Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
6 ปีที่ผ่านไป             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป, บมจ.
มิลเลนเนียม สตีล, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
บุญชัย เบญจรงคกุล
ทนง พิทยะ
วสันต์ โพธิพิมพานนท์




ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นสองลูกหนี้ที่ดำรงบทบาทอย่างมีสีสันมาก ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา

กรกฎาคมปีนี้ ซึ่งครบรอบ 6 ปี บทบาทของลูกหนี้ทั้ง 2 ราย ก็ยังคงมีสีสันอยู่ แม้ว่าสถานการณ์ของปัญหาที่ทั้งคู่ประสบ จะคลี่คลายลงไปได้แล้วอย่างมาก

สวัสดิ์ หอรุ่งเรืองนั้น ถือว่าปัญหาทางการเงินของเขาได้รับการแก้ไขไปแล้วอย่างเบ็ดเสร็จ เมื่อบริษัทเอ็น.ที.เอส.สตีลของเขา ได้เข้าไปควบรวมกิจการกับกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในเครือซิเมนต์ไทย เป็นบริษัทใหม่ ใช้ชื่อว่ามิลเลนเนียม สตีล เมื่อปลายปีก่อน

2 กรกฎาคมปีนี้ สวัสดิ์จึงได้ลงทุนควักเงินในกระเป๋าตัวเองประมาณ 3 แสนบาท จัดรายการสนทนาในหัวข้อ "ลบความทรงจำวิกฤติฟองสบู่สู่ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า" เพื่อทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งได้รับความสนใจพอสมควร

หลายคนเรียกขานงานที่เขาจัดในครั้งนี้ว่าเป็นงาน "รวมพลคน NPL"

ผู้มาร่วมงาน อาทิ ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ลงนามในประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วสันต์ โพธิพิมพานนท์ ประธานกรรมการกลุ่มเบนซ์ทองหล่อ บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี ฯลฯ

"ผมเคยมีบริษัท 10 บริษัท แต่เมื่อเกิดวิกฤติ ทุกบริษัทเจ๊งหมด ทุกวันนี้การทำงานของผมได้เปลี่ยนจากการเป็นประธาน ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ มาเป็นการนั่งเป็นประธานในฐานะลูกจ้างที่จะมีการเซ็นสัญญาการว่าจ้างงานเหมือนลูกจ้างคนอื่นๆ" สวัสดิ์สรุปบทเรียนของตนเอง

ขณะที่ประชัย หลังจากต้องต่อสู้กับบรรดาเจ้าหนี้ ซึ่งนำโดยธนาคารกรุงเทพมาหลายยก ในที่สุดศาลล้มละลายกลาง ก็ได้มีคำสั่งให้ตัวแทนกระทรวงการคลัง เข้าเป็นผู้บริหารแผนของ บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

ถือเป็นกรณีแรกในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมที่เมื่อเจ้าหนี้และลูกหนี้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ฝ่ายตุลาการจึงต้องร้องขอให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีบทบาทในการยุติข้อขัดแย้งดังกล่าว

แต่ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับกรณีนี้

แต่ประชัยก็ยังไม่วายนำพนักงานของ TPI เกือบ 1 หมื่นคน หยุดงานไปร่วมประท้วงกับกลุ่มตัวแทนรัฐวิสาหกิจ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายล้มละลาย ให้เอื้อประโยชน์กับลูกหนี้มากขึ้น

"ที่ผ่านมา ผมต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยผม แต่จะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หากรัฐบาลตัดสินใจยกเลิกกฎหมายฉบับนี้เสีย"

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดกับเจ้าหนี้ ตลอดจนบุคลิกภาพของสวัสดิ์ และประชัย ทำให้ภาพของทั้งคู่ในสายตาของสังคม กลายเป็นภาพด้านลบ

หลังจากนี้ไป ภาพเช่นนี้น่าจะจางหายไป เมื่อวิกฤติที่เขาทั้ง 2 ต้องประสบ ได้พบทางออกที่ดีที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us