Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 กรกฎาคม 2546
ศึกษาต้นแบบฟื้นฟูกิจการ "ไอซีซี" ผู้สานแนวคิด "บุญเกียรติ โชควัฒนา"             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
สหกรุ๊ป
บุญเกียรติ โชควัฒนา




ในบรรดาองค์กรธุรกิจที่ขึ้นชื่อในวงการ ไอซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งในองค์กรที่หลายคนจับตามอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการบริหารกิจการที่ผ่านมาหลายยุคใหม่ ในยุคที่ บุญเกียรติ โชควัฒนา เข้านั่งในตำแหน่งผู้บริหาร เขาสามารถฟื้นตัวเลขกำไรให้กิจการได้ถึง 1 พันล้านบาท ด้วยหลักการบริหารแบบจิตนิยม

บุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ไอซีซี อิน-เตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ใน เครือสหกรุ๊ป และสหพัฒนพิบูล ผู้เป็นน้องเล็กที่สุดในบรรดาทายาท ทั้ง 8 คนของเทียม โชควัฒนา เจ้าของและผู้ก่อตั้งกิจการทั้งหมด เปิด เผู้ยสูตรลับสู่ความสำเร็จที่สามารถ ฟื้นตัวเลขกำไรถึง 1 พันล้านบาทให้กลับคืนมาเท่ากับช่วงก่อนวิกฤต เศรษฐกิจ ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี นับเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้ใน ภาวะที่ประเทศชาติกำลังต้อง การกรณีศึกษาจากประสบการณ์ชีวิตจริง

จากประสบการณ์ 30 ปีของการทำงาน ผ่านการขึ้นลงของมรสุม เศรษฐกิจมานับไม่ถ้วนจนสามารถกลั่นออกมาเป็นหลักการบริหารที่ไม่มีในตำราวิชาเล่มไหน แต่เกิดจาก การลองผิดลองถูกมาชั่วชีวิต จนเชื่อมั่นว่านี่คือหลักคิด และวิธีการบริหารที่ได้ผู้ล เป็นบทเรียนนอกตำราที่ บุญเกียรติ เรียกว่า MOP ซึ่งเขาเชื่อว่าสามารถนำไปใช้ได้ไม่ว่า จะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่ หรือแม้ กระทั่งนำไปใช้ในชีวิตส่วนตัว

บุญเกียรติ กล่าวว่า MOP เป็นกระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของกิจการและกำหนดวิธีการติดตามให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ อย่างชัดเจน MOP จึงย่อมาจากคำว่า MISSION หรือพันธกิจ , OBJECTIVES หรือจุดมุ่งหมาย และ POLICY ที่แปลว่านโยบาย ซึ่งไม่ใช่เป็นของใหม่ เพียงแต่ต้องกำหนดขึ้นจากการมองกิจการอย่าง ครบคลุม คือ มองทั้งจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคนั่นคือการวิเคราะห์กิจการ แบบ SWOT ANALYSIS นั่งเอง แต่ต้องกำหนดกรอบเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนหรืออาจเรียกว่าเจ้าภาพก็ได้

ที่สำคัญคือ MISSION หรือ พันธกิจ ต้องตั้งไว้สำหรับ 1 ปีเท่า นั้น และมีน้อยข้อแต่ต้องตั้งแบบชัดเจนที่คนรับรู้ เข้าใจ และจดจำได้ และจะต้องเป็นเรื่องที่ดีต่อกิจการ ส่วน OBJECTIVES หรือ จุดมุ่งหมาย เป็นสิ่งที่ต้องบรรลุเพื่อ สนับสนุนให้ MISSION เป็นจริง ซึ่งจะมีหลายข้อก็ได้แต่ต้องกำหนด ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อประเมินผู้ลได้และตัวสุดท้าย POLICY ที่แปล ว่านโยบาย เป็นแนวปฎิบัติหรือทิศ ทางที่กิจการจะมุ่งไปข้างหน้า

"เชื่อว่าทุกคนคงเห็นด้วยว่า MOP ไม่ใช่ของใหม่เพราะมีหนังสือ หลายสิบเล่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมี หลายหลักสูตรที่จัดทำภายใต้ชื่อต่างๆ เช่น STRATEGIC PLANNING SEMINER หรือการวาง แผู้นกลยุทธ์ ที่ดร.สมชาย ภคภาสน์ วิวัฒน์ เป็นผู้บรรยายหรือของผู้อื่น อีกมาก"

บุญเกียรติ กล่าวว่าต้องนำเอา หลักความเข้าใจเรื่องจิตใต้สำนักมา ประกอบการและเป็นตัวสนับสนุนด้วยโดยแนะนำให้ยึดหลักสำคัญ 4 ข้อคือ มุ่งมั่น อย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อ ตั้งใจว่าจะทำอะไรแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จโดยไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ มั่นใจว่าเรามีวิธีการ เรามีความสามารถ มีพลังที่ดึงให้คนอื่นมาช่วย เราได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ต่อไปก็คือ ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวอุปสรรคทั้งปวง ไม่ห่วงอนาคตตัวเอง ไม่กลัวคำกล่าวว่าติเตียน ไม่กลัวที่จะเผชิญ หน้ากับทุกๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้น

ประการสุดท้ายก็คือ คิดบวก คิดอยู่เสมอว่าเราทำสำเร็จได้แน่นอน คิดว่าทุกคนจะต้องอยาก มาช่วยเรา คิดว่าผู้ร่วมงานทุกคนเป็นขุมพลังที่ดีที่จะทำให้บรรลุ MISSION ได้ กิจการจะต้องชื่นชม ผู้ลงานของเรา เราจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า สิ่งที่เราทำอยู่นี้จะไม่ ยากเกินความรู้ ความสามารถหลัก จิตใต้สำนึกทั้งหมดนี้คือหัวใจสำคัญที่ บุญเกียรติเรียกว่าการบริหารแบบจิตนิยม คือทุกอย่างขึ้น อยู่กับจิตใจที่มุ่งมั่น คิดบวก และไม่กลัว

จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุด ของความสำเร็จในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการดำเนินการตลอดจนติดตามผู้ลสำเร็จคือ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อของ ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั่น การอบรม หรือสัมมนาทางวิชาการใดๆ แม้จะมีคุณค่ายอดเยี่ยมแค่ไหนก็ เป็นเพียงแค่ตัวจุดประกายให้ เกิดการเรียนรู้ การสั่งสม และการนำไปปฏิบัติ แต่หากผู้เรียนรู้แล้วไม่นำไปปฏิบัติก็จะเป็นการสูญเปล่าทางการลงทุนในด้าน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกิจการซึ่งน่าเสียดายเงินทอง และเวลาเป็นที่สุด

มาถึงวันนี้ มาเริ่มต้นด้วยการ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยน แปลงที่ดีกันดีกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us