Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 กันยายน 2551
แปลงสูตรลัด 4 องค์กร ผลิตคนเปี่ยมความสุข             
 


   
www resources

Toyota (Thailand) Homepage
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บจก.
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Knowledge and Theory
ซี.พี. ออลล์, บมจ.




*Healthy Organization รอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากพนักงานสร้างได้อย่างเห็นผล
*"Toyota Way." พื้นฐานความรักแบบตะวันออกพร้อมผลิบานทุกมุมโลก
*"ซีพี ออลล์" ปูทางคนรุ่นใหม่ผ่านครอบครัวปัญญาภิวัฒน์ ด้าน "SCG" วางเส้นทางโกอินเตอร์
*"สมบูรณ์" กรุยทางธุรกิจวางคุณสมบัติพนักงาน Head , Heart , Heands on , Guts

ในภาวะที่ตรึงเครียดองค์กรหลายแห่งอาจสนใจในด้านรายรับและรายจ่ายมากกว่าสุขภาพด้านจิตใจและความเป็นอยู่ของพนักงาน จนอาจจะเป็นตัวบั่นทอนการพัฒนาคนทำงานให้แข่งขันได้ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจที่ดุเดือด ซึ่งวันนี้หลายองค์กรคงทราบดีถึงการสร้างความสุขทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานผ่านโมเดล Healthy Organization แต่หากไม่เน้นย้ำการทำงานเหล่านี้อาจทำให้หน่วยงานติดหล่มได้

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ จัดสัมมนาเรื่อง International Forum 2008 Healthy Organization towards Sustainable Growth ขึ้น เพื่อตอกย้ำถึงแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนสูง เพียงผู้บริหารใช้ใจและลงมือทำอย่างจริงจัง

เปิดความแกร่ง 'โตโยต้า' ด้วยวัฒนธรรมองค์กร

"พนักงานเป็นผู้ผลิตรถยนต์ จึงจำเป็นที่เราต้องพัฒนาคน ดังนั้นโตโยต้าต้องใส่ใจในการบริหารบุคคล"

Eiji toyoda อดีตประธานบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (TMC) ปี ค.ศ. 1976-1982 เน้นย้ำแนวคิดนี้จนเป็นรากฐานอันแข็งแกร่ง และเขาก็พบว่าเทคโนโลยีไม่ใช่คำตอบของค่ายรถแห่งแดนอาทิตย์อุทัย ในทางกลับกัน "คน" เป็นฟันเฟืองหลักที่จะทำให้องค์กรมีความสุขและเติบโตอย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกับ "สมศักดิ์ ชาญชัยศรีสกุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ยอมรับว่าแนวคิดการพัฒนาบุคคลกลายเป็น DNA ของบริษัทที่ไม่ว่าโรงงานจะตั้งอยู่ซอกมุมใดของโลกการทำงานของพนักงานต้องเป็นไปตามแนวทาง Toyota Way

ซึ่งประกอบด้วย 1."การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" (Continuous Improvement) ทำสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด และพัฒนาการทำงานอย่างไม่หยุดยั้งตามแนวทาง Kaizen ตลอดจนต้องสร้างทีมงานที่เข็มแข็งโดยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเกิดความรู้ใหม่ๆ

2. "เคารพนับถือกันและกัน" (Respect for People) ใแสดงความคิดเห็นเมื่อเจอปัญหาให้ได้แนวทางที่ดีที่สุด

สมศักดิ์ กล่าวถึง การพัฒนาบุคลากรทุกคนต้องเรียนรู้แนวทางการทำงาน PDCA คือ P=Plan วางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น, D = Do ปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบ, C = Check ตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น, A = Action ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหาหรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

สมศักดิ์ กล่าวว่า การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพราะต้องเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นคือ Corporate Level โดยให้ประธานบริษัทพรีเซนต์ให้พนักงานรับฟังถึงวิสัยทัศน์และประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ขั้นต่อมา Group Level ซึ่งเป็นแนวทางในการให้ผู้บริหารพาพนักงานไปรู้จักกับครอบครัวด้วยการพาไปกินข้าวที่บ้าน ขั้นสุดท้าย Individual Level เป็นการพูดคุยกันโดยตรงซึ่งจะเป็นการสื่อสารที่ได้ผลอย่างชัดเจน

"เป้าหมายการบริหารจัดการบุคคลโดยโมเดล Healthy Organization เป็นผลมาจากการที่องค์กรต้องการไปสู่การเป็นองค์กรในฝันของคนทำงาน หรือ Most Admired Company"

ซีพี ออลล์ พัฒนาคนด้วยเบ้าหลอมการศึกษา

"เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ" นี่เป็นปรัชญาในความหมายของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) แนวคิดง่ายๆ ที่บ่งบอกถึงการนำโมเดล Healthy Organization มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการที่ภาพรวมของธุรกิจมีการเทิร์นโอเวอร์ของพนักงานสูง

"พูนธนา มุสิกบุญเลิศ" ผู้จัดการบริหารโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มองว่า จากปัจจัยที่พนักงานลาออกสูงเฉลี่ยปีละ 50% ทำให้องค์กรเสียค่าใช้จ่ายในการหาพนักงานใหม่มาแทน ทั้งทักษะการทำงานต้องสอนใหม่ทั้งหมดทำให้องค์กรไม่เกิดการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาคนบริการที่ดีต้องมาจากจิตใจที่พร้อมจะให้บริการ

ดังนั้น โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ฯ จึงเกิดขึ้นเพื่อปิดจุดอ่อนในการพัฒนาคน คนที่จบมาในระดับบริหารและปฏิบัติการสามารถทำงานได้ทันทีและมีเป้าหมายที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทต้องการพัฒนาพนักงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อไปทำงานในต่างประเทศด้วย

พูนธนา กล่าวว่า อนาคต 70% จะรับพนักงานที่ผ่านการเรียนจากสถาบันของบริษัท ซึ่งขณะนี้มีกว่า 20 ศูนย์การเรียนทั่วประเทศ โดยคนเหล่านี้จะขับเคลื่อนองค์กรที่เข้มแข็งภายใต้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกันซึ่งไม่ว่าจะเจอภาวะวิกฤตอะไร คนเหล่านี้ก็จะมีการทำงานเป็นทีมเพราะมีความผูกพันเหมือนครอบครัวที่เรียนจบจากสถาบันเดียวกัน

"โลกอนาคตการแข่งขันขององค์กรในการสร้างบุคคลที่ตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานเป็นเรื่องที่สำคัญแม้องค์กรจะมีเงินในการซื้อคนเก่ง แต่ก็ไม่ได้ใจเขาโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ดั้งนั้นการสร้างสถาบันศึกษาขึ้นมาก็เป็นเหมือนเบ้าหลอมคนให้เป็นทิศทางเดียวกัน" พูนธนา กล่าว

"สมบูรณ์" โตอย่างมั่นคงแบบไทยๆ กว่า 2 เจเนอเรชั่น

ย้อนกลับไปเกือบ 60 ปีก่อนใครจะรู้ว่าแนวคิดการบริหารคนแบบ "กงสี" ตามวิถีทางแบบไทยๆ จะเป็นรากฐานอันมั่นคงให้กับ บริษัท สมบูรณ์ แอ็ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ที่วันนี้ก้าวมาสู่นักบริหารในเจเนอเรชั่นที่ 2

ดร.อัศนียา สุวรรณศิริกุล ที่ปรึกษา บริษัท สมบูรณ์ แอ็ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) มองว่าองค์กรเองเดิมบริหารด้วยวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ ก็ยังต้องมีการผสมผสานบุคลากรรุ่นใหม่หรือนักบริหารมืออาชีพที่ไม่ได้มาจากครอบครัว หรือเรียกว่า "ยุคเลือดจาง"

ซึ่งเธอเป็นผู้หนึ่งที่เข้ามาในยุคนี้ ที่ต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงานรุ่นเก่าให้เข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลง และสร้างศักยภาพคนรุ่นเก่าโดยเป็นโค้ชซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ ทำให้พนักงานเดิมมีขวัญกำลังใจ และเป็นการเรียนลัดโดยไม่ต้องทำงานเป็น 10 ปีก็สามารถเรียนรู้ได้

ในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้ทันกับการแข่งขันต้องประกอบด้วย 4 ปัจจัยเชิงรุกได้แก่

1. Head มีการจัดการความรู้ในสิ่งที่ตนถนัดอย่างเป็นระบบและพัฒนาเพื่อต่อยอดไปได้ในอนาคต

2. Heart สร้างความรักของพนักงานที่มีต่อองค์กรด้วยการนำกิจกรรมที่ร่วมกับชุมชนมาเป็นตัวประสาน

3. Heads on มีการลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดการซึมซับความรู้และแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเจอปัญหาในการทำงาน

4. Guts พนักงานต้องมีคุณสมบัติ อึด บากบั่น กล้าหาญ มุ่งมั่น อดทน ซึ่งเป็นแนวทางที่องค์กรต้องการโดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ๆที่มีความอดทนน้อย

"แนวทางการพัฒนาเหล่านี้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์กรเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ต้องค่อยๆ สร้างภูมิต้านทานด้านความรู้ให้กับคนเพื่อนำพาองค์กรไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน"

เอสซีจี ปั้นคน รับการเติบโต

มนูญ สรรค์คุณากร ผู้อำนวยการสำนักงานการบุคคลกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เน้นย้ำถึงเป้าหมายการสร้างคนเพื่อรองรับการขยายธุรกิจในต่างประเทศต้องมีแนวทางการทำงานในทิศทางเดียวกัน โดยมีการรีแบรนด์ดิ้งบริษัทในเครือภายใต้ชื่อ "เครือเอสซีจี" มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรให้เป็น "คนเก่งและดี" โดยการที่จะก้าวไปสู่ต่างประเทศได้ต้องมีความคิดนอกกรอบในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นของตนเอง

โดยอีก 5 ปี บริษัทเตรียมจะรับพนักงานต่างชาติเพิ่มอีก 3,000 คน โดยจะรับพนักใหม่ที่เป็นคนไทยลดลง ซึ่งอนาคตบริษัทมุ่นเน้นการสร้างนวัตกรรมโดยตั้งเป้าว่าอีก 3 ปี ต้องมีพนักงานที่จบระดับปริญญาเอก 100 คน ขณะเดียวกันก็พัฒนาพนักงานเดิมโดยการส่งไปเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

"กว่า 95 ปีที่บริษัทพยายามพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งด้วยศักยภาพของด้วยความเป็นพี่เป็นน้องเอาใจใส่และให้ความรักแก่กันนั้นย่อมเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาองค์กรให้แข่งขันได้ในต่างประเทศ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us