Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 กันยายน 2551
เฟรชแอร์ พลิกเกมธุรกิจ สปอร์ต เอนเตอร์เทนฯ แรงเหนือคอนเสิร์ต             
 


   
search resources

Organizer
วินิจ เลิศรัตนชัย
อาร์เอส เฟรชแอร์, บจก.




อาร์เอส เฟรชแอร์ ปรับเกมธุรกิจ หลัง S-One ทะลุเป้า ส่งสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์บูม เดินหน้าเปิด 3 สนามรวดปีหน้า สนามบินน้ำ,บางแค และรามอินทรา พลิกสัดส่วนกลายเป็นธุรกิจหลัก ด้านธุรกิจอีเวนต์บันเทิงยังไม่ทิ้ง เดินหน้าขึ้นแท่นผู้จัดอันดับหนึ่งของ "มิวสิค เฟสติวัล" ด้วยการส่ง 3 ธีมคอนเสิร์ตต้อนรับฤดูหนาว คาราบาว, อินดี้, และรวม เอเอฟ 1-5 ใน Winter Music Series 2008@Bonanza Khao-Yai

สร้างกระแสฮือฮาเมื่อครั้งเปิดแผนงาน ที่ค่ายอาร์เอส เฟรชแอร์ ซึ่งนำโดย วินิจ เลิศรัตนชัย กรรมการผู้จัดการ ตัดสินใจทุ่มงบประมาณราว 100 ล้านบาทในการสร้างสนามฟุตบอลหญ้าเทียม S-One ย่านบางนา สร้างสนามกีฬาในรูปแบบสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเมืองไทย มีบริการต่างๆไว้รองรับทั้ง คลับเฮ้าส์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ รวมไปถึงระบบเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่นำมาใช้ในสนามฟุตบอลเป็นครั้งแรก โดยลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสามารถเก็บภาพการเล่นของตนเองในระบบซีดีหรือดีวีดีได้

นอกจากนั้นแล้วภายในสนาม S-One ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี ซึ่งเบื้องต้นจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนสมาชิกอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี โดยปัจจุบันมีสปอนเซอร์หลักได้แก่ เนสกาแฟ , สามารถ ไอ-โมบาย, พานาโซนิค, ยามาฮ่า และ เอ็ม-150

"S-One คิดค่าเช่าสนามตั้งแต่ 1,300 - 1,500 บาทต่อชั่วโมง โดยมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่สนามคิดเป็นรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท รายได้รวมตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาทำได้แล้วกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งแผนการส่งเสริมธุรกิจในปีหน้า จะเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายมาใช้บริการให้มากขึ้นอีก" วินิจ กล่าว

นอกเหนือจากความสำเร็จของ S-One บางนาแล้ว ในส่วนของเทรนด์ฟุตบอล 7 คนหรือมินิซอคเกอร์ก็เห็นได้ชัดว่าโหมแรงขึ้นในประเทศไทย ทำให้วินิจมั่นใจว่าตลาดสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์มีอนาคตอีกยาวไกล จึงเตรียมเปิดสนาม S-One เพิ่มอีกในปีหน้า โดยสนามต่อไป ย่านสนามบินน้ำ บนพื้นที่ 18 ไร่ มีรูปแบบของสนามครบครัน เช่นเดียวกับ S-One บางนา แต่จะเหนือกว่าตรงพื้นที่ซึ่งใหญ่กว่าและอาจจะมีการเพิ่มคอมมูนิตี้ มอลล์ เข้าไปด้วย โดยแห่งที่2 นี้จะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมปีหน้า

นอกจากนั้นแล้วยังเตรียมเปิดสนาม S-One อีก 2 แห่งภายในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในย่านบางแค และ รามอินทรา ขณะที่รูปแบบบริหารของอีก 2 แห่งนั้น อาจจะเป็นในรูปแบบของการจับมือกับพาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน หรือ อาร์เอส เฟรชแอร์ เป็นเจ้าของ หรืออีกหนึ่งแนวทางหนึ่งที่มีความเป็นไปได้คือ การเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่สนใจต้องการประกอบธุรกิจนี้

วินิจวาดเป้าหมายในอนาคตหาก S-One ได้รับความนิยมมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็มีแผนที่จะเปิดเป็นอคาเดมี ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบคล้ายๆกับโรงเรียนสอนภาษา แต่จะเปลี่ยนเป็นสอนฟุตบอล 7 คนแทน

จากแนวโน้มการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นของ S-One ทำให้วินิจต้องทำการปรับสัดส่วนรายได้ของอาร์เอส เฟรชแอร์ในปีต่อไป จากเดิมที่เคยโฟกัสไปที่กลุ่มอีเวนต์บันเทิง 70% และกลุ่มสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ 30% ก็จะกลับกัน โดยกลุ่มสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์จะเข้ามามีส่วนแบ่งเป็น 70 % ขณะที่กลุ่มอีเวนต์บันเทิงจะลดลงเหลือเพียง 30%

แม้ภาพรวมในปีหน้าจะมีการปรับลดสัดส่วนรายได้ของกลุ่มธุรกิจบันเทิงอีเวนต์ แต่ในส่วนของการจัดแสดงคอนเสิร์ตยังคงมีให้เห็น โดยล่าสุดอาร์เอส เฟรชแอร์ ได้ลงทุนกว่า 40 ล้านบาท จัดเทศกาลดนตรี Winter Music Series 2008 @Bonanza Khao-Yai โดยจะจัดขึ้น 3 ครั้งบนพื้นที่ของโบนันซ่า เขาใหญ่ เริ่มตั้งแต่ Road To Country Carabao & Friend คอนเสิร์ตของคาราบาวที่จะศิลปินเพื่อนพ้องมาร่วมแสดงอาทิ สุรชัย จันทิมาธร ,พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ,พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ และปาน ธนพร ซึ่งคอนเสิร์ตจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 29 พ.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 17.00 - 02.00 น.

คอนเสิร์ตต่อมาคือ Acoustic Winter Fest #3 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 6 ธันวาคมนี้ โดยมีศิลปินมากมายเข้าร่วมแสดงอาทิ กรู๊ฟไรเดอร์, สควีซ แอนิมอล, ฟอร์ด-สบชัย ไกรยูรเสน,โก้ มิสเตอร์แซกแมน, โป้ โยคี เพลย์บอย, อีทีซี, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนเดล, น้อย วงพรู, ป้อม ออโตบาห์น, สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ และกลุ่มโดโจ ซิตี้ นอกจากนั้นยังมีศิลปินชื่อดังจากอิตาลีอย่าง Nossa Alma Canta

และคอนเสิร์ตสุดท้ายของเทศกาลลมหนาวคือ AF Home Coming ที่จะเป็นการรวบรวมเอานักล่าฝันตั้งแต่ซีซั่น1 จนถึงซีซั่น 5 มาประชันกันในวันที่ 31 มกราคม 2552 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. จนถึงเช้าวันใหม่

วินิจ กล่าวว่า คอนเสิร์ตทั้ง 3 ครั้งที่จะจัดขึ้นในช่วงปลายปี ได้มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง ศูนย์อาหาร การดูแลรักษาความปลอดภัย และห้องน้ำ โดยในส่วนของห้องน้ำที่เคยสร้างปัญหามาทุกครั้งที่คอนเสิร์ตจัดขึ้นที่เขาใหญ่ ขณะนี้ได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่จำนวนหลายร้อยห้อง และคาดว่าจะรองรับกับผู้เข้าชมงานนับหมื่นได้เป็นอย่างดี

ขณะที่การตอบรับจากผู้ชมงานในแต่ละครั้ง คาดว่าจะมีกว่า 6 หมื่นคน และคิดเป็นรายได้ที่จะเข้ามาราว 75 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น Road To Country Carabao & Friend จำนวน 12 ล้านบาท Acoustic Winter Fest #3 จำนวน 25 ล้านบาท และ AF Home Coming จำนวน 25 ล้านบาท

จัดแถวธุรกิจอีเวนต์บันเทิงหวังลดต้นทุนการผลิต

แผนการลงทุนในปีหน้าของอาร์เอส เฟรชแอร์ นอกเหนือจากการเทงบประมาณลงในสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนท์ด้วยการเปิดสนาม S-One อีก 3 แห่งแล้ว ในส่วนของธุรกิจอีเวนต์บันเทิงได้มีการปรับระบบการจัดคอนเสิร์ต จากเดิมที่จัดหลายๆ ครั้งในแต่ละปี เปลี่ยนเป็นการรวมเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการวางแผนในอนาคตนั้นจะเป็นในรูปแบบคอนเสิร์ตหลัก 3 ครั้งต่อปี ได้แก่ Winter Fest, Summer Fest และ Rainy Fest คาดว่าจะเริ่มดำเนินตามแผนงานได้ในปีหน้า โดย Winter Fest ที่จะยึดพื้นที่ของโบนันซ่า เขาใหญ่ Summer Fest ที่จะใช้พื้นที่ชายหาดเขาตะเกียบ หัวหิน ขณะที่ Rainy Fest ใช้พื้นที่กลางแจ้งในกรุงเทพฯ

นอกเหนือจากคอนเสิร์ตใหญ่ 3 งานแล้ว ยังมีคอนเสิร์ตย่อยๆที่จะขึ้น 3 ครั้งต่อปี อาทิ ปาร์ตี้ฟูลมูน ที่คาดว่าจะเริ่มแสดงครั้งแรกในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดยใช้พื้นที่ใกล้ๆกับกรุงเทพฯส่วนคอนเซปต์ในการจัดงานก็จะคล้ายกับฟูลมูนที่จัดขึ้นตามเกาะต่างๆ

การจัดระบบธุรกิจอีเวนต์บันเทิงต่างๆในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตแล้ว สิ่งที่ต้องการสื่อออกไปคือการแสดงให้ต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยมีการจัดเทศกาลดนตรีที่ได้รับความนิยม ซึ่งหากต่างประเทศได้เห็นการตอบรับที่ดี อาจจะมีความเป็นไปได้ในการบรรจุเทศกาลดนตรีนี้ไว้ในปฏิทินคอนเสิร์ตโลก ซึ่งจะทำให้มีความน่าเชื่อถือและเกิดมูลค่าเพิ่มในงานส่งผลให้ในอนาคตจะรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับมีชาวต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น

"การหาสปอนเซอร์ จะเน้นนำเสนอรูปแบบงานให้ตรงกับความต้องการและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยพุ่งเป้าไปที่สปอนเซอร์หลักเพื่อให้เกิดความคุ้มทุน และลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเราได้ยึดแนวทางนี้ และทำให้เราสามารถรับรู้รายได้หลักและกำไรขั้นต้นที่ได้มากจากสปอนเซอร์ได้อย่างชัดเจน "กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส เฟรชแอร์ จำกัด กล่าว

สำหรับรายได้ของ อารเอส เฟรชแอร์ คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ แบ่งออกเป็น ธุรกิจอีเวนต์บันเทิง150 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ แบ่งออกเป็นรายได้จากสปอนเซอร์หลักจำนวน 62 ล้านบาทในเวลา 2 ปี และรายได้ส่วนอื่น เช่น ค่าเช่าสนาม รวมแล้วกว่า 300 ล้านบาททั้งปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us