Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551
Let's Talk Urban...การจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในลุ่มน้ำโขง             
โดย Jerome Rene Hassler
 


   
search resources

Environment




ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหรือเรียกง่ายๆ ว่า ปัญหาโลกร้อน เป็นภัยคุกคามต่อสังคมมนุษย์ ที่สำคัญมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายทั่วโลกที่ยืนยันตรงกันว่า ระดับที่เพิ่มสูงขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากฝีมือมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นสาเหตุของปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมีทั้งระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และการเกิดสภาพอากาศที่รุนแรงต่างๆ การขาดแคลนอาหารและน้ำ รวมไปถึงทำให้คนหลายร้อยล้านคนต้องย้ายถิ่นที่อยู่ และการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์จำนวนมาก

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสสูงจะเผชิญกับภัยธรรมชาติต่างๆ ข้างต้น ภูมิภาคนี้มีประชากรหนาแน่นและเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติหลายอย่าง เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และความแห้งแล้ง อุทกภัยอาจเป็นภัยธรรมชาติที่สำคัญที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเกือบทุกประเทศในภูมิภาคนี้ต่างต้องประสบกับภาวะ น้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุน จากน้ำในแม่น้ำ ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนา แน่น คงยังไม่มีใครลืมยอดผู้เสียชีวิตถึง 150,000 คน และโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย อย่างหนักจากพายุไซโคลน Nargis ทำให้น้ำท่วมหนักในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีในพม่าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ดังได้กล่าวไปแล้ว ทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ยกเว้นเพียงลาวประเทศเดียว ต่างก็มีพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเหมือนๆ กัน แนวชายฝั่งของอนุภาคลุ่มน้ำโขงและพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้น มักจะสูงกว่าระดับ น้ำทะเลเพียงไม่ถึง 10 เมตร มักจะเป็นพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดจากน้ำทะเล หนุนสูงซึ่งเกิดจากการที่ภูมิภาค อากาศโลก เปลี่ยนแปลงการศึกษาตั้งแต่ปี 2006 พบว่า ระดับน้ำทะเลมีระดับคงที่มาเกือบตลอด 3,000 ปีจนกระทั่งถึงช่วงครึ่งหลังของคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ในช่วงระหว่างปี 1870 จนถึง ปี 2004 ระดับน้ำทะเลได้เพิ่มขึ้นถึง 19.5 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาจากการที่ทะเลกำลังขยายตัวและการละลายของแผ่นดินที่เป็นน้ำแข็งซึ่งเกิดขึ้นในวงกว้าง เราจึงอาจคาดได้ว่า ระดับน้ำทะเลในช่วงระหว่างปี 1990-2100 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 34 เซนติเมตร

ประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาค GMS ต้องเผชิญปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งปัญหาการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว จำนวน พายุไซโคลนที่เพิ่มขึ้น วารสารของ United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UNISDR) รายงานว่า มีพายุ 140 ลูกและอุทกภัยอีก 198 ครั้ง ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี 1991-2005 ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภูมิภาคนี้

ในกรณีของเวียดนาม ข้อมูลข้างต้นหมายความว่า เวียดนามต้องเผชิญกับพายุไซโคลนเขตร้อนเฉลี่ย 2.24 ครั้งต่อปี และทำให้มีผู้เสียชีวิต 435 คนต่อปี ในทางสถิติแล้ว ในช่วงเวลานี้ประชากรเวียดนามซึ่งมี 87 ล้านคนทุกคน ต่างเคยได้รับความเดือดร้อนจากพายุไซโคลนอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ตัวเลขนี้ชี้ว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการวางแผนยุทธศาสตร์ที่จะเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดปัญหาความยากจนในประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาค GMS

ดังนั้น ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สร้างผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม จึงส่งผลกระทบต่อเกือบทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ในอนุภูมิภาค GMS ซึ่งหมาย ความว่า ประเทศใน GMS จำเป็นต้องมีการ จัดการความเสี่ยงการเกิดภัยธรรมชาติในระยะยาวอย่างระมัดระวัง ผู้มีอำนาจตัดสินใจและผู้วางผังเมืองจะต้องสามารถระบุความเสี่ยงระยะยาวและวางผังเมืองด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถจะหลีกเลี่ยงหรืออย่างน้อย สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆ ได้ นำไปสู่คำถามที่ว่า แล้วรัฐบาลและส่วนราชการท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาค GMS ได้เตรียมพร้อมแล้ว หรือยังที่จะจัด การความเสี่ยงดังกล่าว

บทความชิ้นสุดท้ายในนิตยสารนี้ระบุว่าการขาดการวางแผนเชิงพื้นที่ (spatial planning) แผนยุทธศาสตร์การวางผังเมือง (strategic urban planning) ถือเป็นจุดอ่อน สำคัญของระบบราชการส่วนท้องถิ่นของไทย รวมทั้งเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในเขตชนบทของไทยด้วย ยกเว้นจีนแล้ว ปัญหาดังกล่าวยิ่งพบได้ มากกว่าในประเทศอื่นๆ ใน GMS

โครงการใหม่ของธนาคารโลกอาจจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการช่วยสนับสนุนข้อมูลให้แก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และผู้วางผังเมืองของประเทศต่างๆ ใน GMS เพื่อปรับปรุงการเตรียมความพร้อมให้ดีขึ้นในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่เกิดจากปัญหา ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโมเดลทางสถิติและแผนที่ทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการ เกิดภัยธรรมชาติในอนาคตได้

โมเดลเชิงสถิติดังกล่าวจะกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยงภัยธรรมชาติ 2 ประการ คือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัตินั้น ทั้งจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โครงสร้าง ทางกายภาพที่อาจถูกทำลายและความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ได้เข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการดังกล่าวของธนาคารโลก ซึ่งรวมถึงมหานครอย่างกรุงเทพฯ และโฮจิมินห์ซิตี้ของเวียดนาม โมเดลเชิงสถิติและแผนที่ทำนายพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติของโครงการนี้ จะให้ข้อมูลที่ครอบคลุมรอบด้านในการวาง แผนการใช้ที่ดินและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วย

เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมในโครงการดังกล่าวของธนาคารโลกมีความก้าวหน้าแตก ต่างกัน และโชคไม่ดีที่ความยากลำบากทาง เทคนิคต่างๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ทำให้เมืองนำร่องทั้งสี่ต่างคืบหน้าไปล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้อย่างมาก ในกรณีของกรุงเทพฯ ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ได้นำข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสภาพธรรมชาติของกรุงเทพฯ มาร่วมพิจารณาด้วย เช่น สาเหตุที่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงมักเกิดจากฝนที่ตก ในภาคเหนือของประเทศ จึงต้องเพิ่มข้อมูล ลงในโมเดลเชิงสถิติที่ซับซ้อนดังกล่าวด้วย แม้ว่าปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นไม่อาจแก้ไข ได้โดยง่าย แต่อาจใช้เวลาเพิ่มอีกประมาณ 9 เดือน รายงานฉบับสุดท้ายก็คงจะเสร็จสมบูรณ์และสามารถเปิดเผยเนื้อหาทั้งหมด ต่อสาธารณชนได้

ช่วงที่สหประชาชาติจะจัดการประชุม ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า UN Conference of the Parties to Climate Change ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2009 ที่เมือง Potsdam ของเยอรมนี ผลงานแรกของโครงการดังกล่าวคงจะสามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้ ประโยชน์มหาศาลของโมเดล และแผนที่อันเป็นผลงานของโครงการดังกล่าวคือ จะทำให้การวางแผนการใช้ที่ดินและการตัดสินใจลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในอนาคต มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีขึ้น เพราะโครงการนี้และโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนจะเป็นข้อมูลช่วยให้นักการเมืองและนักวางผังเมืองสามารถวางผังเมืองและกำหนดการใช้พื้นที่ที่จะช่วยให้พลเมืองของประเทศใน GMS ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากภัยธรรมชาติในอนาคต

เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น รัฐบาลมักพบว่าเกินกำลังจะรับมือ เนื่องจากมีพื้นที่ประสบภัยและประชากรที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติเป็นจำนวนมหาศาล แต่บทเรียนที่สำคัญมากที่สุดบทหนึ่งที่ได้รับมาจากการจัดการความเสี่ยงของภัยธรรมชาติในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาคือ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือภัยธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ในทุกๆ ที่ที่เป็นไปได้ โครงการของธนาคารโลกอาจเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความเสี่ยง หากนำไปใช้อย่างเหมาะสม เครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศและประชากรทั้งมวลที่อยู่ในอนุภูมิภาค GMS   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us