Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กันยายน 2551
เลื่อนฟื้นฟูเอสวี ลูกบ้านผวาล้มฯ บสท.พร้อมช่วย             
 


   
search resources

Real Estate
เครือสหวิริยา




มหากาฬโครงการเอส วี การ์เด้นท์ ของกลุ่มสหวิริยาวุ่นวายไม่จบ ผู้เสียหายซื้อห้องชุด เคลื่อนกดดันผู้บริหารกรมบังคับคดีและบสท.ยืดแผนฟื้นฟูอีก 1 ปี หลังครบในแผนฟื้นฟูมา6 ปีแล้ว ผู้ซื้อแฉ นอมินีซื้อห้องชุดคืนจากคนที่มีชื่อเสียงและลูกบ้านบางกลุ่ม หวังได้สิทธิในการโหวตมากขึ้น ด้านบสท.ระบุพร้อมดูแลและช่วยเหลือผู้ซื้อ ยันไม่ใช่เจ้าหนี้รายใหญ่มีคะแนนโหวตแค่ 27% กลุ่มสหวิริยา 21% เจ้าหนี้รายอื่นๆ 11% จวกเจ้าของโครงการ 6 ปีทำอะไรอยู่!

แม้ว่าจะล่วงเลยมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่สำหรับความทุกข์ของผู้ซื้อห้องชุดในโครงการ เอส วี การ์เด้นท์ ซึ่งเป็นโครงการของบริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด ธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือสหวิริยา ของตระกูล "วิริยะประไพกิจ" ซึ่งในอดีตเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ตั้งตระหง่านบนถนนพระราม 3 ใกล้ๆกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลให้โครงการต้องหยุดชะงักในการก่อสร้างลง เหลือไว้แต่เพียงโครงสร้างเหล็กที่สูง กลายเป็นอนุสรณ์สถานที่โชว์ให้เห็นถึง "ซาก"ของความเจริญของอสังหาฯในอดีต ขณะที่ ผู้ซื้อห้องชุดจริงที่เป็นมือแรก ต้องเก็บเงินออม จ่ายค่าดาวน์ให้แก่โครงการไปจนครบ 40% ของราคาขาย รวมเป็นเงินคราวๆประมาณ 2,850 ล้านบาท และมีผู้เสียหายที่ซื้อห้องชุดในโครงการเอส วี การ์เด้นท์ ในช่วงนั้นกว่า 1,000 คน

ล่าสุด กลุ่มผู้เสียหายจากโครงการนี้ประมาณ 60-70 คน ได้รวมตัวเรียกร้องขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานของรัฐ โดยในช่วงเวลา 09.00 น. ร่วมกลุ่มที่หน้าตึกโครงการเอส วี การ์เด้นท์ หลังจากในเวลา 11.00 น. ได้มารวมกลุ่มที่หน้ากรมบังคับคดี เพื่อให้ทางนายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรมบังคับคดี มารับฟังความเดือนร้อนของผู้เสียหาย และจากนั้นได้ไปชุมนุมหน้าตึกธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) เป็นที่ตั้งของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เสียหายต่างไม่พอใจกับการกระทำของกรมบังคับคดีและบสท. โดยชูแผ่นป้ายที่มีข้อความว่า "คนล้มบนฟูก บสท.ดูแล ประชาชนเสียหาย บสท.เมินเฉย ฟื้นฟูได้แต่กลับให้ล้มละลายเพื่อประโยชน์ใคร แต่ไปให้ความช่วยเหลือกับนายทุนที่ตั้งใจโกงประชาชน " ขณะเดียวกัน ต่างตำหนิอดีตเจ้าของโครงการ "โครตโกง"

หลังจากเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2551 ที่ทางเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ มีจดหมายเชิญลูกบ้าน(ฐานะเจ้าหนี้)ไปลงคะแนนโหวต ในการแก้ไขแผนของบริษัทแอสทแซท แพลนเนอร์ ที่โรงแรมรอยัลริวเวอร์ เพื่อขอแก้ไขแผนและขยายเวลาในการฟื้นฟูกิจการออกไปอีก 1 ปีนั้น ไม่ผ่าน เนื่องจากบสท. ในฐานะเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับแผน และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ของคดีสหวิริยาซิตี้ ก็ลงคะแนนไม่เห็นด้วยเช่นกัน ทำให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 คือ ลูกบ้านที่รวมกลุ่มกันต้องแพ้คะแนนโหวตในครั้งนี้ นั้นหมายความว่า บริษัทพระราม 3 แลนด์ฯ ลูกหนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย คดีหมายเลขแดงที่ 1307/2544 ศาลล้มละลายกลาง เพื่อทำการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ นำรายได้มาเฉลี่ยคืนเจ้าหนี้ที่มีหลักประกัน และเจ้าหนี้รายอื่นๆตามสิทธิ ทั้งนี้ ศาลได้ให้ไปฟังคำตัดสินของคดีในวันที่ 21 ต.ค.นี้ ที่ศาลล้มละลายกลาง อาคารกรุงเทพประกันภัย ชั้น 15 ถ.สาทร

นายสุรศักดิ์ จิตเพียรธรรม กรรมการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ซื้อห้องชุด เอส วี การ์เด้นท์ และเป็นหนึ่งในผู้เสียหาย กล่าวภายหลังการเข้าหารือกับอธิบดีกรมบังคับว่า ตัวแทนทางชรมรมได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายสิรวัต เพื่อขอคัดค้านผลโหวตในวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา พร้อมขอความเป็นธรรมให้ทางกรมบังคับคดีพิจารณาโหวต เพื่อขยายเวลาของแผนฟื้นฟูออกไปอีก 1 ปี (จากก่อนหน้านี้ ที่ลูกหนี้และผู้ซื้อห้องชุดอยู่ในความคุ้มครองของศาล โดยได้มีกระบวนการฟื้นฟูมาแล้ว 5 ปี และมีการต่อแผนฟื้นฟูอีก 1 ปี ตั้งแต่ปี 2550 จนมาครบเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา ) ซึ่งทางอธิบดีฯรับปากจะดูแลเรื่องให้ โดยให้ทางชมรมฯทำหนังสือมาถึงกรมบังคับคดี

หนึ่งในผู้เสียหายและเคยคลุกคลีกับการทำงานให้แก่โครงการเอส วี การ์เด้นท์ กล่าวเตือนว่า ใครที่คิดจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม อย่าซื้อโครงการกระดาษเปล่า เพราะจะไม่มีหลักประกันให้เมื่อเวลาเกิดปัญหา ไม่เหมือนเจ้าหนี้รายอื่นที่มีหลักประกัน แต่เราผู้ซื้อไม่มีหลักประกันเลย อย่างไรก็ตาม ทางลูกบ้านมีความกังวลว่า เมื่อลูกหนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและทางกรมบังคับคดีจะต้องดำเนินการขายทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว อาจจะได้ราคาที่ต่ำเกินกว่าเป็นจริง และอาจจะเป็นช่องทางที่ทำให้เจ้าของเดิมได้รับประโยชน์

"แม้ในช่วงที่ผ่านมา ลูกบ้านจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าหนี้ในการโหวตคะแนนเสียงมาก แต่กลับพบว่า มีการจัดตั้งตัวแทนแฝงหรือนอมินีมาซื้อห้องชุดคืนจากคนที่มีชื่อเสียงของลูกบ้านไป เช่น คนในตระกูลโสภณพนิช พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ซึ่งเท่าที่รู้มาซื้อไปคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของผู้เสียหาย ประมาณ 30 กว่ายูนิต โดยจ่ายคืน 20% ของเงินดาวน์ที่ชำระแก่โครงการ 40% "ผู้เสียหายรายหนึ่งกล่าวและว่า สำหรับผู้เสียหายจากโครงการนี้มีประมาณ 1,000 ราย ได้จ่ายดาวน์ให้แก่โครงการประมาณ 2,850 ล้านบาท คอนโดฯมี 4 ตึกสูงตึกละ 42 ชั้น ราคาขายในช่วงนั้น 2 ล้านบาทขึ้นไป

สำหรับรายละเอียดของหนังสือที่ส่งถึงอธิบดีกรมบังคับคดี นางวัชรี วรรักษ์กุล และนายสุรศักดิ์ จิตเพียรธรรม ในฐานะแกนนำของตัวแทนเจ้าหนี้กลุ่ม ระบุว่า การที่เจ้าพนักพิทักษ์ทรัพย์ลงคะแนนเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด ไม่เห็นชอบตามแผนแก้ไขดังกล่าว จนอาจนำไปสู่ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ อันเป็นผลที่จะต้องนำทรัพย์สินของบริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด ขายทอดตลาด และนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ โดยจะต้องชำระให้แก่หนี้ประกันลำดับแรก คือ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 เจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ใช่บสท.มีจำนวนหนี้ประมาณ 919.245 ล้านบาท และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้มีประกันบสท. มีจำนวน 2,909.594 ล้านบาท แต่ปรากฎว่า บริษัทพระราม 3 แลนด์ จำกัด มีทรัพย์สินเฉพาะเป็นที่ดินซึ่งติดจำนองกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 และที่ 4 อยู่ประมาณ 605.812 ล้านบาท ดังนั้น โอกาสเงินที่ได้จากการขายตลอด แล้วนำมาชำระแก่เจ้าหนี้มีประกันทั้งหมด ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีประกัน( รวมถึงเจ้าหนี้รายที่ 1011 บริษัท สหวิริยา ซิตี้ จำกัด ) ไม่ได้รับชำระหนี้เลย เป็นหนี้สูญทั้งหมด ดังนั้น เมื่อ บริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด เข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว บสท.จะได้รับผลประโยชน์ เพราะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน

บิ๊กบสท.พร้อมช่วยเหลือ ยันไม่ใช่เจ้าหนี้ใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานจากหน้าอาคารเอ็กซิมแบงก์ว่า นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการบสท.ได้กล่าวชี้แจงกับผู้มาร้องเรียนว่า จริงๆแล้ว คงมีความเข้าใจผิดคิดว่าบสท.เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วนที่มีอำนาจโหวตคะแนนเกินกว่า 50% ตรงนี้ไม่ใช่ เพราะตามโครงสร้างเจ้าหนี้แล้ว ทางบสท.มีสัดส่วนความเป็นเจ้าหนี้ 27% กลุ่มสหวิริยา 21% สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้หลายแห่งรวมกัน 11% ลูกบ้านประมาณ 30% และอื่นๆซึ่งรวมเจ้าหนี้การค้าอีก 10% แต่ถึงกระนั้น ทางบสท.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ซื้อตัวจริงอย่างเต็มที่

" บสท.พร้อมให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ซึ่งลูกบ้านยังมีช่องทาง หากว่าในวันที่ 21 ต.ค.นี้ ศาลสั่งให้ลูกหนี้คือ บริษัท พระราม 3 แลนด์ ล้มละลายแล้ว ก็ยังอุทธรณ์คัดค้านได้ "

ลูกหนี้(สหวิริยา)จริงใจแค่ไหน

ผู้เกี่ยวข้องรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าศาลจะให้คุ้มครองลูกหนี้และผู้ซื้อโครงการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ทางเจ้าหนี้ก็ยอมรับสภาพและให้โอกาสสหวิริยา เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว และหาผู้ร่วมทุนในกาพัฒนาโครงการให้แล้ว แต่มาถึงวันนี้ ก็พิสูจน์เจตนาที่ชัดเจนของลูกหนี้ได้เป็นอย่างดี

"จริงๆแล้ว หาก 6 ปีที่ผ่านมา ถ้าสหวิริยาไปสร้างโครงการคอนโดมิเนียมให้แล้วเสร็จ ก็คงไม่มีปัญหาเหมือนวันนี้ ถามว่าเจ้าหนี้รวมได้อะไร ก็ได้ให้โอกาสแก่ลูกหนี้ แต่ถึงวันนี้ ก็ควรเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะดำเนินการ เพื่อเคลียร์ปัญหาดังกล่าว โครงการเอส วี การ์เด้นท์ ราคาประเมินออกมา 1,000 ล้านบาท จ่ายเจ้าหนี้ไป 300-400 ล้านบาท ที่เหลือก็ให้ลูกบ้าน ตรงนี้ก็พอยอมรับได้ แต่ขณะนี้เรารับไม่ได้ กฎหมายก็ดูแลมา 6 ปีแล้ว และหลังจากนี้ เมื่อลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย นั่นหมายความว่า สิทธิของลูกบ้านที่ซื้อห้องชุดไว้ ก็หมดสภาพตามกฎหมาย การที่จะดูแล ผู้ซื้อห้องชุดโครงการนี้ต่อไป เป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก เพราะกระบวนการต้องเริ่มตั้งแต่การก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จ แล้วหาผู้ร่วมทุน ขณะเดียวกัน เจ้าหนี้ไม่มีแค่รายเดียว มีหลายแบงก์ ต้องคุยกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จริงๆแล้ว ผู้ซื้อห้องชุดในโครงการ ก็ควรรู้ว่า เจ้าหนี้ให้เวลาสหวิริยาแล้ว คุณต้องกลับไปถามว่า สหวิริยาบริสุทธิ์ใจแก่เจ้าหนี้และผู้เสียหายที่ซื้อห้องชุดโครงการมากแค่ไหน "   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us