Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กันยายน 2551
นักลงทุนชะลอเทรดหุ้นไทย รอผลแก้วิกฤตการเงินหลังต่างชาติขนเงินหนี             
 


   
search resources

Stock Exchange




นักลงทุนชะลอซื้อขายหุ้น เพื่อรอดูทิศทางการแก้ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ กดดันตลาดหุ้นไทยตกอยู่ในความเงียบเหงา ขณะที่นักลงทุนต่างชาติทิ้งต่ออีกกว่า 500 ล้านบาท ฉุดดัชนีร่วง 6.24 จุด ด้าน บล.บัวหลวง ระบุเม็ดเงินต่างชาติจากตะวันออกกลาง-เอเชีย ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยแทนยุโรป-สหรัฐฯ ที่ขนเงินออกไปเสริมสภาพคล่อง ขณะที่เฮดจ์ฟันด์ต้องประสบปัญหาขาดทุนถึงขั้นปิดกิจการไปหลายแห่ง ส่วนโบรกเกอร์ ยังไม่สามารถประเมินว่าปัญหาจะจบลงเมื่อใด แนะนักลงทุนเลือกลงทุนระยะยาวในหุ้นพื้นฐานดี

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (23 ก.ย.) นักลงทุนต่างสงวนท่าที่รอดูทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ กดดันให้ตลาดหุ้นไทยไม่ค่อยคึกคักมากนัก ขณะที่ดัชนียังคงปรับตัวลดลงจากวันก่อนอย่างต่อเนื่อง แม้จะปรับขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงเปิดตลาดภาคเช้า

โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 611.94 จุด และต่ำสุดที่ 606.32 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 608.25 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 6.24 จุด หรือคิดเป็น 1.02% มูลค่าการซื้อขายรวม 9,177.52 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 502.43 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 86.75 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 589.18 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนได้เทขายหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาหุ้นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับตัวลดลง คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ราคาปิดที่ 61.50 บาท ลดลงจากวันก่อน 2.00 บาท หรือคิดเป็น 3.15% ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ปิดที่ 100.00 บาท ลดลง 3.00 บาท หรือ 2.91% ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปิดที่ 67.50 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ 1.46% และธนาคารกรุงไทย (KTB) ปิดที่ 6.30 บาท ลดลง 0.20 บาท หรือ 3.08%

นายวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ (บล) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ BLS เปิดเผยว่า หลังจากเกิดวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ทำให้พฤติกรรมของนักลงทุนต่างประเทศทั้งกองทุนระยะยาว กองทุนเพื่อความมั่งคั่งที่จัดตั้งโดยรัฐบาล (เซอร์เวอร์เรนท์) มีระยะเวลาการลงทุนที่สั่นลง เพื่อระมัดระวังและลดความเสี่ยงมากขึ้น รวมทั้งจะย้ายพอร์ตการลงทุนหากประเทศนั้นๆ ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ

ขณะที่ กองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) ที่ผ่านมา ได้ประกาศปิดการไปแล้วหลายแห่ง จากภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลง ทำให้มีผลขาดทุน โดยเฮดจ์ฟันด์ที่มีผลขาดทุนสูงจะเป็นกลุ่มที่มีการกู้เงินมาลงทุน ซึ่งกู้ได้สูงถึง 32 เท่าของทุน แต่เมื่อประสบปัญหาจำเป็นที่ต้องคืนเงินทุน โดยปัจจุบันนี้การกู้เพื่อการลงทุนส่วนใหญ่จะให้กู้ได้ประมาณ 25-26 เท่าของทุน

ขณะเดียวกันเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น จะเปลี่ยนกลุ่มการเข้ามาลงทุนโดยจะเป็นเม็ดเงินจากนักลงทุนแถบตะวันออกกลาง และภูมิภาคเอเชีย แทนเงินทุนจากแถบอเมริกา ยุโรป ที่มีการขายหุ้นไทยออกไปเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินจากที่ประเทศดังกล่าวประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งไม่ได้เป็นการขายเพื่อทำกำไร

อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินที่เข้ามานั้นมีมูลค่าต่ำกว่าเม็ดเงินที่มีการขายหุ้นไทยออกไป แต่เม็ดเงินลงทุนของยุโรป อเมริกาก็ไม่ได้ทิ้งตลาดหุ้นไทย แต่หากเห็นโอกาสและมีความน่าสนใจเม็ดเงินกลับเข้ามาลงทุน แต่ในระยะสั้นจะยังไม่มีเม็ดเงินต่างประเทศกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย

“พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งที่เป็นกองทุนเซอร์เวอร์เรนท์ กองทุนระยะยยาว จะมีระยะเวลาการลงทุนที่สั่นลง และจะมีการตรวจสอบผลการลงทุนทุกๆ 3 เดือน ซึ่งหากไม่ดีก็จะมีการถอนเงินออก แต่หากยังให้ผลตอบแทนดีอยู่ ก็จะยังคงลงทุนต่อไป เม็ดต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทยนั้นจะเปลี่ยนกลุ่มเป็นแถบตะวันออกกลาง และประเทศภูมิภาคนี้ แทนเม็ดเงินจากยุโรป อเมริกา ”นายวิวัฒน์

นายวิวัฒน์ กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่เกิดวิกฤต ว่า การจัดตั้งกองทุนมูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นเม็ดเงินที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะสามารถครอบคลุมปัญหาได้ แต่ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อสหรัฐฯ เกิดปัญหานั้น จะใช้เวลา 1 ปี ตลาดจึงจะถึงจุดต่ำสุด ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลามากถึง 2 ปี จึงจะต่ำสุด ซึ่งการที่สหรัฐฯ เพิ่งออกมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องใช้เวลานานเหมือนกับในอดีตหรือไม่คงต้องประเมินสถานการณ์กันต่อไป

ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนในขณะนี้การลงทุนที่น่าสนใจ คือการลงทุนในทองคำ ถึงแม้จะมีความผันผวนสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ส่วนการลงทุนในน้ำมันนั้นราคาอาจจะมีการปรับตัวลดลงมาอีกได้ สินค้าเกษตรก็น่าสนใจ ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นหากเป็นการลงทุนระยะยาวน่าสนใจลงทุนได้ โดยนักลงทุนมีควรที่จะมีการกังวลในเรื่องปัจจัยระยะสั้น โดยเชื่อว่าหากมีการลงทุนและถือเป็นเวลา 1 ปี ผลตอบแทนน่าจะได้ประมาณ 10%

รอกรอบแก้วิกฤตสถาบันการเงิน

นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้สถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่มีปัญหาต้องขายหุ้นในภูมิภาคและทั่วโลกออกมา โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มธนาคาร และสื่อสาร ที่ราคาร่วงติดต่ำกันเป็นวันที่สอง

“หุ้นไทยปรับตัวลดลง 1% จากแรงกดดันการระบายหุ้นของนักลงทุนสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ระบายหุ้นที่มีอยู่ในพอร์ตทั่วเอเชีย และตลาดหุ้นทั่วโลกต่อเนื่องติดต่อเป็นวันที่ 2 ซึ่งแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศนั้นยังคงมีอยู่ต่อเนื่องจากปัญหาที่ยังไม่จบ และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะจบได้เมื่อไร ”นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยก็ยังคงปรับตัวลดลงต่อ จากแรงกดดันปัญหาสถาบันการเงินอเมริกา ซึ่งปัจจัยในประเทศนั้น แม้จะมีคณะรัฐมนตรีใหม่ก็ไม่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย เพราะปัจจัยหลักนั้นเป็นปัจจัยต่างประเทศ ซึ่งบริษัทประเมินแนวต้านที่ระดับ 614 จุด ซึ่งสามารถสูงกว่าได้ ดัชนีก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ที่ระดับ 630 จุด แต่ไม่สามารถอยู่ที่ระดับ614 จุด ดัชนีก็จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 590 จุด ในช่วง 1-2 วัน

นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาสถาบันการเงินที่ยังไม่จบส่งผลให้มีแรงขายหุ้นทั่วโลกเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยมีการขายหุ้นกลุ่มธนาคารออกมาจำนวนมาก เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

นอกจากนี้ ยังมีแรงขายหุ้นกลุ่มสื่อสารทั่วเอเชีย จากก่อนหน้านี้ 2-3 สัปดาห์หุ้นสื่อสารปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากเป็นหุ้นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสถาบันการเงิน และปัญหาการเมืองในประเทศ ทำให้นักลงทุนมีแรงขายทำกำไรระยะสั้น ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าการลงทุนของนักลงทุนจะลงทุนในระยะสั้นไม่ถือลงทุนนานจากที่มีความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น

สำหรับในเรื่องปัจจัยทางการเมืองเรื่องการตั้งครม.นั้น ไม่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย เพราะโฉมหน้ารัฐมนตรีต่างๆ ไม่แตกต่างไปจากโผรายชื่อที่มีอยู่ ทั้งรัฐมนตรีคลัง และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นบุคคลเดิมๆ

“ในช่วงระยะสั้นการลงทุนยังมีความเสี่ยงมาก นักลงทุนควรถือเงินสดไว้สูงๆ หากเป็นนักลงทุนที่ลงทุนได้นานมากกว่า 6 เดือน จะได้รับผลตอบแทนที่สูงคุ้มค่าความเสี่ยง จากที่มีได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงกว่าพันธบัตร โดยขณะนี้มีหุ้นจำนวนมากที่ให้ตอบแทนสูง นักลงทุนควรทยอยซื้อลงทุนครั้งละ 20 %”

นางสาวจิตติมา ยังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟาร์อีสท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ ( 23 ก.ย.) ค่อนข้างซบเซาตามทิศทางตลาดในต่างประเทศ จากปัญหาทางการเงินของสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งนักลงทุนยังรอดูนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนักลงทุนต่างประเทศได้เทขายหุ้นในกลุ่มธนาคารและกลุ่มสื่อสาร

สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าตลาดหุ้นยังคงเงียบเหงา เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกับปัญหาของสถาบันการเงินทั่วโลก โดยให้แนวรับที่ 597-603 จุด และแนวต้านที่ 607-610 จุด และให้จับตานโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาทางการเงิน รวมถึงคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล นายสมชาย วงสวัสดิ์ จึงแนะนักลงทุนควรชะลอการลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us