Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551
รกรากชาวบางลำพู             
โดย วิมล อังสุนันทวิวัฒน์
 


   
search resources

Social




"ชุมชนบางลำพู" ตั้งรกรากมานานกว่า 200 ปีแล้ว ชาวบางลำพูประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่อยู่บริเวณเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วัดชนะสงครามไปถึงวัดสังเวชวิศยาราม จรดวัดสามพระยา (ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม) บริเวณเก่าแก่สุดได้แก่ ชุมชนรอบวัดชนะสงคราม รองมาเป็นชุมชนรอบวัดสังเวชฯ ชุมชนที่มาตั้งรกรากใหม่สุดคือ รอบวัดสามพระยา มีคนหลายกลุ่มมาอยู่ร่วมกัน ทั้งแขก มอญ จีน ไทย และลาว ชุมชนบางลำพูเป็นกลุ่มคนที่มีพัฒนาการมาจากหมู่บ้านชาวสวนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างๆ กันมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา เพราะเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมขัง ในอดีตมีต้นลำพูขึ้นหนาแน่น ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ต้นพอให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ตรงริมแม่น้ำใกล้ๆ สวนสันติชัยปราการ และไม่ปรากฏมีน้ำท่วมมากๆ มานานแล้ว

บริเวณตั้งแต่วัดชนะสงครามถึงกำแพงพระนครด้านคลองบางลำพู เป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชการและขุนนางฝ่ายวังหน้ามาตั้งแต่แรก เป็นถิ่นฐานพวกแขกที่ถูกกวาด ต้อนมาจากการศึกสงคราม มีตลาดเล็กๆ อยู่กลางย่าน เรียกว่า "ตลาดยอด" หรือ "ตลาดบางลำพู" ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการกวาดต้อนผู้คนจากสงครามมาอยู่เพิ่มจนหนาแน่น มีการสร้างวัดรังสีสุทธาวาสและวัดบวรนิเวศ (ภายหลังรวมกัน) สมัยรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนหลายสาย เช่น ถนนพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ เป็นต้น ชุมชนบางลำพูจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญต่อมา

ตลาดบางลำพูมีขายของตั้งแต่ของสด ของแห้ง ผลไม้ ขนมไทย ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องหอม ของไทยๆ ทองรูปพรรณ เครื่องถ้วยชาม ขันเงินตอกลาย เครื่องหนัง เสื้อผ้าอาภรณ์ อาหารไทย อาหารมุสลิม

บริเวณเชิงสะพานนรรัตน์ มีตลาดผลไม้อีกแห่ง พอหน้าทุเรียนจะมีทุเรียนจากสวนนนทบุรีมาขายมาก จึงเรียกว่า "ตลาดทุเรียน" มีวิกลิเก โต๊ะปิงปอง และโรงหนัง ต่อมากลายเป็น "ตลาดนรรัตน์" ซึ่งเลิกขายทุเรียนและวิกลิเกไปแล้ว เหลือแต่ร้านเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชุดนักเรียน นาฬิกา และอื่นๆ ต่อมามีห้างนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาขาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us