Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2551
TNN 24 = CNN+CNBC+ครอบครัวข่าว             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (ทรูวิชั่นส์)

   
search resources

ศุภชัย เจียรวนนท์
TV
ทรู วิชั่นส์, บมจ.




- สมรภูมิ “ข่าว” โทรทัศน์นั้น ไม่ได้ระอุเฉพาะในฟรีทีวีเท่านั้น
- เคเบิลทีวีก็มีความเคลื่อนไหวแย่งชิงความเป็นผู้นำไม่แพ้กัน
- ล่าสุดเหตุเกิดที่ยูบีซี เมื่อได้แปลงโฉมช่องข่าว UBC7 ให้กลายเป็น TNN 24

ช่องข่าว 24 ชั่วโมง

“ทรูวิชั่นส์ ได้เตรียมแผนจัดทำช่องข่าว “ทีเอ็นเอ็น 24” มาตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากเป็นรายการที่เหมาะสมกับตลาด และสำคัญสำหรับธุรกิจเคเบิลทีวี”

ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานเปิดตัว

วันนั้น ประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ ก็ได้ไปเป็นประธานในการเปิดช่องด้วย

ช่องข่าวทีเอ็นเอ็น พัฒนามาจากช่องข่าวยูบีซี 7 ที่เดิมออกอากาศรายการข่าววันละ 6 ชั่วโมง และเพิ่มเป็นวันละ 12 ชั่วโมง ทางช่อง นิวส์ 24 และเปลี่ยนมาเป็นช่องข่าว 24 ชั่วโมง ทีเอ็นเอ็น ในปัจจุบัน โดยได้ใช้งบลงทุนอุปกรณ์ เครื่องส่งต่างๆ ไม่รวมค่าเช่าอาคารประมาณ 70 ล้านบาท และรายจ่ายด้านปฏิบัติการปีละ 100 ล้านบาท โดยมีทีมงานประมาณ 200 คน

ช่องทีเอ็นเอ็น มีนโยบายเสนอข่าวเป็นกลาง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ปัจจุบันทรูวิชั่นส์ มีฐานผู้ชมทุกระบบประมาณ 1.4 ล้านครัวเรือน หรือมีผู้ชมประมาณ 10 ล้านคน

“สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ผู้ชมมีความสนใจข่าวสารมากขึ้น การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของช่องทีเอ็นเอ็น 24 ทางช่อง ทรูวิชั่นส์ 7 จึงเหมาะสมและเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างมาก” สมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลสำหรับการเปิดตัวในช่วงเวลานี้

“การเปิดตัวช่องข่าวทีเอ็นเอ็น เราไม่หวังว่าจะมีรายได้มากมาย หรือคุ้มทุนโดยเร็ว แต่ต้องการทำช่องรายการข่าวที่ดี เพื่อเป็นช่องที่ใช้ดึงดูดให้มีผู้สนใจมาสมัครสมาชิกทรูวิชั่นส์มากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตทีเอ็นเอ็น จะมีรายได้จากโฆษณาอีกช่องทาง เนื่องจาก พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปี 2551 ได้อนุญาตให้เคเบิลทีวี หารายได้จากโฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 6 นาที

ทั้งนี้ หลังจากออกอากาศช่องข่าวทีเอ็นเอ็น 24 ชั่วโมงอย่างเป็นทางการแล้ว ได้จัดทำอีกช่องรายการคือ ทรูวิชั่นส์ 8 ซึ่งเป็นการรวบรวมรายการต่างๆ ที่ไม่ใช่ข่าวและเคยอยู่ในช่องทีเอ็นเอ็น มาไว้ที่ช่องนี้

ปัจจุบัน มีช่องเคเบิลทีวีต่างจังหวัด ได้ดึงสัญญาทีเอ็นเอ็นไปออกอากาศ แต่บริษัทยังไม่เข้าไปตรวจสอบ แต่มีแผนจะเจรจากับช่องเคเบิลต่างจังหวัด ให้ซื้อไลเซนส์ช่องทีเอ็นเอ็น ไปเผยแพร่อย่างถูกต้อง พร้อมกับแพกเกจรายการช่องอื่นๆ

“หากช่องทีเอ็นเอ็น สามารถเผยแพร่ผ่านได้ทั้งทรูวิชั่นส์ และเคเบิลทีวีท้องถิ่น ที่มีฐานผู้ชมประมาณ 2 ล้านครัวเรือน จะทำให้ ทีเอ็นเอ็น เป็นช่องรายการข่าว 24 ชั่วโมง ที่มีผู้ชมสูงที่สุดในระบบเคเบิลทีวี จากการสำรวจเรตติ้งผู้ชมของ เอซี นีลเส็น เชื่อว่าในอนาคตจะขึ้นเป็นช่องผู้นำอันดับ 1 ได้เช่นกัน” สมพันธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทรูวิชั่นส์ ได้มีการเจรจากับ บมจ.อสมท เพื่อนำช่องข่าว ทีเอ็นเอ็น ไปออกอากาศทางคลื่นวิทยุ อสมท ด้วยเช่นกัน โดยรูปแบบการดำเนินการกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาว่าจะเป็นแบบใด นอกจากนี้จะมีการเผยแพร่ช่องทีเอ็นเอ็น ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วย

นอกจากนั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการ แซทเทิลไลซ์ ทีวี รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่มีฐานผู้ชมกว่า 20 ล้านคน เพื่อนำช่องข่าวทีเอ็นเอ็นไปจัดทำเป็นแพกเกจเผยแพร่ เจาะตลาดฐานผู้ชมคนไทยในสหรัฐฯ ซึ่งรูปแบบการออกอากาศดังกล่าวผู้ชมสามารถรับชมได้ง่ายกว่า เพราะมีจานดาวเทียมอยู่แล้ว

TNN 24 จะประสบความสำเร็จหรือไม่?

เพราะอะไร?

บทวิเคราะห์

การแข่งขันกันในอุตสาหกรรมทีวีเป็นไปอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปริมณฑลข่าว ซึ่งการสัประยุทธ์กันนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงฟรีทีวีเท่านั้น ทว่าเคเบิลทีวีได้เข้ามาร่วมห้ำหั่นด้วย

การเปิดโอกาสให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมีโฆษณาได้นั้นก็เท่ากับเป็นการเสียบปีกให้พยัคฆ์ จากเดิมเคเบิลทีวีจะไม่ลงทุนมากนักในช่องข่าวเพราะมีโฆษณาไม่ได้ แต่เมื่อช่องทางหารายได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมีแต่ค่าสมาชิกเท่านั้น การแข่งขันในช่องข่าวจึงรุนแรงมากยิ่งขึ้น

การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติจากต่างประเทศ ทำให้ข่าวได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง

สถานีฟรีทีวีพยายามช่วงชิงวางตำแหน่งว่าสถานีของตนนั้นคือช่องข่าว หลังการล่มสลายของไอทีวี (ซึ่งถือว่ามีภาพความเป็นช่องข่าวสูงสุด) ทำให้แต่ละช่องดึงคนของไอทีวีมาอยู่กับตนให้มากที่สุด เพราะมีแบรนด์และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม สมรภูมิการขับเคี่ยวในทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีก็มีความร้อนแรงไม่แพ้กัน

ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีนั้นจัดว่าเป็น NarrowCast กล่าวคือ จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิก หรือมีจานรับสัญญาณดาวเทียมเท่านั้นจึงจะชมได้ จึงจัดอยู่ในตลาด Niche Market อย่างไรก็ตาม ความแพร่หลายของ ASTV พิสูจน์ให้เห็นแล้ว หากมีแผนยุทธศาสตร์ดีๆ แล้ว ทีวีดาวเทียมก็สามารถทลายข้อจำกัดและก้าวเข้าสู่ผู้ชมระดับแมสได้เช่นกัน

ทรูวิชั่นส์ ก็มีช่องข่าวเป็นของตนเอง ก่อนหน้านี้รู้จักกันดีในนามยูบีซี 7 โอเค แต่ไม่เด่นมาก แต่ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ข่าวได้รับความนิยมสูงสุด โดยเฉพาะข่าวทีวีในห้วงเวลานี้ คนต้องการดูกัน 24 ชั่วโมง เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงรอบด้านและหลากหลาย

ซึ่งก็หมายความว่าคอนเซ็ปต์ซีเอ็นเอ็น ช่องเคเบิลข่าว 24 ชั่วโมงสามารถเกิดได้ในเมืองไทยเช่นกัน

ดังนั้นการ Rebranding ในช่วงเวลานี้จึงเหมาะสมที่สุด ประการแรกในเชิงรายได้จะเพิ่มขึ้น เพราะจะมีโฆษณาเข้ามาแล้ว ขณะเดียวกันช่วงจังหวะเวลาการเมืองไทยเกิดวิกฤต เศรษฐกิจโลกอาจล่มสลาย การติดตามข่าวต้องถี่ยิบตลอด 24 ชั่วโมง

จุดเด่นประการหนึ่งของทีเอ็นเอ็น 24 ก็คือนอกจากข่าว 24 ชั่วโมงแล้ว การเสนอข่าวยังมีความเป็นกลางสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้ยากแม้กระทั่งในช่องฟรีทีวีในปัจจุบัน ที่ใช้การเล่าข่าวมาก จนมีการใส่ความเห็นของผู้ประกาศหรือผู้ดำเนินรายการข่าวมากจนเกินไป

นอกจากข่าวแล้วรายการยังมีความหลากหลาย ที่ฟรีทีวีทำไม่ได้ เช่น รายการ Economic Time (ปรีชา วศะกุลพนิต เป็น Producer) ที่มีการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ โดยเชิญผู้รู้มาทุกวันตามแนวคิด 7 วัน 7 กูรู

Degree of Freedom ในการจัดผังรายการที่ยืดหยุ่นกว่าฟรีทีวี ทำให้สามารถปรับผังได้ตามความต้องการของผู้ชมซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเมือง

ความที่แบรนด์เดิม ยูบีซี 7 ก็มีคนรู้จักกันอยู่แล้ว มี Capture Market มากพอตัวประกอบกับตำแหน่งช่องอยู่ถัดจาก TPBS ซึ่งเป็นช่องข่าวและสารคดี ทำให้ยูบีซี 7 ในช่วงนั้นมีแฟนประจำไม่น้อยและการไม่เคยเปลี่ยนตำแหน่งช่องเลย ก็ทำให้ผู้ชมจำได้

ดังนั้นเมื่อ Rebranding เป็น TNN 24 ปรับผังใหม่ สร้างผู้ประกาศของตนเอง ดึงผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็น Commentator ประจำและดึงผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการที่คนรู้จักในฟรีทีวีมาก่อน เช่น คุณปลื้ม ที่จัด Economic Time (นอกจากนี้ช่วง 22.30 น. ยังจัด TNN World News วิเคราะห์ข่าวต่างประเทศร่วมกับทิชา สุทธิธรรม ทุกวันด้วย) หรือดึงคุณกุ๊ก คู่หูเรื่องเล่าเช้านี้ของสรยุทธมาจัด Economic Time ทุกวัน ดึง หมวย อริสรา มาอ่านข่าวช่วง 6 โมงเย็น และ 3 ทุ่ม นอกจากนี้ยังดึง กฤษฎิน สุวรรณบุปผา ผู้อ่านข่าวกีฬาชื่อดังมาร่วมด้วย

เรียกว่าเป็นการผสมระหว่างซีเอ็นเอ็น (ในแง่ช่องข่าว 24 ชั่วโมง) และ CNBC (ในแง่ความเป็นช่องเศรษฐกิจ) และครอบครัวข่าวช่อง 3 (คือดึงผู้ประกาศและผู้จัดที่มีชื่อเสียงมาอยู่ในช่องเดียวกัน)

สิ่งที่ TNN 24 ต้องรีบทำก็คือ การปล่อยสัญญาณให้เคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศรับสัญญาณไปเผยแพร่ต่อ โดยลดเงื่อนไขให้น้อยที่สุด

ถึงตรงนั้น TNN 24 จะกลายเป็น CNN Thailand   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us