Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กันยายน 2551
แผนลงทุน10ปี'ราชบุรีโฮลดิ้ง'ทุ่ม8หมื่นล.ผลิตไฟเพิ่มเท่าตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
Electricity




ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯวางแผนลงทุน 10ปี ใช้เงินไม่น้อยกว่า 8 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 8.8 พันเมกะวัตต์เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบันที่ผลิต 4.3 พันเมกะวัตต์ แย้มได้เจรจาเข้าไปทำธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่มในลาว พม่า เขมร อินโดฯและเวียดนาม รวมถึงเข้าถือหุ้นในไอพีพีด้วย ชี้โครงการโรงไฟฟ้าในลาวดีเลย์ทำให้ไม่มีแผนออกหุ้นกู้ไปอีก 2-3ปีข้างหน้า ลุ้นกฟผ.ใจดีให้บริษัทฯเข้าร่วมถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าท่าซาง หลังพม่ายึดสิทธิการดำเนินการโรงไฟฟ้าดังกล่าวของเอ็มดีเอ็กซ์ให้กฟผ.ทำแทน

นายณรงค์ สีตสุรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า บริษัทฯจัดทำแผนธุรกิจ 10ปีข้างหน้า (2552-2561) บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 8,800 เมกะวัตต์ภายในปี 2559 จากปัจจุบันที่บริษัทฯมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 4,347 เมกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในต่างประเทศแล้วขายไฟฟ้าเข้าไทย โดยล่าสุดมีการเจรจาหลายโครงการทั้งในลาว พม่า กัมพูชา เวียดนามและอินโดนีเซีย โดยไม่รวมโครงการผลิตไฟฟ้าถ่านหินที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา หากการเจรจาบรรลุข้อตกลงโครงการดังกล่าวเชื่อว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็นกว่า 6,000 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการเจรจากับบริษัทได้ชนะการประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพีรอบใหม่นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปร่วมถือหุ้นโรงไฟฟ้าดังกล่าวในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 50% หากการลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้จะทำให้สัดส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศเพิ่มเป็น 50%จากประมาณการณ์เดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 30%

สำหรับแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากกระแสเงินสดจาการดำเนินงานซึ่งแต่ละปีจะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA)ประมาณ 1.1-1.2 หมื่นล้านบาท และการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งเดิมบริษัทฯมีแผนจะออกหุ้นกู้ในปีหน้า แต่เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าในลาวหลายโครงการได้เลื่อนโปรเจ็กต์ออกไป ทำให้ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินในช่วงนี้ ดังนั้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า บริษัทฯจึงค่อยพิจารณาที่จะออกหุ้นกู้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯเมื่อปี 2549 ได้อนุมัติให้บริษัทฯออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 7.5 พันล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯไม่ได้ออกหุ้นกู้เลย เพราะหลายโครงการล่าช้าออกไป

นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเร็วๆนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่ได้ประกาศยกเลิกบันทึกช่วยจำ (เอ็มโอยู) หลังจากไม่สามารถแก้เงื่อนไขการขอปรับขึ้นอัตราค่าไฟใหม่ได้ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 โครงการโรงไฟฟ้าหงสา โครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทิน 1 โครงการโรงไฟฟ้าน้ำอู และโครงการโรงไฟฟ้าน้ำเงี๊ยบ ซึ่งมี 2 โครงการโรงไฟฟ้าที่เป็นราชบุรีฯถือหุ้นอยู่ คือ โรงไฟฟ้าหงสาและโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 โดยจะมีการเจรจาค่าไฟใหม่ตามต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น 25-30% กับรัฐบาลไทย หากโครงการโรงไฟฟ้าหงสาสามารถตกลงค่าไฟและลงนามเอ็มโอยูได้ภายในสิ้นปีนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะแล้วเสร็จป้อนไฟเข้าระบบตามกำหนดเดิมคือปี 2556 ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำหากเลื่อนเอ็มโอยูออกไปไม่ว่าจะ2-3 เดือนก็คงต้องเลื่อนเวลาการส่งป้อนไฟฟ้าเข้าระบบออกไปเป็น 1ปี

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อยไม่ได้อยู่ในข่ายนี้ เพราะเพิ่งเสนอราคาค่าไฟไปให้กฟผ.พิจารณา ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าน้ำบากยังไม่ได้ยื่นเสนอราคาค่าไฟเลย

" จากนี้ไปโครงการโรงไฟฟ้าในลาวที่ถูกยกเลิกเอ็มโอยูนี้ ก็คงต้องเจรจาทำเซ็นเอ็มอูยูใหม่ โดยพิจารณาค่าไฟใหม่และเวลาส่งไฟเข้าระบบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นโรงไฟฟ้าเขื่อนหากดีเลย์ไป 3-6 เดือนก็ต้องเลื่อนออกไป 1ปี แต่หงสาเป็นโรงไฟฟ้าใช้ถ่านหิน จึงไม่มีปัญหาเรื่องนี้ หากเลื่อนไม่นานก็สามารถป้อนไฟเข้าระบบได้ตามกำหนดในปี 2556 "

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กฟผ.อยู่ระหว่างการทบทวนแผนความต้องการใช้ไฟฟ้า (PDP)ใหม่ โดยจะนำความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบและนอกระบบว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(PEAK)ในระบบลดลง แต่ค่าพลังงานที่จ่ายออกไปมากกว่าปีก่อน ขณะเดียวกันกฟผ.ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสำรองไฟฟ้าสูงกว่า 15% เนื่องจากต้องสำรองไฟให้กับการใช้ไฟฟ้านอกระบบ เนื่องจากผู้ประกอบการนิคมฯหรือสวนอุตสาหกรรมที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าขายให้โรงงานในนิคมฯได้มีการซื้อBACK UP จากระบบ ทำให้กฟผ.ต้องสำรองเพิ่ม ซึ่งถือเป็นภาระและไม่เป็นธรรมต่อกฟผ.

พม่ายกโครงการโรงไฟฟ้าท่าซางให้กฟผ.

นายณรงค์ กล่าวถึงโครงการโรงไฟฟ้าท่าซาง สหภาพพม่าว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้หยุดไปแล้ว โดยรัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนผู้ที่รับสิทธิเข้าไปดำเนินการจากเดิม คือบมจ. เอ็มดีเอ็กซ์ เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)แทน เพราะรัฐบาลพม่าอยากเร่งรัดโครงการดังกล่าว แต่เอ็มดีเอ็กซ์ดำเนินงานได้ไม่ทันใจ จึงยกโครงการให้กฟผ. และราชบุรีฯเข้ามาศึกษาโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้น จึงมีความเป็นไปได้ที่กฟผ.อาจจะให้บริษัทฯเข้ามาร่วมทุนโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ-ท่าซาง จะมีกำลังการผลิต 7,000 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าวได้วางศิลาฤกษ์ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการอะไร สุดท้ายรัฐบาลพม่าได้ยึดสิทธิการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้านี้ให้กับกฟผ.ไป

ปี52 รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์800ลบ.

สำหรับผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯคาดว่าจะมีกำไรสุทธิสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 6เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากครึ่งปีหลัง 2551 โรงไฟฟ้าราชบุรีไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ ทำให้ค่าความพร้อมจ่ายไม่ลดและไม่มีค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ในการเปลี่ยนซ่อม คงเป็นการหยุดตรวงวัดความดันเพียง 15 วันเท่านั้น โดยปีนี้จะมีกำไรขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบจากปีก่อน เนื่องจากรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าราชบุรี เพาเวอร์ที่เริ่มจ่ายไฟเข้าระบบเมื่อมิ.ย.ที่ผ่านมาประมาณ 400-500 ล้านบาท คาดว่าปีนี้บริษัทฯจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้สูงกว่าปีที่แล้วที่จ่ายปันผลไป 2.10 บาท/หุ้น

ในปี 2552 บริษัทฯคาดว่าจะมีกำไรสุทธิขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ เพราะรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์เต็มปี ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 700-800 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากโครงการนี้มีภาระหนี้อยู่ 480 ล้านเหรียญสหรัฐ

" ในช่วง 1-2ปีนี้ จะไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามา เว้นแต่โครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ที่จะจ่ายไฟเข้าระบบพ.ย. 2553 ทำให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิทรงตัวไปจนถึงปี 2553 ก่อนที่จะรับรู้รายได้ใหม่เข้ามา"

นายณรงค์ กล่าวถึงกรณีที่ราคาหุ้นRATCH ได้ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาว่า บริษัทฯไม่มีนโยบายที่จะซื้อหุ้นคืนจากตลาดฯ แม้ว่าจะมีการศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อนหน้านี้ เนื่องจากเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดปรับตัวลดลงทั้งกระดานไม่ใช่เฉพาะหุ้นRATCH เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นและไม่สมควรทำ เพราะเงื่อนไขการซื้อหุ้นคืนนั้นจะต้องมีการนำหุ้นดังกล่าวออกขายที่ตลาดฯหรือมิฉะนั้นก็ต้องลดทุนจดทะเบียนบริษัทตามจำนวนหุ้นที่ซื้อคืน ซึ่งบริษัทไม่มีแผนที่จะลดทุนฯและหากช่วงนั้นราคาหุ้นไม่กระเตื้อง ก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะซื้อคืนแต่อย่างใด

นอกจากนี้ บริษัทได้มีการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ต่างชาติถือหุ้นในRATCH จำนวน 210 ล้านหุ้นสูงกว่าเมื่อเดือนเม.ย. ที่ต่างชาติถือหุ้นอยู่ 209 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นต่างชาติถือหุ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us