Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2551
มายด์แชร์ สร้างเซกเมนต์ลึกถึงใจชูงานวิจัย 3 มิติ หากลุ่มเป้าหมายตัวจริง             
 


   
search resources

มายด์แชร์ (ประเทศไทย)
Advertising and Public Relations




ในวันที่แนวคิดทางการตลาดปรับเปลี่ยน นักการตลาดที่เคยนำเสนอสินค้าแบบ Insight Out กำหนดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวสินค้า หรือ Product Centric สร้างสินค้าที่ตนเองคิดว่าดีที่สุด ใช้สื่อแมสกระจายหากลุ่มเป้าหมายในแนวกว้าง กลายเป็นแนวคิดตกสมัย ต้องเปลี่ยนด้านมุมมองเป็น Outsight In ยกศูนย์กลางไปอยู่ที่ตัวลูกค้า หรือ Customer Centric ชัยชนะทางการตลาดในวันนี้จึงตัดสินกันที่ใครจะนำเสนอสินค้าที่ตรงใจ ตรงความต้องการผู้บริโภคได้ดีที่สุด และสื่อสารการตลาดได้เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนั้นๆ ได้ดีกว่ากัน

ความยากของการทำตลาดตามแนวคิด Customer Centric คือการตามหากลุ่มเป้าหมาย และค้นหาความต้องการของคนกลุ่มนั้นให้เจอ เมื่อแรกเริ่มแนวคิดนี้ นักการตลาดส่วนใหญ่มองหากลุ่มเป้าหมายจากการแบ่งกลุ่มเซกเมนต์จากข้อมูลพื้นฐาน เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ หรือพื้นที่อาศัย

ถึงเวลานี้ มายด์แชร์ เอเยนซีด้านการสื่อสารการตลาดที่ทำหน้าที่วางแผนสื่อให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลก มองว่า ข้อมูลพื้นฐานไม่เพียงพอต่อการแบ่งเซกเมนต์ผู้บริโภคเพื่อการวางแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพได้ การวิจัยหาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายต้องได้ข้อมูลที่ลึกลงถึงทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายด้วย

ปัทมวรรณ สถาพร ผู้อำนวยการแผนกวิจัยผู้บริโภคและธุรกิจ บริษัท มายด์แชร์ กล่าวว่า วันนี้ผู้บริโภคมีความภักดีต่อแบรนด์สินค้าน้อยลง ทำให้การซื้อสินค้าแบรนด์เดิมซ้ำๆ น้อยตามลง ผู้บริโภคใช้ความรู้สึกส่วนตัว(Emotional) มาเป็นตัวตัดสินใจในการซื้อสินค้ามากกว่าการพิจารณาคุณสมบัติของตัวสินค้า (Functional) เพียงอย่างเดียว จากกรณีศึกษาในสินค้า iPod ที่มีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกมหาศาล ทั้งที่คุณสมบัติของตัวสินค้าไม่ต่างจากเครื่องเล่นแบรนด์อื่นเลย แต่เป็น Emotional ในตัวสินค้าที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น เป็นตัวตัดสินความสำเร็จทางการตลาด ดังนั้น การศึกษากลุ่มเป้าหมายให้รู้เพียงข้อมูลพื้นฐาน เพศ อายุ สินค้าที่ใช้ สื่อที่รับ จัดเป็นเซกเมนต์ให้กับสินค้าคงไม่เพียงพอ ต้องได้ข้อมูลลึกลงไปถึงความรู้สึกนึกคิดในใจกลุ่มเป้าหมาย เป็นแนวคิดของเครื่องมือ มายด์แชร์ 3D

ปัทมาวรรณ กล่าวว่า 3D คืองานวิจัยข้อมูลใน 3 มุมมอง 3 มิติ ซึ่งศึกษาและให้ผลวิจัยผู้บริโภค 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสัมพันธ์ของผู้บริโภคกับตราสินค้า(Brand Relationship) ทัศนคติและพฤติกรรมทางสังคม(Social Behavior) และพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภค(Media Consumption) ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ด้านนี้จะได้มาจากการถามคำถามจากกลุ่มตัวอย่างคนเดียวกัน ไม่มีการใช้เทคนิคในการรวมข้อมูลเข้าด้วยกันจากหลายๆ ตัวอย่าง ดังนั้น ข้อมูลของ 3D จึงเป็นข้อมูลที่สามารถชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้บริโภคนนั้นหรือกลุ่มนั้น มีพฤติกรรมและทัศนคติอย่างไร

มายด์แชร์ 3D คือเครื่องมือวัดผลวิจัยเชิงปริมาณที่ให้ข้อมูล 3 มิติของผู้บริโภค ดำเนินการทุก 2 ปี ใน 35 ประเทศทั่วโลก ซึ่งอยู่ในเอเชีย 13 ประเทศ ใช้เงินลงทุนเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกช่วง 6 ปีที่ผ่านมากว่า 231 ล้านบาท โดยในประเทศไทย มายด์แชร์ 3D ปี 2551 ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรในประเทศไทยกว่า 2,200 คน อายุระหว่าง 14-65 ปี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว และการตอบแบบสอบถาม

โดยมิติแรกของ 3D เป็นการวัดผลในเชิงความสัมพันธ์ของผู้บริโภคกับตราสินค้า การจำแนกหมวดหมู่สินค้าจะครอบคลุมกลุ่มสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคไปจนถึงบริการทางการเงิน 32 หมวดสินค้า ความภักดีในตราสินค้าจะแตกต่างกันในกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตราสินค้า กับกลุ่มที่ไม่ค่อยให้ความใส่ใจในการเลือกสินค้า ซึ่งผลการวิจัย มายด์แชร์ 3D ในปี 2551 พบว่า ผู้บริโภคในต่างจังหวัดราว 67% มีแนวโน้มที่จะซื้อตราสินค้าเดิม ซ้ำๆ กัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริโภคในกรุงเทพฯ จะมีความหลากหลายมากกว่าในการเลือกตราสินค้า

ขณะที่ที่มิติที่ 2 ให้ข้อมูลเชิงลึกในการทำความเข้าใจถึงทัศนคติของผู้บริโภค ด้วยฐานข้อมูลความคิดในเชิงจิตวิทยากว่า 200 ตัวอย่าง การวิจัย 3D ปีนี้ แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามทัศนคติและพฤติกรรมออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมและมีทัศนคติว่าเป็นกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมและไม่มีความกระตือรือร้น(Disadvantages& Indifferent) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสังคม (ดูรายละเอียดกลุ่มต่างๆ จากตารางประกอบ)

มิติที่ 3 คือการศึกษาพฤติกรรมการรับสื่อของกลุ่มตัวอย่าง โดยนอกเหนือจากสื่อหลักที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผุ้บริโภคแล้ว 3D ยังวิเคราะห์จุดเชื่อมโยงในการสื่อสารระหว่างที่ผู้บริโภครับสื่อ ตั้งแต่สื่อหลักไปจนถึงการพูดกันปากต่อปาก การแจกผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง แผ่นพับใบปลิว ข่าวประชาสัมพันธ์ พนักงานขาย รวมไปถึงช่องทางการสื่อใหม่ๆ อาทิ SMS ซึ่งผลวิเคราะห์ล่าสุดพบว่า กว่า 50% ของกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่าง ชี้ว่าสื่อโฆษณานอกบ้านเป็นแหล่งข้อมูลอันดับต้นๆ ของการรับโฆษณา โดยสื่อที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเป็นสื่อที่แปลกใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ คือ ไตรวิชั่น, สื่อเลเซอร์บนตึก,จอแอลซีดี และวิดีโอวอลล์

ปัจจุบันมีมายด์แชร์ได้นำเครื่องมือมายด์แชร์ 3D ไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์สื่อ รวมไปถึงการร่วมวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับลูกค้าแบรนด์ใหญ่ระดับอินเตอร์หลายราย อาทิ กลุ่มเนสเล่, ยัมเรสเตอรองส์, รถยนต์ฟอร์ด และยูนิลีเวอร์

"มายด์แชร์ 3D คือการเข้าสู่ยุคใหม่ของการวางแผนสื่อสารการตลาด ข้อมูลจากผู้บริโภคใน 3 มิติ จะได้ผลการศึกษาพฤติกรรมของแตละบุคคลลงลึกไปทั้งคุณค่าของตราสินค้าในใจ พฤติกรรมทางสังคม และพฤติกรรมกรรมการรับสื่อ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักการตลาดในการนำไปใช้วางกลยุทธ์เพื่อการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น ช่วยให้นักการตลาดสามารถชี้ชัดได้ว่า ช่องทางใดจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับลูกค้าคนสำคัญ เป็นส่วนที่จะช่วยนักการตลาดที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิม และมัดใจลูกค้าใหม่ในการวิเคราะห์ และวางแผนการใช้สื่อที่แตกต่าง เพื่อกระชับความสัมพันธ์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละระดับชั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด" ปัทมวรรณ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us