|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ก.ล.ต. เกาะติดวิกฤติสถาบันการเงินสหรัฐฯ ใกล้ชิด หลังพบต่างชาติเตรียมทิ้งหุ้นไทยอีกรอบแน่นอนเพื่อนำเงินไปเสริมสภาพคล่อง แต่ยังเบาใจที่มีกองทุนในประเทศรอรับของถูกอยู่ พร้อมแก้ปัญหาสภาพคล่องหด หวั่นบริษัทจะทะเบียนระดมทุนยาก แก้หลักเกณฑ์เปิดทางออกหุ้นกู้-เพิ่มทุนได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แถมลดค่าธรรมเนียมให้ ระบุผลการตรวจสอบฐานะการเงินบล. –บลจ. ยังแข็งแกร่ง “ประเวช” ชี้พอร์ตบล.ทั้งระบบขนเงินไปลงทุนต่างประเทศแค่ 51.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ว่า สถานการณ์ในสหรัฐฯ ช่วงที่ผ่านมา มีธุรกิจในประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มากนัก ขณะที่ตลาดทุนได้รับผลทางอ้อมจากการขายหุ้นทิ้งของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการบริหารสภาพคล่องของตน ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากซึ่งเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค
ทั้งนี้ จากการที่ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านจากมีปัญหาทางการเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นที่กำลังพัฒนานักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนจำนวนมากนั้น ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกันเมื่อนักลงทุนต่างประเทศถูกบังคับขายหุ้นออกมาคืนผู้ถือหน่วยลงทุนทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงไม่มาก
“จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นต่างประเทศ เมื่อนักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นออกมา แต่เชื่อว่านักลงทุนสถาบันที่มีการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้ามาซื้อหุ้น”
สำหรับจากการติดตามและรวบรวมข้อมูลการลงทุนของไทยไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมและการลงทุนตรง ทั้งในหุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารอื่นของสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัญหา พบว่ามีปริมาณน้อยมาก การไถ่ถอนหน่วยลงทุนอยู่ในระดับปกติ และฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งในขณะนี้มีความแข็งแกร่ง ไม่มีประเด็นที่ต้องเป็นห่วง และการทำshort selling ในไทยนั้นมีน้อยมากเพียง 0.6% ของมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์รวมและก.ล.ต.มีเกณฑ์ในการดูแลเข้มงวดอยู่แล้ว
นายธีระชัย กล่าวว่า จากการที่นักลงทุนมีความวิตกกังวลว่าปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐฯ จะลุกลามต่อไปและจะขยายวงกว้างออกไปอีกแค่ไหนนั้น ซึ่ง ก.ล.ต. ไม่ได้วางใจยังคงให้ความสำคัญโดยได้ประสานงานกับบริษัทหลักทรัพย์ ( บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน( บลจ.) และติดตามสถานการณ์ตลาดในมุมมองของผู้ที่อยู่ในวงการทั้งในและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้ทราบความเคลื่อนไหวของทุกตลาดทั่วโลก รวมถึงความเสี่ยงของสถาบันการเงินชั้นนำทุกแห่งด้วย
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. จะร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลกระทบและแนวทางรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดยผลของวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดภาวการณ์ตึงตัวในตลาดการเงินของโลก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการหาแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจ โดยอาจทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น ก.ล.ต. จึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการระดมทุนเงินทุนเพื่อใช้ในการขยายการลงทุนผ่านตลาดทุนโดยชูมาตรการ “ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง” ทั้งการเสนอขายทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. จะมีลดเวลาในกระบวนการที่บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการที่จะเสนอขายหุ้นกู้แก่สถาบัน จะใช้เวลาในการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) เพียง 1 วัน จากเดิมที่ใช้เวลา 1 เดือน และลดค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้เหลือเพียง 50,000 บาท จากเดิมที่มีค่าใช้จ่าย 1 ล้านบาท ขณะที่เป็นบริษัทจำกัด จะมีค่าใช้จ่ายจำนวน 2 ล้านบาท
ทั้งนี้ ส่วนการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right warrant) สามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตและยื่น filing จากเดิมที่จะต้องใช้เวลา 4 เดือน ส่วนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญจะมีการแก้ไขเกณฑ์ปลีกย่อยที่เป็นภาระต่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ โดยคาดว่าเกณฑ์เรื่องการสนับสนุนให้บริษัทมีการระดมทุนได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง นั้นจะทยอยประกาศออกมาในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
“จากการที่ก.ล.ต.มีการลดขั้นตอนในการระดมทุนให้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และค่าใช้จ่ายถูกลง นั้นเพื่อสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีการระดมเงินทุนได้ทันที ซึ่งและจะช่วยผ่อนคลายภาระจากภาวะการเงินตึงตัวได้ และทำให้คนสบายใจ และแสดงให้เห็นว่าระบบตลาดทุนไทยมีความเข้มแข็ง และ ”นายชาลี กล่าว
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้มีการติดตามการลงทุนในต่างประเทศของบลจ.อย่างใกล้ชิดและฐานะทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 40 แห่ง และบลจ.21 แห่ง จำนวนกองทุน 927 กองทุน มูลค่า 2 ล้านล้านบาท พบว่ายังแข็งแกร่ง
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศของพอร์ตบล.ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ได้มีการนำเงินออกไปลงทุนเพียง 51.4 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่ก.ล.ต.อนุมัติให้แต่ละบล.สามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
|
|
 |
|
|