|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เงินเฟ้อ ก.ย.เพิ่ม 6% สูงขึ้นในอัตราที่ลดลง ส่วนผัก ผลไม้แพงจากน้ำท่วม ไม่กดดันเงินเฟ้อมากนัก เหตุยังได้รับอานิสงค์จาก 6 มาตรการ 6 เดือนรัฐบาล และราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง “ศิริพล”มั่นใจเงินเฟ้อทั้งปีไม่เกิน 6.5-6.9% แน่นอน หลังผ่าน 9 เดือนสูงขึ้น 6.5%
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนก.ย.เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นหลังจากที่เคยปรับตัวลดลงถึง 3% เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2550 สูงขึ้น 6% เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเช่นเดียวกัน และเมื่อเทียบเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงขึ้น 6.5%
ทั้งนี้ เงินเฟ้อก.ย.ที่สูงขึ้น 0.2% นั้น เป็นเพราะดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.7% จากการสูงขึ้นของผักและผลไม้ 7.4% เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชี กะหล่ำปลี มะนาว ส้มเขียวหวาน มะม่วง องุ่น และทุเรียน เป็นต้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และเป็นช่วงปลายฤดู ขณะที่ไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น 1.5% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 0.6% เช่น กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม อาหารสำเร็จรูป สูงขึ้น 0.2% โดยเฉพาะกับข้าวสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และแฮมเบอร์เกอร์ แต่อาหารประเภทข้าว เนื้อสุกร และสัตว์ปีก ราคาลดลง
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.8% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงลดลง และยังได้รับอานิสงค์ต่อเนื่องจาก 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง 4.2% ค่าโดยสารรถไฟ ลดลง 51.4% ค่าโดยสารรถประจำทางสูงขึ้น 7.2% เนื่องจากมีการยกเลิกการระงับขึ้นค่าโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตั้งแต่ 1 ก.ย. ขณะที่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน สูงขึ้น 1.2% ของใช้ส่วนบุคคล เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพู สูงขึ้น 0.4%
“เงินเฟ้อในเดือนส.ค. ลดลงมากถึง 3% เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง และยังได้รับอานิสงค์จาก 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล พอมาเดือนก.ย. น้ำมันตลาดโลกก็ยังชะลอตัว 6 มาตรการ 6 เดือนก็ยังมีผลช่วยดึงเงินเฟ้ออยู่ แต่สินค้าหมวดผักและผลไม้ปรับตัวสูงขึ้นมาก จากภาวะน้ำท่วม ผลผลิตน้อยลงจากปลายฤดู ทำให้เงินเฟ้อพลิกกลับมาปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2%”นายศิริพลกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อก.ย.เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2551 สูงขึ้น 6% นั้น ปัจจัยหลักยังคงเป็นการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิง 19.4% เพราะเมื่อเทียบราคาของปีก่อนซึ่งยังไม่ปรับตัวสูง โดยดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 15.7% เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 27.1% ผักและผลไม้ สูงขึ้น 25.8% เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้น 16.2% เนื้อสัตว์เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 13.4%
นายศิรพลกล่าวว่า เงินเฟ้อรวม 9 เดือนสูงขึ้น 6.5% สูงขึ้นในอัตราที่เริ่มชะลอตัวลง และมั่นใจว่าเงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 6.5-6.9% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 100-105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยจนถึงขณะนี้ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 96.01 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34.17 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมมติฐานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก
ทางด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนก.ย. ซึ่งหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน ซึ่งคิดเป็น 24% ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เทียบกับเดือนก.ย.2551 สูงขึ้น 2.6% และเทียบเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) กับช่วงเดีวกันของปีที่แล้ว สูงขึ้น 2.5%
|
|
|
|
|