้นเพื่อให้มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มและร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อตั้งกองทุนร่วมลงทุนในช่วงที่ดัชนีหุ้นปรับลดลงมาก

ธปท.ส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาลง

นางอัจจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จะการติดตามประเมินผลกระทบต่างจากปัญหาสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐ ยังไม่ได้ผลกระทบกับสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินประเทศไทย เนื่องจากยังมีอยู่มาก เงินทุนไหลเข้าออกยังอยู่ในภาวะปกติสอดคล้องกับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ธปท. จะดูแลนโยบายด้านการเงินอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาวะในปัจจุบันที่ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ความเสี่ยงของการขยายตัวเศรษฐกิจมีสูงขึ้น เป็นผลจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจของโลก

"ธปท.ต้องมองภาวะเศรษฐกิจการเงินโลกที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต ผ่านภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และเงินทุนที่จะไหลเข้าออก ก็จะนำมาประเมินทั้งหมด โดยต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างการความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ" นางอัจนากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ทิศทางนโยบายการเงินมีความชัดเจนว่าจะปรับตามตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป แต่ปัญหาที่ยังไม่มีทางออกก็คือคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินนโยบายยังไม่มีการแต่งตั้งหลังหมดวาระลง (ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่) เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม เนื่องจากยังไม่มีบอร์ด ธปท.ที่จะมาตั้ง กนง. โดยนายพรชัย นุชสุวรรณ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและจำเลยคดีหวยบนดิน ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งให้เป็นประธานบอร์ดฯ ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า

เร่งเพิ่มวงเงินลดหย่อน RMF-LTF

นายศุภรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการได้ติดตามมาตรการที่จะดำเนินการ เพื่อดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังได้ให้กรมสรรพากรไปดูเรื่องการขยายวงเงินซื้อกองทุนระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เพื่อนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น โดยหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบทันที นอกจากนี้ ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำเอกสารเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่างๆ

นายประเวช องอาจสิทธิชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้ติดตามเชิงรุกของฐานะกองทุนต่างๆ ของไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งพบว่ามีผลกระทบที่ได้รับน้อยและยังมีฐานะที่มั่นคง

นางนงราม วงษ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) กล่าวว่า จากการติดตามซื้อขายหุ้นของกองทุนต่างประเทศพบว่า กองทุนที่ลงทุนระยะยาวยังมีการลงทุนปกติไม่ได้ขายหุ้นทิ้ง ส่วนกองทุนที่ขายหุ้นเป็นกองทุนระยะสั้น นอกจากนี้ การดำเนินการตั้งกองทุนร่วมลงทุนขณะนี้ได้วงเงินประมาณ 2 พันล้านบาท ที่พร้อมจะดำเนินการ

พอใจสหรัฐเคาะ 7 แสนล้านดอลล์

นายสมชัย สัจจพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้สศค.ใช้สถาบันเฉพาะกิจดูแลสภาพคล่องโดยการที่วุฒิสภาของสหรัฐ อนุมัติแผนแก้ปัญหาการเงินโดยอัดฉีดสภาพคล่องจำนวน 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจไทย ฟื้นความเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่ง ผลกระทบเศรษฐกิจโลกและต่อเศรษฐกิจไทยก็น้อยลง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพราะปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นจะยืดเยื้อลุกลามต่อไป ซึ่งไทยก็มีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพราะทันทีที่เกิดวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐ รัฐบาลก็มีการตั้งคณะทำงานติดตามเศรษฐกิจในภาวะฉุกเฉินขึ้นทันที เพื่อดูแลสถานการณ์

การเสนอแผนกลับไปที่สมาชิกสภาผู้แทนสหรัฐพิจารณา คงไม่มีปัญหา เพราะสภาผู้แทนมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากการที่สมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไปแล้ว ซึ่งมีการปรับปรุงแผนให้เหมาะสมมากขึ้น ทั้งการขยายวงเงินค้ำประกันเงินฝากจาก 1 แสนเป็น 2.5 แสนเหรียญสหรัฐ มีมาตรการทางภาษีต่างๆ 2 ปี และเปลี่ยนการบันทึกบัญชีหลักประกันตามมูลค่าตลาด เป็นการบันทึกบัญชีตามกระแสเงินสด ซึ่งทำให้ผลประกอบการของสถาบันการเงินในสหรัฐดีขึ้น

นายฌอง-ปิแอร์ เอ เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประเทศไทยธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กล่าวว่า คาดว่าอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปี 2552 จะขยายตัวได้ 4.5% หรือต่ำกว่า 5% เนื่องจากสถานการณ์การเงินในสหรัฐที่ส่งผลกระทบกับไทย ด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้สภาพคล่องในไทยลดลง เงินไหลเข้าน้อยลง ส่วนปัญหาการเมืองไทยไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us