Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551
The Last page…ความร่วมมือท่ามกลางการแข่งขัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

Commercial and business
International
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์




"การแข่งขันท่ามกลางความร่วมมือกับความร่วมมือท่ามกลางการแข่งขัน"

วลีข้างต้นเป็นข้อเสนอที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียนกับสหภาพยุโรปที่จัดขึ้นเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผู้หนึ่งเสนอเข้ามาในที่ประชุม

การสัมมนาครั้งนี้เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นกับตัวแทนผู้ประกอบการแขนงต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบ ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ หากมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีดังกล่าวขึ้น โดยมีกรมเจรจาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเจ้าภาพ

เป็นการสัมมนาที่จัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ภายหลังการล้มละลายลงของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ธนาคารเพื่อการลงทุนอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังเป็นที่หวั่นวิตกว่าจะลามออกไปกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก

ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักธุรกิจไทย เพราะเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะได้ข้อสรุป

วลีที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาผู้นี้เสนอเข้ามาเป็นเรื่องที่น่าคิด

เพราะขณะที่ภาครัฐของไทย โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์พยายามมองการณ์ไกล ถึงการขยายการค้าการลงทุนของไทยไปถึงสหภาพยุโรป

แต่น้ำหนักการพูดคุยถึงเรื่องความร่วมมือทางการค้า การลงทุนของไทย กับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน กลับไม่มีการพูดถึงในการสัมมนาครั้งนี้มากนัก

วิทยากรที่เข้าร่วมบรรยายในการสัมมนาครั้งนี้ผู้หนึ่ง บอกว่าเขาให้ความสำคัญกับเวทีนี้เพราะเป็นเรื่องที่พูดกันเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งมีโอกาสต่อยอดออกไปถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน หรืออินเดียในอนาคตซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนควรต้องตระหนัก

เป็นความจริงที่ว่าแม้ความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนช่วงที่ผ่านมา มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ แต่เนื่องจากความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ทำให้ท่ามกลางความร่วมมือดังกล่าวก็มีลักษณะของการแข่งขันกันอยู่ในที

ไม่ต้องไปมองกว้างไปถึงอาเซียน แค่เฉพาะประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ใกล้บ้านของไทยเราเอง ลักษณะความร่วมมือและการแข่งขันก็ค่อนข้างซับซ้อน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีทางรถไฟระหว่างประเทศ ที่วิ่งจากจังหวัดหนองคาย ไปยังท่านาแล้งของลาวที่เพิ่งเปิดใช้งานได้ไม่นานมานี้

เชื่อว่าหลายคนในประเทศไทย มองเส้นทางรถไฟเส้นนี้ว่าเป็นเพียงเส้นทางสัญจรท้องถิ่น ไม่เห็นความสำคัญมากนัก

หากมองให้ดีๆ ทางรถไฟเส้นนี้ หากเชื่อมต่อไปทางเหนือจะผ่านเวียงจันทน์ขึ้นไปถึงแขวงหลวงน้ำทา เชื่อมกับเส้นทางรถไฟทางตอนใต้ของจีนที่ขึ้นไปถึงนครคุนหมิง มลฑลหยุนหนัน

หากเชื่อมต่อไปทางตะวันออกขนานกับเส้นทางหมายเลข 8 จะทะลุไปถึงเวียดนาม ต่อลงไปออกทะเลได้ที่ท่าเรือดานัง

การมองอะไรในมุมที่แคบไป บางครั้งก็เสียเปรียบ ขณะเดียวกัน การมองอะไรที่กว้างหรือไกลเกินไป บางครั้งก็ไม่ได้ประโยชน์

เพราะในขณะที่เรากำลังพูดกันอยู่ถึงเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียนกับสหภาพยุโรปนั้น

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีการประชุมกันระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของจีน และกลุ่มประเทศอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ได้มีการพูดถึงการลงทุนในโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเชื่อมประเทศสิงคโปร์กับนครคุนหมิง ระยะทางประมาณ 5,000 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อทางรถไฟเส้นนี้สร้างเสร็จ (ตามข่าวว่ายังเหลือเส้นทางอีกประมาณ 550 กิโลเมตรในลาว) จะเชื่อมการเดินทางระหว่างจีนตอนใต้กับเวียดนาม พม่า ลาว ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์

ทั้งๆ ที่ไทยเราน่าจะเกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ใจกลางพื้นที่ก่อสร้าง มีเส้นทางรถไฟพาดผ่านเป็นระยะทางแทบจะยาวที่สุด

แต่กลับไม่ค่อยได้ยินใครที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้มากนัก

เป็นเรื่องที่น่าคิด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us