รัฐบาลกำลังผลักดันให้เพิ่มมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทย ให้ใหญ่ขึ้นโดยผลักดัน 60 รัฐวิสาหกิจ
ที่เน้นกำไร-รับใช้สังคม มูลค่าทรัพย์ สินรวมกว่า 3 ล้านล้านบาท จดทะเบียนในตลาดฯต่อเนื่อง
เพื่อผลักดันมาร์เกตแคปตลาดฯ ไทยเทียบเท่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ที่ประมาณ 5 ล้านล้านบาทภายในอีก
ประมาณ 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะหมดเทอมแรกของรัฐบาลทักษิณ
ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังเป็นผู้นำทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมาต่างชาติเทขายหุ้นมูลค่า
3.69 พันล้านบาท ขณะที่ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ สัดส่วนนักลงทุนตลาดหุ้นไทยยังไม่สมดุล
ตั้งความหวังอยากเห็นสัดส่วนกองทุนสถาบัน ที่ปัจจุบันลงทุนเพียง 7-8% ของมูลค่าลงทุนรวมในตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน
เพิ่มขึ้นเท่าสัดส่วนการลงทุนต่างชาติที่ปัจจุบันอยู่ที่ 25% ด้านกองทุนตลาดหลัก
ทรัพย์ร่วม 10 โบรกเกอร์-บลจ. คาดได้ข้อสรุป ส.ค. กิตติรัตน์ แนะผู้ลงทุนซื้อหุ้นปันผลดี
ท่ามกลางดอก เบี้ยฝากติดลบ คาดกระทิงยังคงเดินหน้าทดสอบ 600 จุดแน่ภายในปีนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการจัดการบลจ. เอ็มเอฟซีในฐานะหนึ่งในกรรมการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงการคลัง กล่าวว่าจากประสบการของเขารัฐบาลชุดนี้ มีนโยบายเชิงรุกมากกว่าหลายๆ
รัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะการผลักดันรัฐวิสาหกิจให้ปรับปรุงการบริหารงานให้มีประสิทธิ
ภาพมากขึ้น ผ่านการแปรรูปเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หลังรัฐบาลประกาศใช้หนี้ประเทศคืนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary
Fund-ไอเอ็ม-เอฟ) หมดภายในเดือนนี้ ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดถึง 2 ปี
เพราะรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรปัจจุบันไม่ต้องทำตามใบสั่งไอเอ็มเอฟในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สั่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทยก่อน
หน้านี้ เพื่อหวังได้รับหนี้คืนเป็นจุดประสงค์หลัก
จุดประสงค์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลปัจจุบัน เขากล่าวว่ายังจะเป็นผลทำให้ตลาดหุ้นไทย
มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Capitalilization) ใหญ่ขึ้น เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้ง
ไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตก เพราะนักลงทุนกลุ่มหลังมีกำลังซื้อมาก
ขณะที่ปัจจุบันขนาดตลาดหุ้นไทยยังถือว่าเล็กมาก เมื่อเทียบมาตรฐานนักลงทุนตะวันตก
60 รสก.ทรัพย์สิน 3 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับแผนแม่บท (Master plan) พัฒนาตลาดทุนไทยของรัฐบาล ที่เน้นประมาณ
60 รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยปัจจุบัน ที่พร้อมจะแปรรูปเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเหล่านี้รวมถึงกว่าประมาณ 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ
70% ของมูลค่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ปัจจุบัน
จะทำให้มาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นไทยขยายตัวมาก กว่าปัจจุบันที่ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาทมาก
จะเพิ่มเสน่ห์ให้ตลาดหุ้นไทย ในสายตานักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนจากตะวันตกทันที
เพราะข้อเท็จจริง หากกองทุนต่างประเทศจะตั้งสำนักงานไม่ว่าประเทศใด จะมีต้นทุนคงที่
(Fixed costs) แต่ละประเทศพอๆ กัน ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานในไทยหรือญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นใหญ่กว่าไทยมาก
จึงน่าดึงดูดสำหรับ กองทุนตะวันตกมากกว่า
"รัฐบาลปัจจุบันตระหนักดีว่า หากตลาดหุ้นไทยยังเล็กกองทุนต่างประเทศใหญ่ๆ ก็จะมองข้าม
และไม่เข้ามาลงทุนเป้าหมายของรัฐบาลนี้ จึงต้องการทำให้ตลาดหุ้นไทยใหญ่ขึ้น" เขากล่าว
เป้าหมาย พ.ต.ท.ทักษิณต้องการผลักดันให้มาร์เก็ตแคปตลาด หุ้นไทยเพิ่มถึง 5 ล้านล้านบาท
เทียบเท่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ให้ได้ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะครบเทอมแรกรัฐบาลปัจจุบัน
2 กลุ่มรัฐวิสาหกิจ
ภายใต้แนวคิดของคณะกรรมการประเมินผลวิสาหกิจ นายพิชิตกล่าวว่าคณะกรรมการชุดนี้แบ่งรัฐวิสาหกิจเป็น
2 กลุ่ม คือรัฐวิสาหกิจที่มุ่งรับใช้สังคมเป็นหลักไม่เน้นทำกำไร เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ต้องให้บริการรถไฟชั้น
3 ราคาถูก เพื่อ บริการประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหรือสวนสัตว์ ดุสิตหรือพิพิธภัณฑ์
ซึ่งกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องแปรรูป
กลุ่มถัดมา คือรัฐวิสาหกิจที่เน้นทั้งด้านสังคม และการทำกำไร พร้อมๆ กัน เช่น
ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กลุ่มนี้จำเป็นต้องแปรรูป เพื่อผลักดันตลาดหุ้นไทยให้ใหญ่ขึ้น
โดยคณะกรรมการฯ ได้เริ่มต่อรองกับผู้บริหารรัฐวิสาหกิจต่างๆ กลุ่มนี้แล้วว่าควรบริหารรัฐวิสาหกิจ
ที่ตนรับผิดชอบ เพื่อให้ได้กำไรทั้งระยะสั้น กลาง ยาว เท่าไร รวมถึงการกระตุ้นให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจต่างๆ
ทุ่มเททำงานเพื่อองค์กรมากขึ้น แทนที่จะหาประโยชน์ ใส่ตน ซึ่งเป็นการขัดแย้งต่อผลประโยชน์
(Conflict of interest) ที่มักจะเกิดขึ้นปัจจุบัน
กระทิงเดินหน้าชน 600 จุดปลายปีนี้
"ผู้ลงทุนต่างชาติยังเป็นผู้นำตลาด ซึ่งการเทขายที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นสาเหตุจากปัจจัยต่างประเทศมาก
กว่า ซึ่งตลาดการเงินมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดทุน ขณะนี้เป็นเรื่องของความเชื่อมั่น
ณ วันนี้ ดัชนีอยู่ที่ 480 จุดต่อไปดัชนีมีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปยืน 600 จุดก็ไม่น่าจะยาก
ภายในปีนี้" นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) กล่าว
ปัจจุบัน เขากล่าวว่าผู้ลงทุนต่างชาติลงทุนตลาด หุ้นไทยประมาณ 1.6-1.8 พันล้านบาทต่อวัน
ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 500 ล้านบาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์อยากเห็นสัดส่วนที่สมดุลกัน
อาจต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี จึงจะบรรลุ เป้าหมายนี้
สาเหตุที่มั่นใจว่าตลาดฯจะสามารถฟื้นตัวกลับได้ เนื่องจาก 1-2 ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาฐานการเงินบริษัทจดทะเบียน
(บจ.) ไทย ฐานะดีขึ้นเห็นชัด สัดส่วนหนี้สินต่อทุนเฉลี่ยอดีต 4:1 ปัจจุบัน ลดเหลือ
2:1 เท่า
เหตุที่หนี้สินต่อทุนลดลง เพราะบจ.ระมัด ระวังก่อหนี้เพิ่ม ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารจะไม่ปล่อยสินเชื่อ
หากไม่แน่ใจว่าธุรกิจดี ประกอบกับแนวคิดเก่าๆ ของนายแบงก์ ที่เน้นปล่อยสินเชื่อ
โดยยึดทรัพย์สินค้ำประกันเป็นหลักแทนที่จะยึดการวิเคราะห์ แนวโน้มธุรกิจที่ขอกู้
รวมถึงการที่ดอกเบี้ยต่ำลง ทำให้หนี้ลดลงได้
นอกจากนี้ สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (พีอี) ตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน 8 เท่า ถือว่าต่ำสุดในเอเชีย
ซึ่ง ค่าเฉลี่ยพีอีตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชียประมาณ 14 เท่า นายกิตติรัตน์มั่นใจว่าระยะ
2 ปีข้างหน้า ค่าพีอีตลาด หุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นไปที่ 10 เท่าเท่านั้น
หากประชาชนลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น จะส่งผลสัดส่วนการลงทุนกองทุนสถาบันในประเทศ
เพิ่มขึ้นได้
แนะซื้อหุ้นปันผลดี
อย่างไรก็ตาม อดีตผู้จัดการกองทุนฝีมือดีกล่าวว่าแนวโน้มการลงทุนจากนี้ผู้ลงทุนควรต้องรอบ
คอบมากขึ้น หากพิจารณาว่าการลงทุนหุ้นเป็นทางเลือก แทนที่จะฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ควรเลือก
ลงทุนหุ้นที่ให้อัตราเงินปันผลดี เพราะอย่างน้อย ก็ได้อัตราผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบัน
ที่ดอกเบี้ยแท้จริงหลังหักเงินเฟ้อติดลบแล้ว
เขากล่าวว่าตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างตั้งกองทุนรวมลงทุนตลาดหุ้นไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือ
ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับบริษัท หลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการ
กองทุนรวม (บลจ.)
กองทุน 350 ล้านบาทสรุป ส.ค.
ตลาดหลักทรัพย์จะนำเงินลงทุนเพื่อตั้งกองทุน ประมาณ 350 ล้านบาท ขณะนี้ โบรกเกอร์และ
บลจ. ยื่นขอร่วมตั้งประมาณ 10 ราย จะสรุปผลว่าจะมีโบรกเกอร์และบลจ.เท่าใดช่วงต้นส.ค.นี้