Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กันยายน 2551
บริษัทร่วมทุนส่อขาดสภาพคล่องตปท.ถอนเงินกลับกระทบอสังหาฯเมืองท่องเที่ยว             
 


   
search resources

Real Estate
คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
ปฏิมา จีระแพทย์




พิษร้ายจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯยังลุกลามกระทบเศรษฐกิจโลก ผู้บริหารคอลลิเออร์ฯ ชี้ภาวะเงินตึงตัวหลังทุนอเมริกา-ยุโรป ดึงเงินกลับ ส่งผลอสังหาฯเมืองท่องเที่ยว บริษัทร่วมทุนต่างชาติชะลอการลงทุน ขยายโครงการ ยกเลิกซื้อที่ดินเปล่า โครงการเก่าสร้างต่อ ด้านสังหารายกลาง-เล็กร่วมทุนขาดสภาพคล่องดิ้นสู้หาพันธมิตรใหม่ หวังสานต่อโครงการในมือ ด้านบริษัทเอเจนซี่ฯ ระบุหากมีการเทขายสินทรัพย์เลห์แมนฯในไทย ไม่กระทบต่อราคาสินทรัพย์รวมของไทย เหตุมีมูลค่ารวมเพียง 7,300 ล้านบาท

นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่าการเกิดซับไพรม์ในอเมริกา ทำให้มีการดึงเงินลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียกลับไปที่บริษัทแม่ในสหรัฐฯ ส่งผลให้กลุ่มประเทศเอเชียหลายๆ ประเทศเกิดภาวะเงินตึงตัว โดยเฉพาะประเทศไทยที่เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวแล้ว แม้ว่าในช่วงก่อนหน้านั้น สถาบันการเงินจะมีการออกแคมเปญเงินฝาก และกิจกรรมต่างเพื่อระดมเงินฝากเข้าสู่ระบบไว้รองรับภาวะเงินตึงตัวก่อนหน้าแล้ว แต่ปัญหาของผู้ประกอบการอสังหาฯในตลาด รายกลาง รายเล็ก ทั้งรายใหม่ รายเดิมที่มีอยู่ในตลาดในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมาคือ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยกู้โครงการ

ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก รวมถือรายใหญ่บางรายในตลาด พยายามหาบริษัทร่วมทุนจากต่างชาติ เข้ามาพัฒนาเสริมสภาพคล่องการเงิน เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการใหม่ ทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ โรงแรม รีสอร์ท สำนักงานเช่า คอนโดฯ และโฮมสเตย์ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ภูเก็ต สมุย ชะอำ หัวหิน พัทยา นอกจากนี้ ยังมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาก่อตั้งบริษัทอสังหาฯ โดยมีคนไทยถือหุ้นร่วม เข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการเองร่วมอยู่ด้วย

ทั้งนี้ จากการดึงเงินลงทุนกลับของกลุ่มประเทศสหรัฐฯ และยุโรปที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการชะลอการซื้อ การลงทุน การทำสัญญาซื้อขายทั้งในส่วนของที่ดินเปล่า โครงการ และการขยายการพัฒนาโครงการในหลายๆ บริษัท ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นอยู่ การยืดระยะเวลาการทำสัญญานั้น เพื่อชะลอการจ่ายเงินออกไป ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการไทย และบริษัทร่วมทุนต่างๆ ต้องหาแหล่งเงินหรือผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาเสริมสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละบริษัท ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะช้าหรือนานอย่างไรนั้น ขึ้นกับสภาพคล่องของผู้ประกอบการแต่ละรายด้วย

“สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดกับบริษัทที่เกี่ยวเนื่อง หรือได้รับแหล่งเงินมาจากกลุ่มเลห์ แมนฯ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มทุนจากประเทศยุโรปซึ่งมีทิศทางไปในทางเดียวกันทั้งหมด ปัญหาที่ตามมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องในกรณีการค้างชำระเงินที่ยังจ่ายไม่ครบตามสัญญาซื้อขายของผู้ประกอบการและเจ้าของที่ดินรวมถึงการก่อสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว” นายปฏิมากล่าว

อนึ่งก่อนหน้านั้น บริษัท เดสติเนชัน พร็อพเพอร์ตี้ ก็เป็นบริษัททุนต่างชาติรายหนึ่งที่เข้ามาซื้อที่ดินในจังหวัดท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และซื้อโครงการเก่าเพื่อพัฒนาใหม่ และปล่อยเช่า เช่นกรณีการซื้อโรงแรมโกลด์เด้นแซนด์ ชะอำ ต่อจากบริษัท พีพี รีสอร์ท จำกัด ซึ่งยังมีการค้างชำระเงินตามสัญญาอีกประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการดึงเงินลงทุนกลับของกลุ่มเลห์แมน ซึ่งเป็นเส้นทางการเงินของผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าว

ขายสินทรัพย์เลห์แมนฯไม่กระทบ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวว่า กรณีของ บริษัท “เลห์แมน บราเธอร์ส” ล้มในสหรัฐฯนั้น ขณะนี้ยังไม่อาจสรุปได้ว่าจะมีผลกระทบต่อไทย แม้บริษัทนี้จะมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์สินสำคัญเช่น เมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ อิตัลไทย เมอร์คิวรีและวันแปซิฟิค ซึ่ง AREA คาดว่าจะมีมูลค่ารวมกันประมาณ 7,300 ล้านบาทนั้น หลายคนวิตกว่า หากมีการเทขาย อาจสร้างปัญหากระทบต่อราคาทรัพย์สินในประเทศไทย ข้อนี้เชื่อว่าจะยังไม่มีผลกระทบ เพราะมูลค่าไม่มากนัก และใช่ว่าบริษัทดังกล่าวหรือผู้ถือหุ้นบริษัทรายใหม่จะต้องขายทรัพย์สินดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

นอกจากนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยและตลาดสินเชื่อของไทยมีความระมัดระวังมากกว่า ผิดกับในสหรัฐอเมริกาที่ให้สินเชื่อเกินกว่า 100% ของมูลค่าหลักทรัพย์ รวมถึงการให้ผู้กู้ผ่อนเฉพาะดอกเบี้ยหรือให้เพิ่มวงเงินสินเชื่อตามราคาของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาสินเชื่อในสหรัฐอเมริกาน่าจะเกิดจากผู้ควบคุมกติกาหรือ Regulator ไม่ได้ทำหน้าที่ ปล่อยปละละเลยให้เกิดความหละหลวมทางการเงิน เช่นที่เคยเกิดวิกฤติมาก่อนหน้านี้ในสหรัฐฯเมื่อปี 2529-2533 ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า “Saving and Loans Crisis”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us