Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546
"Belgian Window"             
โดย ลักขณา ศิริวรรณ
 





เป็นเรื่องปกติเมื่อนักธุรกิจ นักการเงิน จะเดินทางไปมา ระหว่างปารีส-อัมสเตอร์ดัม อัมสเตอร์ดัม-ลอนดอน แฟรงเฟร์ต-ปารีส เดินทางข้ามประเทศเบลเยียม กลับไปกลับมานับครั้งไม่ถ้วนโดยไม่ใส่ใจประเทศเล็กๆ ที่ถูกกักล้อมด้วยประเทศใหญ่ทรงอิทธิพลรอบด้าน ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี

สภาพภูมิศาสตร์ที่ถูกปิดล้อมแบบนี้ แทบจะไม่มีโอกาสให้เบลเยียมเติบโตก้าวไปข้างหน้าได้อย่างสง่างามเหมือนประเทศอื่นเลย แต่เบลเยียมกลับเป็นประเทศเล็กๆ ที่ถูกเอื้อเอ็นดูโดยกลุ่มพี่เบิ้มใหญ่ให้โตอย่างช้าๆ เสมือนถูกเลี้ยงเป็นรัฐกันชนที่ไร้พิษภัยใดๆ ในสายตาของยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย

น้อยคนนักจะรู้ว่าตำนานและเรื่องราวสำคัญมากมายกำเนิดมาจากผืนแผ่นดินเบลเยียม

เริ่มจากตำนานทหารผ่านศึกกับดอกป๊อปปี้ สมรภูมิรบสงครามโลกครั้งที่ 1 แห่งนี้มีทหารและพลเรือนชาวเบลเยียมเสียชีวิตไปมากกว่า 80,000 คน จนแพทย์ทหารชาวแคนาดาที่ได้เห็นการนองเลือดบนผืนดินนี้ได้แรงบันดาลใจ แต่งบทกวี In Flanders Fields ทุ่งฟลานเดอร์บานสะพรั่งด้วยดอกป๊อปปี้สีแดงดั่งเลือดที่ไหลรินของทหารกล้า กลายเป็นสัญลักษณ์ของทหารผ่านศึกทั่วโลก

แต่ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้กลับกลายเป็นรัฐที่เป็นกลาง "independent and perpetually neutral state" ที่ยอมรับในหมู่ประชาคมยุโรปไปเสียแล้ว

บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นหนึ่งใน 7 เมืองใหญ่ทั่วโลกที่เป็นศูนย์จัดส่งและกระจายสินค้าด่วนทั่วโลก (บาห์เรน บริสเบน ฮ่องกง โยฮันเนสเบิร์ก ไมอามี่ และสิงคโปร์) โดยที่แต่ละแห่งจะตั้งอยู่ใกล้หรืออยู่ติดกับเกตเวย์ คือเป็นเมืองที่เชื่อมไปสู่ประเทศใกล้เคียงได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเมืองอื่น

แผ่นดินนี้จึงเหมาะจะเป็นที่ตั้งขององค์กรระหว่างประเทศมากมายนับไม่ถ้วนตั้งแต่เป็นสำนักงานใหญ่ของ North Atlantic Treaty Organization (NATO) และสหภาพยุโรป (EU)

ถ้าได้อ่านข่าวทำนอง "บรัสเซลส์-สหภาพยุโรป เตรียบสอบยุทธศาสตร์ดอทเน็ตไมโครซอฟท์ ข้อหาลักลอบเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวผู้บริโภค ขณะที่ยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ โต้สมาชิกให้ข้อมูลด้วยความสมัครใจ พร้อมเตรียมเจรจาปรับความเข้าใจ สืบเนื่องจากความเคลื่อนไหวของบริษัท ไมโครซอฟท์ ซึ่งออกมาแถลงการณ์ยืนยันว่า บริการดอทเน็ต..."

เป็นอันรับรู้โดยทั่วไปว่านี่คือฝีมือองค์กรการค้าโลกหรือ WTO ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรัสเซลส์ ข่าวการเจรจาถึงข้อพิกัดทางการค้าระหว่างประเทศจากคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ต่างสรรหากันตั้งขึ้นมาจนนับไม่ถ้วนตั้งแต่คณะกรรมการว่าด้วยกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Committee on Rules of Origin: CRO) จนถึงคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร (Customs Co-operation Council) ล้วนมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนตาหลากสีทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย

ล่าสุดมีข่าวดีต่อการส่งออกของไทย จากคณะกรรมการ Standing Committee on Food Chain and Animal Health ของ EU ว่าที่ประชุมมีมติให้ประกาศยกเลิกมาตรการตรวจสอบ 100% สารตกค้างในกุ้งที่ส่งออกจากไทยและกำลังพิจารณายกเลิกมาตรการตรวจสอบ 100% สารตกค้างในไก่ต่อไป

ปัญหาเรื่องสารตกค้างไนโตรฟูแรนส์และคลอแรมฟีนิคอลในกุ้งและไก่ ทำให้หลายหน่วยงานตั้งแต่สำนักงานพาณิชย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรและผู้ส่งออกต้องวิ่งพล่านไปทั่วกรุงบรัสเซลส์ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาเมื่อมาตรการนี้เริ่มต้น

เบลเยียมประเทศเล็กๆ แห่งนี้กลับกลายเป็นประเทศที่มีอะไรพิเศษแฝงอยู่ เป็นสถานที่เจรจาประเด็นสำคัญๆ ที่ชี้ชะตาความเป็นไปของผู้คนทั่วโลก ความพิเศษที่ถูกซุกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ทั่วประเทศ เสมือนหนึ่งจะเชิญชวนให้เดินทางเข้าไปเสาะแสวงหาขุมทรัพย์ ตามลายแทงเป็นเสน่ห์ล่อหลอกปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา

ประชากร 10 ล้านคนถูกอัดลงในพื้นที่ 12,000 ตารางไมล์ หรือ 830 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ นับเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นติดอันดับต้นของยุโรปเมื่อคิดตามพื้นที่ จำนวนคนหนาแน่นขนาดนี้ถูกอัดลงไปในพื้นที่จำกัด โดยใช้การจัดระเบียบสังคมด้วยระบบคมนาคมทั้งทางรถไฟและรถยนต์ ที่มีเอกลักษณ์เด่นในเรื่องความถี่ของจำนวนเสาไฟฟ้า แสงไฟริมถนนที่ถูกผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังปรมาณู 7 โรงงานส่องประกายถี่ระยิบระยับ มองเห็นชัดเจนจากนอกโลก กระทั่งนักบินอวกาศได้ให้ฉายาแสงไฟเหล่านี้ว่า "Belgian Window" แสงไฟนี้ยังเป็นสัญลักษณ์สำคัญว่า เมื่อใดที่ขับรถเข้าเขตถนนที่มีเสาไฟฟ้าติดตั้งเรียงชิดมากขึ้นกว่าปกติจากเขตประเทศบ้านเรือนเคียงกันแล้ว เมื่อนั้นกำลังขับเข้าเขตประเทศเบลเยียม

Fritjes ใครเลยจะเข้าใจว่า Fritjes ของที่นี่คือต้นกำเนิด french fries นั่นเอง ไม่น่าแปลกใจที่ประเพณีการกินมันฝรั่งหั่นเป็นท่อนเล็กยาวชิ้นโตเสิร์ฟคู่กับ mayonnaise และอาหารต่างๆ มากมายหลายรายการ เป็นธรรมเนียมรายการอาหารที่แสนภาคภูมิใจคู่ร้านอาหารเกือบทุกร้านของที่นี่

Waffles หรือขนมรังผึ้ง ที่หลายคนนิยมเป็นอาหารเช้า Belgium Waffles เป็นอาหารที่กินกันได้ทั้งวันมีเคล็ดลับที่ต้องเปิดเตาเหล็กพิมพ์ทิ้งไว้ให้ร้อนกว่า 10 นาทีเพื่อให้ได้ขนม Waffles ที่กรอบนอกนุ่มในขายทุกหัวมุมถนน จนมีสูตรเด็ดเรียก ซูเฟล่ หรือวาฟเฟิลโปะวิปครีมและสตรอเบอรี่สด

เบียร์ท้องถิ่นมากกว่า 350 ชนิดที่ผลิตขึ้นมาในประเทศมีตั้งแต่ระดับชาติและระดับครัวเรือนที่นิยมที่สุดเห็นจะได้แก่ Straffe Hendrik หรือ strong Henry ที่มีรสชาติเข้มข้นถึงใจคอเบียร์ท้องถิ่น หรือ Bud-Lite เบียร์รสอ่อนและสุภาพลงมา ถ้าอยากลองเบียร์แปลกๆ ก็มี Kriek เป็นรสเชอร์รี่แสนอร่อย หรือ Trappist เบียร์ดำผลิตโดยพระ เบียร์แต่ละชนิดเสิร์ฟในแก้วที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

แม้แต่ในโลกของศิลปะ ศตวรรษที่ 15-16 เบลเยียมถือเป็นศูนย์กลางของศิลปในยุค Renaissance ภาพวาดสไตล์เฟลมมิชกำเนิดที่นี่ ศิลปินคนสำคัญคือ Hubert van Eyck, Jan van Eyck, Hieronymus Bosch, Pieter Bruegel the Elder ตามมาด้วย Rubens และ Sir Anthony van Dyck ในศตวรรษที่ 17

สถาปนิกชาวเบลเยียม Victor Horta นับถือกันว่าเป็นต้นแบบของศิลปะ art nouveau ที่มีอิทธิพลกระจายไปทั่วยุโรปในศตวรรษที่ 20

โลกของวรรณกรรม Herge ชาวเบลเยียมคือผู้ให้กำเนิดการ์ตูนผจญภัย Tin Tin เด็กหนุ่มที่มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว ตั้งแต่ ค.ศ.1929 ในหนังสือพิมพ์ชื่อ "Le Petit Vingtieme" และกลายเป็นการ์ตูนคลาสสิกอมตะของโลกไปแล้ว

ทั้งหมดเป็นเพียงขุมทรัพย์ตามลายแทงที่ค้นเจอในเบลเยียมเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คิด เมื่อตั้งใจจะไปเยือนที่แห่งนี้อีกสักครั้งเพื่อค้นพบคำตอบให้กับคำถามที่ถูกถามเสมอว่า "ทำไมถึงไปเบลเยียม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us