|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กิฟฟารีน จ่อคิวปี 53 ดันรายได้บรรลุเป้า 5,000 ล้านบาท หลังผุดโรงงาน รับขยายตัวในและต่างประเทศ และรับจ้างผลิต ลั่นแผนปีหน้ารับมือวิกฤติเศรษฐกิจ หวั่นวิกฤตการเงินอเมริกากระทบความเชื่อมั่น ชูโมเดลการทำตลาดลดสินค้าราคาสูง-เน้นสินค้าสอดรับกำลังซื้อแทน สิ้นปีโต 10% กวาด 4.3 พันล้านบาท
แพทย์หญิงนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงกิฟฟารีน เปิดเผยว่า ในปีหน้าบริษัทฯจะชะลอการขยายศูนย์บริการ 2-3 แห่ง มูลค่าลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและปัญหาการเมือง รวมทั้งวิกฤติโลก
หลังจากบริษัทได้ทุ่มงบ 700 ล้านบาท สร้างโรงงานแห่งที่ 2 ที่ นวนคร โดยมีกำลังการผลิต 20 ล้านชิ้นต่อเดือน เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากโรงงานเดิมผลิต 5 ล้านชิ้นต่อเดือน รองรับยอดจำหน่าย 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และรองรับกำลังการผลิตได้ 9-10 ปี ทั้งนี้จากการสร้างโรงงานดังกล่าว จะผลักดันให้ยอดขายกิฟฟารีนบรรลุเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท ในปี 2553 หรือมีการเติบโต 15-20% อย่างต่อเนื่อง โดยมาจากการขยายธุรกิจภายในประเทศ ต่างประเทศ และการรับจ้างผลิต
การเปิดโรงงานครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนตอกย้ำด้วยการสร้างความเชื่อมั่นว่าสินค้าแบรนด์ไทย ไม่แพ้ใครในโลก ทั้งการทำตลาดภายในประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วน 95% ของรายได้ หรือการขยายตลาดต่างประเทศ ทั้งแบรนด์กิฟฟารีน และแพททรีนา ซึ่งกำลังเจรจากับดิสทริบิวเตอร์ 5-6 ประเทศ และยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่ได้เซ็นสัญญาดิสทริบิวเตอร์ แต่มีการนำสินค้าไปจำหน่าย อาทิ รัสเซีย และเซาท์แอฟริกา ฯลฯ จากปัจจุบันส่งออกไป 30 ประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา มีสัดส่วนรายได้ 5% และตั้งเป้าโต 200% ในแง่มูลค่า อีกทั้งการเปิดโรงงานใหม่ยังทำบริษัทรับจ้างผลิตสินค้าให้แบรนด์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น
“จากวิกฤตการณ์ทางการเงินอเมริกาคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขายตรงของบริษัท แต่อาจกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค ความมั่นใจลดลง ทำให้มีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย โดยผลประโยชน์โดยอ้อม อาจทำให้ผู้ที่ต้องการหารายได้เสริมเข้าสู่ระบบธุรกิจขายตรงมากขึ้น ขณะนี้เริ่มมีผู้ที่สนใจเป็นนักธุรกิจขายตรงจากเอสเอ็มอีมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้บริษัทกังวลยังคงเป็นสถานการณ์การเมืองที่ไม่นิ่งมากกว่าปัจจัยลบด้านอื่นๆ”
แพทย์หญิงนลินี กล่าวถึงแผนการตลาดในปีหน้าเพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยบริษัทจะโฟกัสนักธุรกิจ ผู้ประกอบการอิสระให้มากขึ้น พิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งปัจจัยลบและบวก เพื่อปรับเปลี่ยนการทำตลาดได้อย่างรวดเร็วรองรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอด เช่น กรณีผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้สอย มุ่งเน้นการเปิดตัวสินค้าที่สอดคล้องกับกำลังซื้อ ลดสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง และลดต้นทุนการผลิตด้วยการปรับแพกเกจจิง แต่ยังคงคุณภาพสินค้าไว้ โดยในปีหน้านี้บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโต 10%
สำหรับผลประกอบการในช่วง 8 เดือน มีอัตราการเติบโต 10.55% อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสสุดท้าย บริษัทได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ 2 คือ จุ๋ย-วรัทยา นิลคูหา และอั้ม-อธิชาติ ชุมนานนท์ ซึ่งบริษัทไม่ได้คาดว่าในแง่ของยอดขายในช่วงปลายปีนี้มากนัก เนื่องจากกำลังการซื้อของผู้บริโภคหดตัว ทั้งนี้ในสิ้นปีนี้ผลประกอบการของบริษัทตั้งเป้าหมายมีอัตราการเติบโต 10% หรือราว 4,300 ล้านบาท ส่วนยอดสมาชิกพุ่งขึ้นมากกว่า 4.5 ล้านรหัส เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 3,900 ล้านบาท เติบโต 18%
|
|
 |
|
|