|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2551
|
 |

การจัดงานมหกรรมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย 2551 หรือ Thailand Entertainment Expo 2008 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา อาจเป็นก้าวแรกของการเดินทางไกลที่ยังไม่รู้ว่าจะบรรลุเป้าหมายเมื่อใด
เพราะโดยเป้าหมายที่จะประกาศความยิ่งใหญ่ และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมบันเทิงไทยระดับภูมิภาค ภายใต้สโลแกน "งานบันเทิงทุกอย่างเกิดได้ที่เมืองไทย" มหกรรมบันเทิงครั้งนี้กลับกลายเป็นเพียงเทรดแฟร์ดาดๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไป
ความมุ่งหมายของกรมส่งเสริมการส่งออกที่ต้องการรวบรวมธุรกิจบันเทิงทุกสาขาไว้ที่เดียวกัน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ
โดยหวังว่ากลไกดังกล่าวจะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมถึงการยกระดับไปสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจ บันเทิงของภูมิภาคในอนาคตนั้น
ถึงที่สุดแล้ว Thailand Entertainment Expo ในครั้งนี้ยังอยู่ห่างไกลจากการเป็นมหกรรมตามมาตรฐานสากลอย่างไม่อาจเทียบ มิพักต้องกล่าวถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในวงการบันเทิงแต่ละรายที่ดูเหมือนจะให้ความสนใจอยู่อย่าง กระจุกตัวเท่านั้น
ในด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นครั้งแรก ที่แยกอุตสาหกรรมบันเทิงออกมาจัดเป็นมหกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างเป็นเอกเทศ
แต่ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวอาจบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบ การบางรายได้ก้าวพ้นการรอคอยให้หน่วยงานรัฐเข้ามาเป็น คนกลางในการจับคู่ทางธุรกิจไปแล้ว
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ธุรกิจบันเทิงไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุน
โดยในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจบันเทิงไทยมีมูลค่าการตลาด รวมประมาณ 140,000 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 160,000 ล้านบาทและมีแนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่องอีก
หากแต่ในความเป็นจริง อุตสาหกรรม บันเทิงของไทยไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะดำเนินการให้ก้าวหน้าไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ว่านี้ได้ แม้ว่าจะมีศักยภาพ และคุณภาพมากพอสมควรก็ตาม
เพราะมิติมุมมองของการส่งเสริมธุรกิจบันเทิงไทย ซึ่งได้รับการขับเน้นโดยหน่วยงานภาครัฐอยู่ที่การสนับสนุนให้ประเทศ ไทย เป็นแหล่งถ่ายทำและผลิตภาพยนตร์ ซึ่งไม่ต่างจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภท อื่นๆ ที่เคยย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงก่อนหน้านี้
สิ่งที่กลไกรัฐรวมถึงผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยควรตระหนักน่าจะอยู่ที่การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในเชิงเนื้อหา (content) ที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ควบคู่กับรูปแบบการนำเสนอที่เป็นสากลและมีมาตรฐาน ทางวิชาชีพ
ก่อนที่มหกรรมอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่อาจจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2-3 ในปีต่อๆ ไป จะต้องเปลี่ยนสโลแกนจาก "งานบันเทิงทุกอย่างเกิดได้ที่เมืองไทย" ไปสู่ "ที่เมืองไทย...ทุกอย่างเป็นเพียงงานบันเทิง" ซึ่งย่อมมีนัยความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ที่สำคัญ ย่อมหาประโยชน์และแก่นสารใดๆ ไม่ได้
|
|
 |
|
|