Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
วนา พูลผล New CEO             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล วนา พูลผล

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
บีโอเอ, บลจ.
ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร
กองทุนรวมเอบีเอ็น แอมโร ทรัพย์มั่นคง ตราสารหนี้ - ABNSS
กองทุนรวมเอบีเอ็น แอมโร มิลเลนเนียม แอดวานเทจ - ABNMA
กองทุนรวมเอบีเอ็น แอมโร มิลเลนเนียม โกรว์ธ - ABNMG
อดิศร เสริมชัยวงศ์
วนา พูลผล
Funds




สำหรับแวดวงธุรกิจกองทุนรวมแล้วไม่มีใครไม่รู้จัก วนา พูลผล ผู้บริหารกองทุนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง อย่างมาก ปัจจุบันเขากำลังพิสูจน์ฝีมือตนเอง ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตการทำงานกับ บลจ.บีโอเอ

"พวกเราจะเป็นกองทุนรวมที่ดีที่สุดในโลก" เป็นคำพูดของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บีโอเอ วนา พูลผล ที่ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" เพียงไม่กี่เดือนหลังจากตัดสินใจเข้ามารับภารกิจครั้งสำคัญในชีวิตสำหรับเส้นทาง การทำงาน

คำพูดดังกล่าวเป็นความใฝ่ฝันของผู้บริหารทุกคน และวนาก็ไม่แตกต่างไปจากผู้บริหารมืออาชีพรุ่นใหม่ไฟแรงหลายๆ คนที่แสวงหาความสำเร็จในเส้นทางของตนเอง และในขณะที่เขาให้สัมภาษณ์เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่ง

ทันทีที่วนาเข้ารับตำแหน่งใหม่ได้จัดประชุมพนักงานทุกคนเพื่อระดมความคิด สร้างวิสัยทัศน์พร้อมกับเชิญผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาให้คำแนะนำ

"ผมถามทุกคนว่าใน 3-5 ปีข้างหน้า ต้องการให้บริษัทเป็นอย่างไร" เขาเล่า

การสร้างความคุ้นเคยและร่วมมือกันกำหนดทิศทางการดำเนินงานภายใต้ผู้นำคนใหม่วัย 38 ปี ต้องใช้เวลาถึง 2 วัน และผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นข้อความสั้นๆ ที่อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ "มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า"

คำถามก็คือ บลจ.บีโอเอจะดำเนินการอย่างไรให้บรรลุความสำเร็จ เพราะหากพิจารณากันแล้วพบว่าบรรดากองทุนรวมที่เปิดให้บริการในปัจจุบันไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะกลยุทธ์การสร้างผลตอบแทนในระดับน่าพอใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน

"อันดับแรกจะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่ต้องการลงทุนในกองทุนของพวกเรา หมายถึงสามารถซื้อหน่วยลงทุนผ่านสาขาธนาคารเอเชีย และพันธมิตรของบริษัท" วนาบอก

นอกจากนี้เขายังพยายามสร้างการลงทุนผ่านกองทุนรวมให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ให้เป็นเรื่องปกติเหมือนกับการฝากเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นการดึงดูดลูกค้าด้วยการนำเสนอสิทธิพิเศษ จึงถูกจัดให้เป็นกิจกรรมที่สำคัญ

นอกเหนือไปจากผู้ถือหน่วยลงทุนไว้วางใจ บลจ.บีโอเอ พร้อมกับตัวเลขผลตอบแทนในระดับน่าพอใจ แต่พวกเขาต้องการให้ลูกค้าได้มากกว่านี้ สิทธิพิเศษทั้งส่วนลดร้านอาหาร โรงแรม กิจกรรมรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ในที่สุดแล้ว พวกเขาคิดไม่ถึงว่าจะได้รับความพิเศษแตกต่างไปจากกองทุนรวมอื่นๆ" วนาชี้ "พวกเราไม่ได้ให้แค่ผลตอบแทน ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่บริษัทคาดหวังเอาไว้ในปัจจุบัน"

นอกเหนือไปจากบริษัทได้นำรูปแบบ และกลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาใช้สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าแล้ว การสร้างผลตอบแทนและการนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยสำหรับควบคุมความเสี่ยงเป็นอีกภารกิจสำคัญ

เนื่องเพราะปัจจุบันการแข่งขันอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศเปิดกว้างอย่างมาก และส่วนใหญ่เน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไว้วางใจ เช่นเดียวกับ บลจ.บีโอเอที่เริ่มจัดการกับเรื่องดังกล่าว

ทุกวันนี้บริษัทเพิ่มระบบของการคัดเลือกการลงทุนเข้มงวดมากยิ่งขึ้น คือ การควบคุมความเสี่ยง ด้วยการสนับสนุนจาก บลจ.เอบีเอ็น แอมโร ธุรกิจในเครือ ของธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ผู้ถือหุ้นใหญ่บลจ.บีโอเอ ผ่านธนาคารเอเชีย

ภายใต้ความเสี่ยงดังกล่าวบริษัทพยายามแสวงหาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีภายใต้ความเสี่ยงที่ผู้ถือหน่วยลงทุนยอมรับได้ ดังนั้นจากนี้ไปผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบธรรมดา (Plain Vanilla) ลดความสำคัญลงจากการ ลงทุนที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

จากการปรับปรุงการดำเนินงานภายใต้การควบคุมความเสี่ยง ส่งผลให้กองทุนรวมเอบีเอ็น แอมโร ทรัพย์มั่นคง ตราสารหนี้ (ABNSS) สร้างผลตอบแทนในระดับน่าพอใจ เช่นเดียวกับกองทุนรวมเอบีเอ็น แอมโร มิลเลนเนียม แอดวานเทจ (ABNMA) และเอบีเอ็น แอมโร มิลเลนเนียม โกรว์ธ (ABNMG)

"จุดเด่นของพวกเราอยู่ที่การได้เป็นบริษัทในเครือของเอบีเอ็น แอมโร ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนอง ลูกค้าได้ดีเป็นอย่างมาก" วนากล่าว

หากพิจารณาถึงแนวทางการบริหารกองทุนแล้วพบว่า บลจ.บีโอเอ ค่อนข้างอนุรักษนิยม (Conservative) พอสมควร สังเกตจากเน้นกองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Funds) มากกว่ากองทุนรวมตราสารทุน (Equity Funds)

เหตุผลเนื่องจากผู้ถือหน่วยลงทุนล้วนแล้วแต่เป็นลูกค้าผู้ฝากเงินกับธนาคาร เอเชีย ดังนั้นจึงรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ แม้ว่าที่ผ่านมากองทุน ABNMG ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งสามารถสร้างผลตอบแทนในตัวเลขสองหลักก็ตาม

"สิ่งที่มาอันดับแรกไม่ใช่ผลตอบแทน แต่เป็นความปลอดภัยของเงินลูกค้า" วนาเล่า "ตัวเลขผลตอบแทนอาจจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งตลอดเวลา แต่ดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด และเมื่อเห็นความเสี่ยงจงถอยห่างออกไป เพราะพวกเราไม่ต้องการเห็นความเสียหายเกิดขึ้นเหมือนอดีตที่ผ่านมา"

จากลักษณะอนุรักษนิยม มีคำถามตามมาว่า ความท้าทายสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่มีมากน้อยเพียงใด "ชนะใจ ลูกค้าและเน้นการตลาดมากขึ้นและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ทำให้พวกเขาไว้วางใจให้ได้"

จากวันแรกที่เข้ามารับผิดชอบในบลจ.บีโอเอ ดูเหมือนว่าเส้นทางของวนาเริ่มต้นได้สวยงามและประทับใจพอสมควร แม้ว่าเขาไม่ต้องการเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมกองทุนรวม แต่ต้องการให้ลูกค้ามีความพอใจและอยู่กับบริษัทตลอดไป

นอกจากนี้หากพิจารณาในแง่การเติบโต บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากก่อนหน้าที่วนาจะเข้ามารับตำแหน่งส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ระดับ 6% แต่ปัจจุบันขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6.31% ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจ

อีกทั้งสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 ล้านบาท หรือมากกว่า 25% จากปลายปีที่ผ่านมา 28,000 ล้านบาท เป็น 35,000 ล้านบาท "เป้าหมายของพวกเราในปีนี้คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 260% และเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเป็นสองเท่าภายใน 2 ปีข้างหน้า

จากความมุ่งมั่นของวนาสามารถลดแรงกดดันให้กับตัวเองและผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้อย่างมาก เนื่องเพราะตลอดระยะเวลา เกือบ 5 ปีที่ผ่านมา บลจ.บีโอเอ เปลี่ยนตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาแล้ว 2 คน

ปลายปี 2542 นิคิล ศรีวาสัน เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวหลังจากปีก่อนหน้าทำงานให้กับธนาคารเอเชีย ในฐานะหัวหน้า กลุ่มงานวางแผนด้านกลยุทธ์ ดูแลการกำหนดกลยุทธ์รุกธุรกิจในกลุ่มธนาคารพาณิชย์

ภารกิจสำคัญในครั้งนั้นของเขา ก็คือการปรับองค์กรใหม่ แต่บริหารงานได้ไม่กี่เดือนก็ลาออก โดยมีอดิศร เสริมชัยวงศ์ เข้ามารับหน้าที่แทนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2543 และครั้งแรกที่ "ผู้จัดการ" สัมภาษณ์ เขาบอกถึงความตั้งใจว่า "เราต้องการเป็น Asset Management ที่ดีที่สุด"

อย่างไรก็ตาม อดิศรตัดสินใจลาออกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และบลจ.บีโอเอได้วนาเข้ามาบริหารงานต่อภายใต้บรรยากาศ ตลาดทุนไทยกำลังฟื้นตัว ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่เขาจะพิสูจน์ตัวเองจากความเชื่อมั่น นับตั้งแต่ตัดสินใจรับหน้าที่สำคัญนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us