|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" วางเป้าสิ้นปีเริ่มรับเม็ดเงินค่าฟีจากสมาชิกประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าสรรหาบุคลากรมาดำเนินงาน ควบคู่กับการออกข้อบังคับ และวางกอบการลงทุนของเม็ดเงินที่เน้นความเสี่ยงต่ำ อัดแบงก์เจ้าเล่ห์ ลักไก่หาผลประโยชน์ช่องว่างกฏหมาย ชวนลูกค้าซื้อบี/อีฟันยิลด์สูง พอมีปัญหาเปลี่ยนกลับเป็นเงินฝากเพื่อรับการคุ้มครอง ชี้ผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข เตรียมหารือธปท.หาทางสกัดกั้น
นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เปิดเผยว่า สถาบันแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินงานมาพร้อมกับการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ซึ่งขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากธปท.เข้ามาช่วยปฏิบัติงานทั้งสิ้น 14 ราย ซึ่งเร่องแรกที่สถาบันต้องรีบดำเนินการ คือการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำงานเพิ่มเติม
"ก่อนสถาบันเริ่มดำเนินงานคนของแบงก์ชาติ ได้เข้ามาช่วยเตรียมงานก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งเรื่องต่อไปเราต้องทำการประกาศและสอบคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานเพิ่มเติม ซึ่งเรื่องนี้ต้องผ่านการเห็นชอบของบอร์ดด้วย"
ทั้งนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้รับอนุมัติงบประมาณขั้นต้นในการก่อตั้งสำนักงานจากงบประมาณแผ่นดิน กระทรวงการคลัง จำนวน 100 ล้านบาท และเมื่อสถาบันเริ่มเปิดดำเนินงานได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีกประมาณ 200 กว่าล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดำเนินงาน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสรรหาบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้นประมาณ 350 ล้านบาท และในอนาคตสำนักงานจะมีงบประมาณเพื่อนำมาใช้บริหารจากกึ่งหนึ่งของผลกำไรของการดำเนินงานของเงินกองทุนที่ได้รับมาจากสมาชิก"
โดย หน้าที่ในการดำเนินงานของสถาบันประกอบไปด้วย การคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝาก โดยจะจ่ายคืนเงินฝากตามจำนวนที่ฝากไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่คุ้มครอง รวมทั้งติดตามฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก พร้อมกับประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อร่วมกันดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีสเถียรภาพ และชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ
สำหรับแผนดำเนินงานระยะสั้น นอกเหนือจากการสรรหาบุคลากรแล้ว สถาบันฯจะดำเนินการออกข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การเรียกเก็บเงินนำส่ง ประเภทเงิน ฝากที่ได้รับการคุ้มครอง การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง
ส่วนแผนระยะต่อไป สถาบันจะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุ้ทครองเงินฝากพร้อมจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยสะดวก
ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก กล่าวถึงการเรียกเก็บเงินนำส่งของสถาบันการเงินต่างๆ ว่า คณะกรรมการของสถาบันได้กำหนดอัตราเงินนำส่งช่วงแรกไว้ที่0.4%ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสถาบันการเงิน (FIDF) โดยขณะนี้ได้นำพเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้
"เราได้ส่งเรตอัตราการเรียกเก็ยในช่วงเริ่มเปิดดำเนินงานแก่กระทรวงการคลังไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไปทางกระทรวงการคลังจะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทำการพิจารณา หากได้รับการอนุมัติ ก็จะถูกนำเสนอให้สำนักงานพระราชกฤษฎีกาต่อไป "
อย่างไรก็ตาม อัตราการเรียกเก็บ0.4% เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันฯกล่าวว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมได้ แต่ในครั้งแรกสมาชิกทุกรายต้องนำส่งเงินในอัตราเดียวกันทั้งหมด และต่อไปอาจกำหนดให้มีความแตกต่างกันได้ตามประเภทและฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งความว่าจะเริ่มรับรู้จำนวนเงินกล่าวได้ในช่วงสิ้นปี 2551 ประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนของเงินที่ได้รับมาจากสมาชิก จะถูกนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปลงทุนหาผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งยังไม่เป็นที่สรุปว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด โดยทางสำนักงานต้องกำหนดกรอบและนโยบายการลงทุนเสนอคณะกรรมการให้พิจารณาเสียก่อน ในที่นี้รวมถึงแนวคิดการจัดจ้างบริษัทจัดการลงทุนเข้ามาบริหาร หรือบริหารการลงทุนด้วยสำนักงานฯเอง
แต่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝากยืนยันว่า จำนวนเงินที่ได้รับมาจะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งหมายถึงการลงทุนผ่านตราสารหนี้ พันธบัตรของรัฐบาลในประเทศไทย ส่วนหุ้นแม้ให้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความผันผวนมากในช่วงแรกนี้จึงไม่มีแนวคิดเข้าลงทุนผ่านช่องทางดังกล่าว เช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ
"ระบบคุ้มครองเงินฝาก จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน เพราะการคุ้มครองเที่จำกัดวงเงินจะทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการเลือกใช้บริการ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเองจะมีการพัฒนาเชิงคุณภาพและบริการ อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีการแข่งขันในเชิงทคุณภาพ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือของผู้ฝากเงิน"นายสิงหะ กล่าว
นายสิงหะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้พบว่ามีสถาบันการเงินบางแห่งกระทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข ด้วยการชักชวนลูกค้าที่ฝากเงินมาลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นตั๋วบี/อี แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยในช่วงปกติลูกค้าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง แต่พอเกิดวิกฤตหรือปัจจัยเสี่ยงก็จะโยกเงินลงทุนดังกล่าวให้กลับมาเป็นการฝากเงินเช่นเดิม เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ซึ่งถือว่าผิดหลักเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ในการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยทางสถาบันฯ และธปท.กำลังติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีแนวคิดจะจัดเก็บค่าฟีจากการลงทุนผ่าน ตราสารประเภทนี้ เพื่อปิดช่องการฉวยโอกาสนำช่องว่างทางกฏหมายมาหาผลประโยชน์
นอกจากนี้ ในส่วนผลกระทบวิกฤตสถาบันการเงิน สหรัฐอเมริกา ผอ.สถาบันฯ กล่าวยืนยันว่าระบบสถาบันการเงินของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังและธปทฬได้ให้ความมั่นใจ ว่ามีการเกี่ยวข้องกับเลห์แมน บราเธอร์สไม่มาก และสามารถดูแลแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เช่นเดียวกับคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ให้ความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวไม่กระทบกับการประกอบธุรกิจประกันไทยของบริษัทในไทย อย่างไรก็ดีไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
|
|
 |
|
|