|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2551
|
|
ประสบการณ์ของคนเข้าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมง เพื่อรอตรวจรักษาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง เป็นเพราะว่าระบบการจัดการที่ใช้เวลายาวนานของแต่ละแผนก
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ องค์กรการเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นที่ปรึกษาประจำ โครงการร่วมมือภายใต้โครงการที่เรียกว่า Demonstration Project for Lean Application in Healthcare Industry หรือผนึกความร่วมมือพัฒนาคุณภาพเฮลท์แคร์ ไทย
มีเป้าหมายให้เป็นโครงการต้นแบบพัฒนาโรงพยาบาลภาคสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิด Lean พัฒนาบริหารศักยภาพองค์กรเริ่มต้นจากการพัฒนาคน แต่ไม่มีเป้าหมายหลักเพื่อลดต้นทุน
ระบบลีนเป็นระบบที่มีพื้นฐานแนวทางมาจากระบบการบริหารการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่นเพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการและสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิตต่อมาแนวคิดลีนได้แพร่หลายไปสู่กระบวนการงานด้านบริการ
คำว่า "ลีน" (Lean) แปลว่า ผอม หรือบาง แต่ลีนที่นำมาใช้มีความหมายในด้านบวก ถ้าเปรียบเป็นคนหมายถึงคนที่มีร่างกายสมส่วนปราศจากไขมันส่วนเกิน แข็งแรง กระฉับกระเฉง แต่ถ้าเปรียบกับองค์กรหมายถึงกระบวนการทำงานที่ปราศจากความสูญเสียในทุกๆ กระบวนการ มีความสามารถในการปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาดและความเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที
บางครั้งเรียกว่า "วิสาหกิจแบบลีน" แต่หากวัดด้วยเกณฑ์ คุณภาพแห่งชาติ เรียกว่า "วิสาหกิจที่กระชับ"
ระบบลีนเปรียบเสมือนเครื่องมือในการจัดการกระบวนการที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กร จึงเป็นเหตุผลที่สถาบันเพิ่มผลผลิตและพันธมิตรเลือกที่จะนำมาจัดการระบบโรงพยาบาล เพราะกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนและไม่มีระเบียบ ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน 60-70 เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการนำร่อง 5 ราย คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และโรงพยาบาลเสาไห้ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสระบุรี
โรงพยาบาล 5 แห่ง มีความแตกต่างกันทั้งขนาดองค์กรและความเป็นภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย 2 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง
โครงการมีระยะเวลาดำเนินงาน 18 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2551 ถึง 30 พฤศจิกายน 2552 และ 4 เดือนที่ผ่านมา ได้จัดการอบรมทีมงานของโรงพยาบาลและสถาบันเพิ่มผลผลิตได้เยี่ยมชมโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เพื่อติดตามผลงานอีกครั้งภายใน 3 เดือน หรือเดือนธันวาคมปลายปีนี้
ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเน้นการลดความสูญเสียของกระบวน การเริ่มจากการปรับปรุงในภาคส่วนต่าง อาทิ ลดกระบวนการซ้ำซ้อนด้านเอกสารของผู้ป่วย จำนวนคิวในการรอคอย การขนย้ายเอกสาร การเคลื่อนที่ของเจ้าหน้าที่ เครื่องมืออุปกรณ์และยา
พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ บอกว่าระบบลีนไม่ใช่เรื่องใหม่ของโรงพยาบาลไทยแต่ระบบดังกล่าวได้มีการทดลองใช้ในศูนย์แพทย์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลารอคอยน้อยลง 2-3 ชั่วโมงจากเดิมที่ต้องออกจากโรงพยาบาล 15.00-16.00 น. แต่ปัจจุบันสามารถออกจากโรงพยาบาลก่อน 14.00 น.
วิธีการทำงานของศูนย์แพทย์ได้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวไว้ที่คนไข้และตรวจสอบความเคลื่อนไหวของคนไข้จากระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถรู้ว่าคนไข้อยู่ ณ จุดใดของศูนย์บริการ และแผนกใดที่มีคนไข้รอจำนวนมากทำให้ตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขได้
สิ่งที่นายแพทย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้อำนวยการสถาบัน พัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กล่าวไว้น่าสนใจก็คือประเทศไทยเป็นประเทศที่เรียนรู้การสร้างคุณภาพมากที่สุดในโลก แต่การนำไปใช้ภาคปฏิบัติมีน้อยเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
|
|
|
|
|