Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
หุ้นกลุ่มยานยนต์ตัวใหม่             
 

   
related stories

ต้นแบบของอุตสาหกรรม ที่มีจุดเริ่มต้นจาก SME

   
search resources

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บจก.
ยานภัณฑ์, บมจ.
อาปิโก้ โฮลดิ้ง
สัมพันธ์ พันธ์พาณิชย์
Auto Manufacturers




หากวัดจากจุดตั้งต้น ความเก่าแก่บริษัทยานภัณฑ์นั้น ไม่แตกต่างจากกลุ่มสยามกลการ หรือกลุ่มยนตรกิจ เพราะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโตขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของสงคราม โลกครั้งที่ 2

เพียงแต่ยานภัณฑ์เลือกที่จะเดินในเส้นทางของผู้ผลิตชิ้นส่วน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบรถยนต์ แทนที่จะเลือกเป็นตัวแทน จำหน่ายรถยนต์ และก่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์เป็นของตนเอง

"เราเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายแรกของไทย" สัมพันธ์ พันธ์พาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทยานภัณฑ์ กล่าว

ปัจจุบัน ยานภัณฑ์เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กว่า 1,500 รายการ เช่น ท่อไอเสีย หม้อเก็บเสียง ชิ้นส่วนแชสซี ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนตัวถัง ฯลฯ มีโรงงานอยู่ 2 แห่ง ในซอยสุขุมวิท 81 ย่านบางจาก เขตพระโขนง และบนถนนบางนา-ตราด ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ลูกค้ารายใหญ่ของยานภัณฑ์ คือโตโยต้า มอเตอร์ คิดเป็นสัดส่วน 39% รองลงไปได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ 19% อีซูซุ 11.5% ฮอนด้า 3% ฮีโน่และฟอร์ด รายละ 2% นิสสัน 1.5% และบริษัทรถยนต์อื่นๆ อีกรวม 3%

ยานภัณฑ์ เพิ่งจัดงานครบรอบ 50 ปี พร้อมประกาศแผนว่ากำลังจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เป็นการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากที่บริษัทอาปิโก้ โฮลดิ้ง ซึ่งทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เหมือนกัน ได้ประสบความสำเร็จจากการเข้าไปจดทะเบียนในช่วงก่อนหน้านี้เกือบ 1 ปี

การเข้าจดทะเบียนในตลาดครั้งนี้ ยานภัณฑ์ต้องการระดมเงินทุน เพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายกำลังการผลิต ซึ่งมีมูลค่ารวม 1,500 ล้านบาทในช่วง 2 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน ยานภัณฑ์มีทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นคนในตระกูลพันธ์พาณิชย์

จุดเด่นของยานภัณฑ์ อยู่ที่ผลประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่โรงงานประกอบรถยนต์ของค่ายรถขนาดใหญ่ ที่ได้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทยเริ่มเปิดสายการผลิต

จากยอดขายในปี 2543 ซึ่งอยู่ในระดับ 579 ล้านบาทได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,782 ล้านบาท ในปี 2545 ส่วนในปีนี้ ได้มีการคาดหมายยอดขายไว้ที่ระดับ 2,200 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้านบาท ในปีหน้า (ดูรายละเอียดจากกราฟยอดขายของยานภัณฑ์)

ตามแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดยานภัณฑ์จะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 700 ล้านบาท ขึ้นเป็น 1,000-1,200 ล้านบาท โดยคนในตระกูลพันธ์พาณิชย์จะนำหุ้นประมาณ 30% ของทุนจดทะเบียน กระจายขายให้กับประชาชนทั่วไป

เป้าหมายของยานภัณฑ์หลังเข้าตลาดฯ จะพัฒนาตัวเองขึ้นเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับนำในภูมิภาค

หุ้นกลุ่มยานยนต์ในตลาดหลักทรัพย์ กำลังจะเพิ่มสีสันขึ้นมาอีก 1 บริษัท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us