|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การโหมประชาสัมพันธ์กระหึ่มไปทั่วทั้งเอเชียว่าจะยึดโซนแถบอาเซียนและเอเชียของสายการบินต้นทุนต่ำของ เจ็ทสตาร์แอร์ไลน์ ภายใต้อ้อมแขนของ สายการบินแควนตัส จากกลุ่มทุนออสซี่ ส่งผลให้ ดาโต๊ะโทนี เฮอร์นันเดซ (Tony Hernandez) ซีอีโอของของแอร์เอเชีย มาเลเซีย มองเห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาฐานที่มั่นทางการตลาดไว้อย่างเหนียวแน่นที่สุด
หลังจากที่นำโลว์คอสต์แอร์ไลน์บินเข้ามายังไทย ด้วยเครื่องโบอิ้ง 737-300 ขนาด 148 ที่นั่ง นำร่องเปิดให้บริการใน 2 เส้นทางจากนั้นก็เพิ่มทั้งฝูงบินใหม่อย่าง แอร์บัส A320 เข้ามาพร้อมกับขยายเส้นทางบินไปเรื่อยๆตามหัวเมืองท่องเที่ยวหลักจนกระทั่งล่าสุดมีเส้นทางบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอยู่จำนวนมาก ด้วยการวางตำแหน่งทางการตลาดในราคาถูกที่สุดในประวัติศาสตร์ หรือต่ำกว่าราคาตลาดที่สายการบินนานาชาติบินกันอยู่
ด้วยโครงสร้างราคาตลาดที่วางไว้ถึง 11 ราคาของแอร์เอเชีย ซึ่งจะมีราคา สูง-ต่ำแตกต่างกันประมาณ 5-10% ขึ้นอยู่กับใครจองก่อน เพราะบัตรขึ้นเครื่องจะไม่พิมพ์เลขที่นั่งให้ผู้โดยสารเลือกเองตามสะดวก ระหว่างบินจะไม่เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม แต่กลับเน้นตัวโปรดักส์ในเครื่องบิน เก้าอี้สบาย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่
ด้วยจุดขายนี้เองส่งผลให้ผลประกอบการของ "แอร์เอเชีย"เติบโตแบบดีวันดีคืนสามารถสร้างเม็ดเงินกำไรเข้าสู่บริษัทได้เป็นอย่างกอบเป็นกำ จนทำให้คู่แข่งขันในวงการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำเกิดการขยายตัวเปิดให้บริการกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางบินระหว่างประเทศที่นับวันจะมีการขยายตัวและแข่งขันกันมากขึ้น
สอดคล้องกับสายการบินเจ็ตสตาร์ที่เดินหน้าขยายบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศหวังตอบรับความสำเร็จจากการเปิดให้บริการในเส้นทางบินระหว่างประเทศระยะไกลในปีแรก ด้วยการเปิดแคมเปญคืนเงินส่วนต่าง 2 เท่าหากมีสายการบินอื่นเปิดจองที่นั่งบนเว็บไซต์ในราคาที่ต่ำกว่าที่สำคัญสายการบินเจ็ตสตาร์มีการเติบโตมากกว่า 3 เท่าหลังจากเริ่มเปิดดำเนินการด้วยการเป็นสายการบินภายในประเทศออสเตรเลียเมื่อ 3 ปีก่อน และคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีกเกือบ 10 เท่าในปี 2553/2554 และในปีงบประมาณ 2550 ที่ผ่านมา เจ็ตสตาร์ให้บริการรับส่งผู้โดยสารไปแล้วรวมทั้งสิ้นกว่า 7.6 ล้านคน
ส่งผลให้ แอร์เอเชีย ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นสายการบินที่มีค่าโดยสารราคาประหยัดรายแรกของโลกและเปิดบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศทั้งในระยะใกล้และไกลมาก่อน
ล่าสุดเส้นทางระยะไกล แอร์เอเชีย ดึง "เวอร์จิ้น บลู" เข้าถือหุ้นส่วนถึง 20% พร้อมตั้งเป้าบุกเบิกธุรกิจโลว์คอสต์เจาะตลาดบินระยะไกลชนิดข้ามทวีป โดยมีเส้นทางนำร่อง กัวลาลัมเปอร์-ออสเตรเลีย พร้อมกับงัดกลยุทธ์เดิมดั๊มฟ์ราคาตั๋วโปรโมชั่นจูงใจนักเดินทางลดลงเหลือเพียง 900-19,000 บาทโดยใช้ฝูงบินก่อนเพียง 1 ลำ ขณะเดียวกันก็มีการสั่งซื้อฝูงบินแอร์บัส A330-300s ใหม่ 15 ลำ ไว้รองรับการขยายเส้นทางตลาดระยะไกลในทันที
โดยมีจุดหมายอื่นที่พร้อมจะเปิดเพิ่มเส้นทาง หางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน หวังเชื่อมเครือข่ายตลาด แอร์เอเชียเพื่อหวังจะเจาะเข้าสู่ออสเตรเลีย สนับสนุนเวอร์จิ้นและช่วยสร้างจุดเชื่อมต่อนักเดินทางจากยุโรปเข้าออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดหลักที่ในทุกๆปีจะมีจำนวนสูงมาก
ความพยายามครั้งนี้เป้าหมายคือจะวางตำแหน่งการตลาดของ แอร์เอเชีย ให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำอย่างแท้จริง เพื่อให้บริการบินระยะใกล้หรือไกลเป็นรายแรก
"การเลือกเปิดตลาดแรกเข้าออสเตรเลีย เพราะมั่นใจว่าตลาดมีความต้องการสูง ขณะเดียวกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหมาย อันดับต้นๆ ของออสเตรเลีย อีกทั้งกัวลาลัมเปอร์มีศักยภาพส่งต่อผู้โดยสารไปยังจุดหมายอื่นในภูมิภาค เช่น บาหลี โคตากินาบาลู กรุงเทพฯ"โทนี่ กล่าว
ปัจจุบันแอร์เอเชียมีการผลิตนักบินที่สถาบันแอร์เอเชีย อคาเดมี โดยมีนักบินฝึกหัด 400 คน/ปี รวมทั้งสนับสนุนเครื่องบินสำรองแก่แอร์เอเชีย เอ็กซ์ทั้งหมด 10 ลำ เพื่อผลักดันกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศต้นทุนต่ำของอาเซียน
ขณะที่ เจ็ตสตาร์มีแควนตัส เป็นหุ้นส่วนที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของวงการธุรกิจการบินให้ดูดีขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยให้กับลูกค้า ด้านแอร์เอเชีย ใช้ เวอร์จิ้น บลู เป็นหุ้นส่วนที่จะช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของแอร์เอเชีย ในตลาดโลก รวมทั้งการเชื่อมสัมพันธ์กับสนามบินนานาชาติ
ส่งผลให้ปัจจุบันแควนตัสซึ่งเป็นเจ้าของ เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ส กำลังพยายามหาทางย้ายฐานการบินแบบโลว์คอสต์ออกไปจากสิงค์โปร์ ซึ่งมีข้อจำกัดทางสภาพภูมิศาสตร์ทำให้ขาดทุนมาตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันการมีสัมพันธ์ทางธุรกิจกับแปซิฟิกแอร์ไลน์จะช่วยให้แควนตัสกับเจ็ตสตาร์เปิดช่องทางทำธุรกิจบินโลว์คอสต์ในตลาดใหญ่อย่างเวียดนาม และในภูมิภาคเอเชียได้
จึงไม่แปลกที่เห็นเจ็ทสตาร์เน้นการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายคือให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศระยะไกลของเจ็ตสตาร์
“เราเริ่มด้วยการจัดตั้งฐานลูกเรือขึ้นในกรุงเทพฯ ที่รองรับลูกเรือกว่า 100 คน นับเป็นฐานลูกเรือสำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศระยะไกลเพียงแห่งเดียวของเจ็ทสตาร์ที่ตั้งอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย” แหล่งข่าวระดับสูงของเจ็ทสตาร์กล่าว
ปัจจุบัน เจ็ตสตาร์ให้บริการเที่ยวบินซิดนีย์-บาหลี และซิดนีย์-เมลเบิร์นและได้ขยายบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศด้วยการเปิดบริการเส้นทางบินใหม่ระหว่างออสเตรเลีย-มาเลเซีย และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างแคนส์-โอซากา
ความปลอดภัยสูงสุดกลายเป็นประเด็นสำคัญของธุรกิจการบิน ดังนั้น เจ็ตสตาร์เป็นสายการบินรายแรกของออสเตรเลียที่กำลังจะปรับเปลี่ยนไปใช้ฝูงบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์รุ่นใหม่ รวม 15 ลำ ซึ่งจะนำไปใช้ในเส้นทางบินระหว่างประเทศระยะไกล และก้าวขึ้นเป็นสายการบินระหว่างประเทศระดับแนวหน้าที่มีการใช้ประโยชน์จากฝูงบินในอนาคต
สอดคล้องกับที่ปัจจุบัน เจ็ตสตาร์ได้รับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ330-200 ใหม่เพิ่มอีก 2 ลำ ส่งผลให้ฝูงบินแอร์บัส เอ330-200 ของเจ็ตสตาร์มีอายุโดยเฉลี่ยเพียง 3 ปี สำหรับการซ่อมบำรุงฝูงบินของเจ็ตสตาร์อยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของบริษัท แควนตัส เอ็นจิเนียริ่ง นอกจากนี้ การดำเนินงานของเจ็ตสตาร์ยังใช้มาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับสายการบินอื่นๆ ในเครือแควนตัส ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสายการบินที่มีความปลอดภัยสูงสุดในโลก
ด้าน แอร์เอเชีย กลับมั่นใจที่เปิดให้บริการในเส้นทางบิน เนื่องจากลูกค้าซึ่งเป็นประชากรของไทยและมาเลเซียซึ่งมีอยู่กว่า 70 ล้านคน ในจำนวนนี้จะมีคน 2% ของพลเมืองทั้งหมด เข้ามาใช้บริการเที่ยวบินแอร์เอเชีย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากมาเลย์ 80% เลือกมาเที่ยวเมืองไทยเป็นอันดับแรก ต่อไปการท่องเที่ยวไทยจะคึกคักมากขึ้น เพราะคนมีโอกาสเลือกเดินทางในราคาถูกลงโดยใช้เวลาเดินทางสั้นลงด้วย
ซีอีโอแอร์เอเชีย กล่าวถึงการลงทุนในครั้งที่เปิดให้บริการครั้งแรกว่า ธรรมดาแอร์ เอเชีย ไม่มีหนี้สิน หลังจากมีแผนเปิดบินเข้าไทยจึงได้กู้เงินจากธนาคารดีบีเอสฯ 1,100 ล้านบาท (100 ล้านริงกิต) นำไปซื้อเครื่องโบอิ้ง 737-300 ซึ่งปัจจุบันมีการทยอยส่งมอบเครื่องบินใหม่รุ่นแอร์บัส A320 นำมาใช้เปิดให้บริการลูกค้าแทนเครื่องบินรุ่นเก่าและคาดว่าภายในปี 2553 แอร์เอเชียจะมีเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A320 อยู่ในมือถึงจำนวน 40 ลำทีเดียว
ว่ากันว่า แอร์เอเชียมีแผนที่จะเปิดข่ายการบินแบบโลว์คอสต์เชื่อมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำ ในภูมิภาคนี้น่าทึ่งจริงๆ หากใครเดินเกมไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้ตามทันที
แผนการจัดตั้งสายการบินโลว์คอสต์แห่งที่ 2 นี้ ย่อมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายการบินแปซิฟิกแอร์ไลน์ ที่จำหน่ายหุ้นในสัดส่วนเดียวกันนี้ให้กับสายการบินแควนตัส หวังเชื่อมปลายทางต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนั้นการซื้อหุ้นในแปซิฟิกแอร์ไลน์ของแควนตัสก็เพื่อให้สายการบินเจ็ตสตาร์มีโอกาสเปิดตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่การบินโลว์คอสต์เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งในไม่กี่ปีที่ผ่านมา
สังเกตได้ว่าการรุกคืบของแอร์เอเชีย จะส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนจากออสเตรเลียในแปซิฟิกแอร์ไลน์โดยตรง ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น การปรากฏตัวของฮับการบินเอเชียแห่งที่ 2 ของ แอร์เอเชีย ในเวียดนามยังจะส่งผลโดยตรงถึงสายการบินแห่งชาติเวียดนามแอร์ไลน์สอีกเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการครอบครองเส้นทางหลักภายในประเทศ ที่ล้วนเป็นเส้นทางทำกำไรแทบทั้งสิ้น
จึงไม่แปลกที่ แอร์เอเชียมีการประกาศขยายเส้นทางใหม่จากไทยและมาเลเซียไปยังฮ่องกง เนื่องจากปัจจุบันแอร์เอเชียมีเครื่องบินใช้งานจำนวน 50 ลำ เป็นเครื่องแอร์บัส A320 จำนวน 15 ลำ กับ โบอิ้ง737-300s อีก 35 ลำ แต่เมื่อปี 2548 บริษัทแม่แอร์เอเชียในมาเลเซียได้เซ็นสัญญาซื้อเครื่องแอร์บัส A320 ล็อตใหญ่จำนวน 150ลำ ทั้งหมดมีกำหนดจะขึ้นบินได้ในปี 2552
การสั่งซื้อครั้งใหม่นี้จะทำให้แอร์เอเชียเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชย มีเครื่องบินรวมประมาณ 200 ลำมากกว่าสายการบินขนาดใหญ่ในเอเชียทุกสายในปัจจุบัน และยังเป็นสายการบินที่มีเครื่องแอร์บัส A320 ในฝูงมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งท้ายที่สุดว่ากันว่าแอร์เอเชียอาจจะใช้ฐานในเวียดนาม เปิดบินเชื่อมปลายทางต่างๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย
โมเดลการตลาดที่แยบยลเต็มไปด้วยสงครามหั่นราคาตั๋วโดยสารสำหรับเส้นทางระยะไกลข้ามทวีปแบบนี้ กอปรกับแนวคิดที่จะหาวิธีช่วงชิงลูกค้าให้เข้าไปใช้บริการให้มากที่สุดจึงต้องจับตาดูว่า ระหว่าง แอร์เอเชีย กับ เจ็ตสตาร์ สองเสือผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลว์คอสต์เอเชียและใครจะมีดีกรีพอที่จะสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำมากกว่าผู้ตาม!
|
|
 |
|
|