Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551
ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 1)             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

   
related stories

ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 2)

   
www resources

โฮมเพจ เลห์แมน บราเดอร์ส (เลแมน บราเดอร์ส)

   
search resources

เลแมน บราเดอร์ส
Financing




วันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2008 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ คือ การล่มสลายของสถาบันการเงินสัญชาติอเมริกัน Lehman Brothers วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ อันเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีเศรษฐกิจโลกมาช้านาน เหลืออีกเพียง 2 ปี Lehman Brothers จะมีอายุครบ 160 ปี แต่วันนั้นยังมาไม่ถึง ผู้บริหารของบริษัทประกาศล้มละลาย ท่ามกลางความตื่นตระหนกของคนในวงการการเงินและตลาดหุ้นทั่วโลก

รากธุรกิจของ Lehman หยั่งลึกในผืนดินของ อเมริกัน เมื่อ 164 ก่อน (ปี 1844) เริ่มจากการค้า ขายฝ้าย ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของโลกในขณะนั้น โดยพื้นที่ทางตอนใต้ของอเมริกาเป็นแหล่ง เพาะปลูกฝ้ายรายใหญ่ ซึ่ง Henry Lehman ชายหนุ่มวัย 23 ปี มองเห็นช่องทางธุรกิจจึงบุกเบิกเดินทางไกลจากบ้านเกิดที่บาวาเรีย (ประเทศเยอรมนี) มาตั้งรกรากที่เมือง Montgomery ในรัฐ Alabama เปิดร้าน "dry goods" จำหน่ายวัตถุดิบสำหรับทอผ้า รวมทั้งผ้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลัก ใช้ชื่อว่า "H. Lehman" จากนั้นอีก 3 ปี Emmanuel Lehman ผู้พี่ได้ตามน้องชายมายังดินแดนแห่งใหม่ ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนชื่อเป็น "H. Lehman and Bro." อีก 3 ปีต่อมา น้องเล็ก Mayer Lehman ตามพี่ชาย มาเป็นคนสุดท้าย สามพี่น้อง Lehman จึงได้อยู่ร่วม กันพร้อมหน้า ชื่อธุรกิจจึงเปลี่ยนเป็น "Lehman Brothers" ตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา และเริ่มรับฝ้าย แทนเงินที่ชาวไร่นำมาแลกเปลี่ยนสินค้า จนทำให้บริษัท "Lehman Brothers" กลายเป็นตัวแทนผู้ค้าฝ้ายรายใหญ่

จากนั้นไม่นาน Henry เสียชีวิตด้วยโรคไข้เหลือง ทิ้งให้ Emmauel และ Mayer สืบทอดธุรกิจ ต่อไป ในปี 1858 สองพี่น้อง Lehman ที่คงเหลือได้ขยายธุรกิจไปยังเมือง Manhattan แห่งมหานคร นิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ ของภูมิภาค แต่เพียงไม่กี่ปีกิจการของ Lehman Brothers ต้องสะดุดลง เนื่องจากเกิดเหตุสงครามกลางเมือง (ปี 1861-1865) ในปี ค.ศ.1862 Lehman Brothers ย้ายสำนักงานใหญ่จาก Alabama มายังนิวยอร์กและเริ่มขยายธุรกิจสู่การเป็นที่ปรึกษาทาง การเงิน หลังสงครามการเมืองสิ้นสุด เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เริ่มเปลี่ยนจากภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม มีการสร้างทางรถไฟไปทั่วทุกสารทิศ ช่วงนี้เองที่วาณิชธนกิจ Kuhn, Loeb & Co. มีบทบาทสำคัญในการระดมทุนให้แก่การทางรถไฟสหรัฐฯ ด้วยการจำหน่ายพันธบัตรการรถไฟ ซึ่งพันธบัตรนี้ถือว่าเป็นความก้าวหน้าอีกระดับของการ พัฒนาตลาดทุนของสหรัฐฯ ดึงดูดนักลงทุนรายย่อย รวมทั้ง Lehman Brothers ที่ต่อมาในปี 1883 ได้เข้าเป็นสมาชิกตลาดซื้อขายกาแฟและเข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ในปี 1887

ในที่สุด ปี 1889 Lehman Brothers ได้เป็น ผู้รับประกันการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ บริษัท The International Steam Pump ซึ่งถือว่าเป็นผลงานทางด้านวาณิชธนกิจชิ้นแรกของบริษัท หากแต่งานด้านวาณิชธนกิจมิได้เริ่มต้นจริงจัง จนกระทั่งในปี 1906 ภายใต้การบริหารงานของ Phillip Lehman บุตรชายของ Emanuel ที่ร่วมมือกับ Goldman, Sachs & Co. นำบริษัท General Cigar เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตามมาด้วย บริษัท Sear, Roebuck & Co. และในช่วงเวลากว่า 20 ปีนั้น มีบริษัทกว่า 100 บริษัทที่ Lehman รับประกันการระดมทุนให้

ต่อมาในปี 1925 Phillip เกษียณอายุ Robert Lehman บุตรชายผู้เข้ามารับช่วงกิจการต่อจากบิดา เขาถือเป็น Lehman รุ่นหลานที่เข้ามารับหน้าที่ ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายและความอยู่รอดของบริษัท เนื่องจากในปี 1929 สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The Great Depression) เป็นครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 Robert ได้สร้าง Lehman Brothers ให้เป็นบริษัทกองทุนรวมแบบจำกัด (closed-end investment company) โดยพยายามหาแหล่งทุนจาก Venture Capital หรือกลุ่มทุนส่วนบุคคล ระหว่างที่รอการฟื้นตัวของตลาด หลักทรัพย์ Lehman ในยุคของ Robert เริ่มดำเนินธุรกรรมให้กับกลุ่มธุรกิจบันเทิง ลูกค้ารายสำคัญได้แก่ DuMont สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลก บริษัท Radio Corporation of America (RCA) บริษัท ผลิตภาพยนตร์ Radio Keith Orpheum (RKO) บริษัท Paramount Pictures และบริษัท 20th Century Fox จากนั้นมีลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่ บริษัท Halliburton และบริษัท Kerr-McGee ในยุค'50s เป็นยุคอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ลูกค้ารายสำคัญของ Lehman ได้แก่ Digital Equipment Corporation ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในอเมริกา ซึ่งต่อมา Compaq เข้ามาเทกโอเวอร์โดย มี Lehman เป็นผู้จัดการดีลให้ Lehman Brothers อยู่ภายใต้การบริหารของคนในตระกูล Lehman นานเป็นเวลา 119 ปี (ตั้งแต่ ปี 1850-1969) ผ่านวิกฤติการณ์มาหลายครั้ง แต่ก็สามารถอยู่รอดมาได้ จนกระทั่งภายหลังการเสียชีวิตของ Robert ในปี 1969 บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของ Lehman Brothers นับตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปี 1973 ได้ Pete Peterson ผู้บริหารจาก Bowe Bell & Howell Corporation มาช่วยกู้วิกฤติ โดยในปี 1975 ได้นำ Lehman ควบกิจการกับ Kuhn, Loeb & Co. ทำให้ Lehman กลายเป็นวาณิชธนกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศแบบทุลักทุเล เนื่องจากปัญหาระหว่างผู้บริหารภายในองค์กร

ฉบับหน้ามาต่อกันด้วยเรื่องราวของ Lehman Brothers ในยุคของวาณิชธนากรมืออาชีพ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us