Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2551
วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ผลักตลาดหุ้นกู้ในประเทศเฟื่อง             
 


   
search resources

ณัฐพล ชวลิตชีวิน




สมาคมตลาดตราสารหนี้ระบุ วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐ สะเทือนบริษัทไทยที่จะไปออกหุ้นกู้ในต่างประเทศ เหตุต้นทุนพุ่งและเสี่ยงถูกดาวน์เกรด ส่งผลให้อาจต้องหันกลับมาระดมเงินในประเทศแทน

ณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ผลจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรง และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป

ผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนในต่างประเทศแทบจะปิดสนิท ส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่ของไทยออกไประดมทุนในต่างประเทศได้ยากขึ้น จึงต้องหันมาระดมเงินทุนด้วยการออกหุ้นกู้ในประเทศแทน

นอกจากนี้ปัญหาการเมือง ทำให้ต้องจับตาดูว่าประเทศไทยจะถูกลดอันดับเครดิต (Down Grade) ลงมาในอนาคตหรือไม่ จากปัจจุบันมีอันดับเครดิตที่ BBB หากมีการปรับลดอันดับเครดิตลงมาเหลือ BBB- ซึ่งเป็นเครดิตต่ำสุดในส่วนของตราสารหนี้ที่ลงทุนได้ (Investment Grade) นั้น จะส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอนของบริษัทเอกชนไทยที่จะไปออกตราสารหนี้ในต่างประเทศ

เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ถ้าจะไปออกจะต้องออกเป็นตราสารหนี้ที่ในระดับของตราสารที่เก็งกำไร (Speculate Grade) ซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงมากเพราะส่วนต่าง (Spread) ที่จะต้องบวกเพิ่มเข้าไปในตราสารหนี้ที่เป็น Investment Grade กับ Speculate Grade ต่างกันมาก อาจจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้หันมาออกตราสารหนี้ในประเทศมากขึ้นได้

"อันดับเครดิตของบริษัทเอกชนไม่มีทางจะสูงกว่าอันดับความ น่าเชื่อถือของประเทศเมื่อประเทศ ถูกลดอันดับการออกหุ้นกู้ขายในต่างประเทศจะมีต้นทุนสูง จึงมีโอกาสจะหันมาระดมทุนในประเทศแทน”

นอกจากประเทศไทยจะเผชิญกับปัจจัยภายนอกแล้ว ยังมีปัญหาการเมืองอีก ซึ่งปัจจัยการเมืองมีผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้แน่นอน หากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่าจะออกมาอย่างไรแล้วไม่มีการสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีหน้า อาจเติบโตแค่ 2-3%

อย่างไรก็ตามจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐที่กดดันทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ส่งผลดีทำให้คนหันมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น เพราะมีความปลอดภัยมากกว่าถือเป็นปัจจัยบวกหนึ่งเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันบริษัทเอกชนมีการออกหุ้นกู้แล้วจำนวน 1.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับปี ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีการเสนอขายมากที่สุด ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท

โดยระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคมนี้มี 3 บริษัท วางแผนจะออกหุ้นกู้คือ บมจ. ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QH) 2,000 ล้านบาท บล.ภัทร 1,000 ล้านบาท และบมจ. ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) 7,500 ล้านบาท

หากพิจารณาในแง่ของยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ ณ ปัจจุบันมีจำนวน 8.3 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมียอดคงค้างสูงสุด 9.1 หมื่นล้านบาท ก็เท่ากับว่านักลงทุนต่างชาติมีการขายออกมาเพียง 8,000 ล้านบาท ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับการขายในตลาดหุ้นที่มีมากถึงกว่า 1.15 แสนล้านบาท

สำหรับการที่สถาบันการเงินในสหรัฐประสบปัญหามีตัวเลขขาดทุนแสดงให้เห็นแล้วประมาณ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้ได้มีการเทขายหุ้นทั่วโลกไปแล้ว 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังขาดเม็ดเงินอีก 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะเห็นการขายสินทรัพย์อื่นๆ นอกประเทศสหรัฐตามมาเพื่อนำเงินไปชดเชยความเสียหายดังกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us