Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2551
"ฮอนด้า"เขย่าบัลลังก์"โตโยต้า"ปั้น "ซิตี้" คว้าแชมป์ตลาดซับคอมแพกต์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

   
search resources

ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย), บจก.
Automotive




ตลาดรถยนต์นั่งโตสวนกระแส หลังผู้บริโภคหันมาใช้รถเล็กประหยัดพลังงาน ด้านฮอนด้า สบช่องตลาดโตส่งโมเดลใหม่ "ซิตี้" ตั้งเป้ายอดขาย 3.5 หมื่นคัน คว้าเบอร์ 1ตลาดซับ คอมแพกต์

ตลาดรถยนต์ 8 เดือนของปีนี้ แม้จะมีปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ การเมือง และราคาน้ำมัน แต่ยังมีการขยายตัวอยู่ที่ 3.91 % หรือ 413,396 คัน โดยกลุ่มของรถยนต์นั่งมียอดขาย 147,690 คัน เติบโตกว่า 30.16 % เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขายได้ 113,469คัน ขณะที่ตลาดรถปิคอัพนั้น โดนผลกระทบจากปัจจัยลบจนส่งผลให้มียอดขาย 221,361 คัน ลดลง 7.39 % เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ขายได้ 239,019 คัน

การหดตัวของตลาดรถปิคอัพนั้น สาเหตุหลักๆมาจากราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งรถปิคอัพในตลาดส่วนใหญ่นั้นต้องพึ่งน้ำมันดีเซล มีเพียงโตโยต้าเท่านั้น ที่มีการผลิตปิคอัพที่สามารถใช้เครื่องยนต์เบนซินได้ ตรงจุดนี้เองเมื่อราคาน้ำมันดีเซลพุ่งสูงทะลุ 40 บาท ทำให้ผู้บริโภคเกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อ บางรายปรับพฤติกรรมโดยหันไปเลือกซื้อรถยนต์นั่งที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ใช้เครื่องยนต์เบนซิน เพราะราคาถูกกว่าและสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพลังงานทางเลือกได้ง่ายกว่าเครื่องยนต์ดีเซล

นอกจากนั้นแล้ว เรื่องของ E20 หรือรถยนต์ที่สามารถเติมน้ำมันที่มีส่วนผสมของแก๊สโซฮอล์ 20 % และน้ำมันเบนซิน 80 % ก็ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีสรรพสามิต 5 % ทำให้มีการปรับราคาใหม่ที่ลดลงจากเดิม จากปัจจัยในเรื่องราคาน้ำมันดีเซลและการได้รับสิทธิพิเศษเรื่อง E20 จึงทำให้ตลาดรถยนต์นั่งในช่วงที่ผ่านมาเติบโต และคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี

แนวโน้มของตลาดรถยนต์นั่งที่กำลังโต ทำให้ผู้เล่นในตลาดอย่างค่ายฮอนด้า ที่มีการวางโพสิชั่นนิ่งในการเป็นทางเลือกอันดับหนึ่งของตลาดรถยนต์นั่งถึงกับมั่นใจในศักยภาพที่มีว่าในอนาคตอีกไม่ไกล พวกเขาจะต้องเป็นอันดับ 1 ของตลาดอย่างแน่นอน

ปัจจุบัน ฮอนด้า มีรถยนต์นั่งจำนวน 5 รุ่น ได้แก่ ซีอาร์วี - รถอเนกประสงค์,แอคคอร์ด รถยนต์นั่งขนาดกลาง,ซีวิค รถยนต์นั่งในกลุ่มคอมแพค ,และรถยนต์นั่งในกลุ่ม ซับ คอมแพค รุ่น แจ๊ซ และ ซิตี้ โดยรถยนต์ทั้ง 5 รุ่นถูกวางโพซิชั่นของตัวสินค้าที่แตกต่างกัน รองรับกับทุกความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มต่างๆอย่างครบถ้วน และในอนาคตเมื่อโครงการอีโคคาร์เริ่มผลิต ฮอนด้าก็จะมีรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน อีกหนึ่งรุ่นเข้ามาเติมเต็ม

ด้วยจำนวนรถยนต์เพียง 5 รุ่นดังกล่าว ที่มีการทำตลาดของฮอนด้า แม้จะดูน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายของคู่แข่งคนสำคัญอย่างโตโยต้าที่มียอดขายปีก่อน 92,530 คัน จากประเภทรถยนต์นั่งจำนวน 7 รุ่น ประกอบด้วย วีออส, ยาริส, อัลติส, คัมรี่, อแวนซ่า, อินโนว่า และ วิช โดยฮอนด้าเป็นอันดับ 2 ในตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายปีก่อน 58,525 คัน ทว่า เมื่อมองดูอัตราการเติบโตของทั้ง 2 ค่าย กลับพบว่า ตัวเลข 8 เดือนที่ผ่านมาเซกเมนต์รถยนต์นั่งของฮอนด้าเติบโตขึ้น 39.26% เทียบกับปีก่อน ขณะที่โตโยต้าโตแค่ 19.76% เทียบกับปีก่อนเช่นกัน

ขณะที่การตั้งเป้ายอดขายในปีนี้ เดิมฮอนด้าคาดการณ์ไว้ 70,000 คัน ก็มีการปรับเพิ่มเป็น 85,000 คัน เติบโตขึ้นอีก 20%เทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจรถยนต์ขนาดเล็กมากขึ้น ประกอบกับการที่ฮอนด้ามีนิว ซิตี้ ซึ่งถือเป็นโมเดลใหม่เข้าสู่ตลาดก็น่าจะได้รับการตอบรับที่ดี และส่งผลให้ยอดขายเติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้

"ยอดขายรถยนต์นั่งทุกรุ่นของฮอนด้ามีการเติบโตมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยตัวเลขส่วนแบ่งทางการตลาดจะเป็นสิ่งยืนยันว่าสินค้าของเราได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในตลาดรวมเรามีส่วนแบ่งจำนวน 13.6 % เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เรามี 9.7 % ถือเป็นการครองส่วนแบ่งที่สูงที่สุดในรอบ 24 ปีเลยทีเดียว ขณะที่ส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งจากเดิมทำได้ 30 % ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 33.7 % ตัวเลขที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆทำให้เรามั่นใจว่าเป้าหมายที่วางไว้คงไม่ยากเกินไป"เคนจิ โอตะกะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)จำกัด กล่าว

ฮอนด้า ซิตี้ หัวหอกนำทัพ รุกอันดับ 1 ตลาดซับ คอมแพกต์

แนวโน้มของตลาดรถยนต์นั่งที่โตวันโตคืน จนฮอนด้าต้องมีการประกาศปรับเป้ายอดขายให้เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันรถยนต์ในรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะในตลาดซับคอมแพค ที่พวกเขาเพิ่งตัดสินใจเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่เข้าสู่ตลาด

สำหรับ ฮอนด้า ซิตี้ มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า วีออส ที่ชิงเปิดตัวโมเดลใหม่ไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และโกยยอดขายล่วงหน้า อย่างไรก็ตามฮอนด้ามั่นใจว่า ซิตี้ โมเดลใหม่นี้จะสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 35,000 คันภายในระยะเวลา1 ปี และคาดว่ารถยนต์ในกลุ่มนี้จะช่วยผลักดันให้พวกเขาก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของตลาดซับ คอมแพกต์ ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ปัจจัยที่ทำให้ฮอนด้ามีความมั่นใจว่าจะสามารถก้าวไปสู่อันดับ 1 ของตลาดนี้คือ ราคาน้ำมันมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยมีการปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น ประกอบกับการดูแลรักษารถยนต์ประเภทนี้ก็มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารถยนต์ประเภทอื่นๆขณะที่แผนรุกตลาดของฮอนด้า ซิตี้ นั้น มีการนำรูปแบบการตลาดทั้งแบบอะโบฟเดอะไลน์ และบีโลว์เดอะไลน์ควบคู่กันไป

สำหรับฮอนด้า ซิตี้ มาพร้อมกับรูปลักษณ์ที่ดูปราดเปรียว โฉบเฉี่ยว เหมาะสมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการซื้อรถคันแรก รวมไปถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการมองหารถคันที่สองของบ้าน โดยมีให้เลือก 3 รุ่น คือรุ่น S ,V และ SV มาพร้อมกับเครื่องยนต์ i-VTEC ขนาด 1.5 ลิตร 4 สูบ 120 แรงม้า รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และมีค่ามาตรฐานไอเสียเทียบเท่าระดับยูโร 4 สนนราคาในรุ่น S 524,000 - 564,000 บาท ,ในรุ่น V ราคา 619,000 - 644,000 บาท และในรุ่น SV ราคา 694,000 บาท

ส่วนราคาของคู่แข่งโตโยต้า วีออส นั้น แม้ราคาจะถูกกว่า แต่ในรุ่นทอปนั้นกลับมีราคาสูงกว่าฮอนด้า ซิตี้ โดยวีออส มีให้เลือก 3 รุ่น ได้แก่ รุ่น J 509,000 บาท รุ่น E 544,000 - 639,000 บาท และรุ่น G 699,000 บาท

การตัดสินใจส่ง ฮอนด้า ซิติ้ ใหม่ เข้าสู่ตลาดในครั้งนี้ยังถือเป็นการผนึกกำลังสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดซับคอมแพค หลังจากก่อนหน้านี้ททางฮอนด้าได้มีการเปิดตัวฮอนด้า แจ๊ซ และมีการตอบรับที่ดีจากตลาด ในชนิดที่เรียกได้ว่ายอดขายโตแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งฮอนด้ามองว่ากระสุนที่ยิงออกมาในครั้งนี้จะส่งผลให้คู่แข่งทั้งรายเล็กรายใหญ่นั่งกันไม่ติดจนต้องกลับไปทำการบ้านกันอย่างหนักเลยทีเดียว

นอกเหนือจากการเปิดตัว "ฮอนด้า ซิตี้ "เป็นครั้งแรกในโลกแล้ว ฮอนด้ายังตอกย้ำกลยุทธ์ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของตลาดซับ คอมแพค ด้วยการตั้งวางโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น "โรงงานแม่" สำหรับการผลิตรถยนต์ฮอนด้า ซิตี้ มีหน้าที่หลัก คือ 1.เสริมสร้างและควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานระดับโลก 2.ดูแลการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปพร้อมจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ 3.ดูแลฐานการผลิตรถยนต์รุ่นนี้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

การเป็น "โรงงานแม่" ในครั้งนี้ฮอนด้าได้วางยุทธศาสตร์เพื่อให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่มีการส่งออกรถยนต์ในรุ่นนี้ รองจาก ญี่ปุ่น ,สหรัฐอเมริกา,จีน,แคนาดา และสหราชอาณาจักร ซึ่งในเบื้องต้นจะทำการผลิตฮอนด้า ซิตี้ ออกมาจำนวน59,000 คันต่อปี โดยแบ่งออกเป็นตลาดในประเทศ 35,000 คัน และตลาดต่างประเทศ อาทิ ประเทศในแถบเอเชีย ,อัฟริกาใต้ ,ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก จำนวน 24,000 คัน

อย่างไรก็ตามหากตลาดมีความต้องการรถยนต์ในรุ่นนี้มากขึ้น ก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้สูงสุดถึง140,000 คันต่อปี จากเดิมที่มีการผลิตเพียง 120,000 คันต่อปี และหากโรงงานแห่งที่ 2 สร้างเสร็จ ก็จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การออกมาสนับสนุนให้ไทยเป็น "โรงงานแม่" ในครั้งนี้ นอกเหนือจากการประกาศให้เห็นถึงการตั้งมั่นที่จะเป็นที่ 1 ในตลาดซับ คอมแพคแล้ว ในแง่ของการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยและผู้บริโภค นี่จึงถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของฮอนด้าที่มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งฐานการผลิตที่สำคัญของโลก

" แม้ว่าหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์,อินเดีย,ปากีสถานและจีนจะมีการผลิตฮอนด้า ซิตี้ แต่ทว่าโรงงานเหล่านั้นจะเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้รับการไว้วางใจให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงจากโรงงานแม่ที่ญี่ปุ่นเพื่อมาสร้างความแข็งแกร่ง และเรามุ่งหวังจะให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่ป้อนทั้งตลาดในและตลาดต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์นี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเล็งเห็นความสำคัญของประเทศไทยมากแค่ไหน" โอตะกะกล่าว

การขยับตัวของฮอนด้าในการเป็นโรงงานแม่ และการเปิดตัว ซิตี้ ใหม่ พร้อมทั้งประกาศเป็นที่ 1 ในตลาดรถซับ คอมแพกต์ ถือเป็นการส่งสัญญาณให้คู่แข่งขันในตลาดต่างร้อนหนาวพอกัน เพราะนี่คงไม่ใช่แค่ราคาคุยที่ฮอนด้าต้องการแสดงออกมาเพราะเมื่อมองไปถึงอัตราการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องในรถยนต์ทุกรุ่นที่มีออกมาจำหน่าย ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าทางฮอนด้าเอาจริงอย่างแน่นอน และไม่แน่ว่าพวกเขาอาจจะไม่หยุดที่ตลาดซับ คอมแพกต์ แต่หมายรวมถึงตลาดรถยนต์นั่งทั้งหมดก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us