Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กันยายน 2551
ธปท.พร้อมอัดเงินสกัดวิกฤต             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




5 หน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจถกวิกฤตการเงินสหรัฐ ยันยังไม่มีสัญญาณกระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรง แต่พร้อมเฝ้าระวังหากลุกลาม ธปท.จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ธาริษาเผยแบงก์พาณิชย์ไทยกู้เลห์แมน 3.6 พันล้านเหรียญ (122,400 แสนล้านบาท) ลุ้นสภาคองเกรสผ่านเงินอัดฉีด 7 แสนล้านเหรียญกู้วิกฤตเลห์แมนลดผลกระทบลุกลามโลก ขณะที่ “มิ่งขวัญ” บอกห่วงวิกฤติครั้งนี้ฉุดภาคลงทุนชะลอ บิ๊กเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แจงร่วมทุนเอไอจีไร้ปัญหา

วานนี้ ที่กระทรวงการคลังได้มีการประชุมคณะกรรมการติดตามประสานงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย 5 หน่วยงานคือ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการเปิดเผยภายหลังการหารือว่า จากการวิเคราะห์โดยละเอียดของหน่วยงานทั้ง 5 จะพบว่าสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และจากการที่สภาคองเกรสประชุมเพื่อพิจารณาผ่านงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 7 แสนล้านเหรียญถือเป็นการเข้ามาแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังและชัดเจนจากก่อนหน้าที่รัฐบาลสหรัฐได้แก้ปัญหาซับไพรม์ ธนาคารกลางสหรัฐให้เอไอจีกู้ยืมเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง จะมีบทบาทยับยั้งการลุกลามวิกฤติที่เกิดขึ้นในสหรัฐและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก

โดยในระบบสถาบันการเงินมีหารกู้ยืมเงินจากเลห์แมนฯ เพียงเล็กน้อย ธุรกิจประกันก็ไม่มีผลกระทบ ขณะที่ตลาดทุนนั้นก.ล.ต.และ ตลท.ได้รายงานว่าดัชนีหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงเป็นไปตามทิศทางของภูมิภาค ซึ่งเงินที่ต่างชาติขายออกสุทธิในปริมาณที่สูงนั้นส่วนมากเป็นการปรับพอร์ตเพื่อลงทุนในตลาดตราสารหนี้แทนยังไม่ได้มีการขนเงินออกจนเป็นที่น่าตกใจแต่อย่างใด

“น่าจะสบายใจได้แล้วกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งสิ่งที่จะทำต่อไปคือการเตรียมเครื่องมือไว้รองรับหากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น” นายศุภรัตน์กล่าว

ธปท.พร้อมอัดฉีดสภาพคล่อง

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้ติดตามการเข้าไหลเข้าออกของเงินทุนในตลาดต่างๆอย่างใกล้ชิดพบว่ามีเพียงเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีปริมาณมาก และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสัดส่วนที่ต่ำเพียง 30% ของจีดีพี ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยมีหนี้ระยะสั้นเพียง 38%ของจำนวนหนี้ทั้งหมดแม้ว่าเงินจะไหลออกก็สามารถรองรับสถานการณ์ได้ซึ่งแสดงถึงสถานความแข็งแกร่งทางการเงินของประเทศ

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินทั้งระบบพบว่ามีธนาคารพาณิชย์มีการกู้ยืมเงินจากเลห์แมนฯ เพียง 3.6 พันล้านเหรียญ เท่านั้น (122,400 แสนล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) ถือว่าเป็นระดับที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเงินในระบบธนาคารพาณิย์ทั้งหมดกว่า 8 ล้านล้านบาท ขณะที่การลงทุนในตราสารประเภทCDOก็มีเพียง 0.36% ของสินทรัพย์รวมทั้งระบบเท่านั้นและที่สำคัญอย่างยิ่งคือค่าเงินที่ไม่มีการอ่อนค่าลงซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิกฤตครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินไทย

“เราจะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากมีความจำเป็นก็จะนำเครื่องมือที่มีอยู่ม่ใช้เพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งหากมีความจำเป็นที่แบงก์ชาติต้องเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินก็อาจใส่สภาพคล่องเข้าไปในสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ โดยอาจออกมาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินออกมาเป็นแพ็กเกจเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น” นางธาริษากล่าว

มิ่งขวัญห่วงฉุดลงทุนไทย

นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีต รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการอำลาตำแหน่งกับผู้บริหารและข้าราชการประจำกระทรวงอุตสาหกรรมวานนี้ (25 ก.ย.) ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือภาวะการลงทุนในประเทศที่อาจจะชะลอตัวลงเนื่องจากวิกฤติการเงินสหรัฐซึ่งจากการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอระบุว่าการดึงดูดเงินจากต่างประเทศจะมีการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก ดังนั้นคงต้องฝากให้รัฐมนตรีคนใหม่สานต่อในเรื่องของการดูแลภาพรวมอุตสาหกรรมเพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

“บีโอไอถือเป็นหน่วยงานที่จะดึงเม็ดเงินการลงทุนเข้าประเทศ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือ ส.อ.ท.ที่มีสมาชิกกว่า 30 อุตสาหกรรมคงต้องฝากไว้ในการช่วยกันดูแล ต้องทำงานกันเป็นทีมและวางเป้าหมายให้ชัดเจนเพราะเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองและภายนอกคือเศรษฐกิจโลกทุกฝ่ายคงต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะการลงทุนเท่านั้น การส่งออกก็จะต้องดูแล รวมไปถึงปัญหาเงินเฟ้อทุกอย่างเกี่ยวข้องกันหมด” นายมิ่งขวัญกล่าว

ทั้งนี้สิ่งที่ตนเคยกล่าวไว้ในช่วงหาเสียง ซึ่งยังไม่ได้ทำและต้องขออภัยประชาชนที่ยังไม่มีโอกาสได้ทำคือการผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยาเพื่อต้องการให้ไทยเป็นแหล่งผลิตยาสำคัญของโลก การตั้งเมืองมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ แต่โอกาสทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย ไว้มีโอกาสจะทำตามที่ได้หาเสียงเอาไว้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่พิจารณาดำเนินการต่อด้วย เช่นเดียวกันการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดน

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาวะการลงทุนในปี 2552 มีแนวโน้มจะชะลอตัวจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยจากผลพวงวิกฤติการเงินสหรัฐฯ โดยคาดว่าตัวเลขการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอจะใกล้เคียงกับปี 2551 คืออยู่ในระดับ 3-4 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลใหม่มาคงจะต้องฝากให้ดูแลในเรื่องของการอนุมัติการส่งเสริมฯที่ขณะนี้ยังค้างพิจารณาอยู่นับแสนล้านบาท

“ บอร์ดบีโอไอที่ผ่านมายังไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานทำให้คณะอนุกรรมการฯที่พิจารณาให้การส่งเสริมฯไม่สามารถอนุมัติได้เบื้องต้นมีมูลค่ารวมกันถึงแสนล้านบาทจึงเห็นว่าจุดนี้คงจะต้องเร่งมาพิจารณา” นายจักรมณฑ์กล่าว

MJDยันร่วมทุนAIGไร้ปัญหา

นายสุริยน พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า จากกรณีที่ บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่ภาวะล้มละลาย และมีความเป็นไปได้ที่จะทยอยเรียกเงินลงทุนจากธุรกิจอสังหาฯไทยที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้ กลับคืนไปช่วยเหลือบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกานั้น เชื่อว่า กรณีดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ หรือหากจะกระทบก็คงเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากวิกฤตในครั้งนี้ เป็นผลกระทบมาจากปัญหาวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ในสหรัฐฯ ไม่ได้มาจากปัญหาในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ในไทย ประกอบกับกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทเมเจอร์ฯ ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาวะวิกฤตการเงินสหรัฐฯ รวมถึงการที่ บริษัท เอไอจี โกลบอล เรียลเอสเตท อินเวสต์เม้นต์ (AIG) ที่อเมริกาประสบปัญหาทางด้านการเงินนั้น ก็ไม่มีผลกระทบกับการลงทุนในคอนโดฯ โครงการ ร๊อยซ์ ไพรเวท เรซิเดนชิซ สุขุมวิท 31 ที่มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง MJD กับ AIG อย่างแน่นอน เนื่องจาก AIG ได้ลงทุนเงินครบถ้วนแล้ว

" มั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะทำได้ตามแผนที่วางไว้ ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุน เพราะ AIG ลงทุนมาเกือบครบแล้ว นอกจากนี้ ยังได้รับการอนุมัติวงเงินกู้แล้วจากธนาคารทิสโก้ จำนวน 1,000 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการทำเสาเข็ม ดำเนินงานโดยบริษัท ซีฟโก้ " นายสุริยนกล่าวและระบุถึงแนวโน้มรายได้ในปีนี้ว่า จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยเติบโต 10% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,198 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรก สามารถทำรายได้แล้ว จำนวน 1,298.49 ล้านบาท และขณะนี้บริษัทฯ มียอดขายที่รอรับรู้รายได้ในปีนี้และปีถัดไป (Backlog) ประมาณ 5,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการในเมืองท่องเที่ยว ได้แก่ โครงการ มาราเกซ หัวหิน มูลค่า 3,000 ล้านบาท และโครงการรีเฟคชั่น จอมเทียน บีช พัทยา มูลค่า 3,300 ล้านบาท ทางบริษัทมีแผนจะนำคอนโดฯไปโรดโชว์ขายให้แก่นักลงทุนในต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ และฮ่องกง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us