Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 กันยายน 2551
อสังหาฯไทยเล็งซื้อเลห์แมน ต่อยอดธุรกิจ-ชี้ราคารูดกว่า 50%             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

   
search resources

อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.
Real Estate




บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เคลื่อนไหวคึกคักซื้อตึกในพอร์ตเลห์แมน พร้อมดึงพันธมิตรไทย-เทศตั้งกองทุน อนันดาฯ ลั่นเอาแน่ จับตาแลนด์ฯ-ทีซีซีร่วมวง หวังต่อยอดธุรกิจโรงแรม อาคารสำนักงาน ขณะที่บิ๊กแกรนด์ แอสเสทฯ ในเครือเลห์แมนกัดฟันหาแหล่งเงินกู้ใหม่ลุยโครงการคอนโด-โรงแรมต่อ ที่ปรึกษาการลงทุนเลห์แมนเตือนวิกฤตครั้งนี้ยืดเยื้อกว่า "ต้มยำกุ้ง" โจนส์แลงฯ เผยแนวโน้มมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ทั่วโลกรูดต่ำกว่า 50%

การล้มครืนของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของสหรัฐ ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้ส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก ไม่เว้นไทย หากมองสาเหตุวิกฤตทางการเงินในครั้งนี้ จะเห็นว่าเป็นผลต่อเนื่องจากปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ (sub-prime) หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาด้อยกว่ามาตรฐาน ภาคอสังหาริมทรัพย์จึงได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ไม่เฉพาะสินเชื่อ แต่สินทรัพย์ประเภทตึกที่อยู่ในพอร์ตของเลห์แมนถึงคราวต้องเปลี่ยนมือ จะช้าหรือเร็วผู้ซื้อหรือเจ้าของรายใหม่เป็นตัวแปรหลัก

นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่ เลห์แมนฯ มีพอร์ตการลงทุนทางด้านอสังหาฯ ต่างๆ ในไทยมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท แต่กระบวนการในการจัดการ เพื่อนำรายได้ไปชำระหนี้ต่างประเทศคงต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะทางเลห์แมนฯในสหรัฐฯจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ก่อน ซึ่งจะดำเนินการได้ ขณะเดียวกัน บางโครงการที่ทางเลห์แมนฯให้การสนับสนุน แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องหยุดลงนั้น ตรงนี้เชื่อว่า คงต้องมีกระบวนการเจรจาระหว่างผู้สนับสนุนเงินกู้กับเจ้าของโครงการ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จบในเร็ววัน ขณะเดียวกัน การจำหน่ายสินทรัพย์เหล่านี้ คงต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน เนื่องจากอสังหาฯในไทยมีราคาค่อนข้างแพงเกินความเป็นจริงอยู่

อนึ่ง ทรัพย์ของที่เลห์แมนฯเข้ามาลงทุนและให้ทางบริษัทโจนส์ แลงฯ ที่ปรึกษาด้านอสังหาฯเข้ามาดูแลและบริหารอาคารสำนักงาน เช่น อาคารเมอร์คิวรี่ ,อาคารแปซิฟิกเพลส วัน และทู ,อาคารอิตัลไทย และอาคารเมืองไทยภัทร

"ในเรื่องของแนวคิดการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯของรมช.คลังนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และท่านคิดในมุมมองของนักธุรกิจ ท่านเห็นโอกาสในการลงทุน ส่วนวิธีการหรือความเป็นไปได้นั้น คงต้องมีการหารือกันหลายฝ่าย แต่หากให้มองเป็นภาพรวมของการลงทุนแล้ว นี้คือโอกาส เพราะตึกต่างๆที่เลห์แมนฯลงทุน จะอยู่ในทำเลเด่น การเข้ามาลงทุนจะดีและคุ้มค่ากว่าการลงทุนก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาที่นาน "นายกฤษดากล่าวและวิเคราะห์ด้วยความเป็นห่วงว่า"วิกฤตการเงินในสหรัฐฯอาจกินเวลาหลายปี ของไทยกว่าจะฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี แล้วขนาดของวิกฤตในสหรัฐฯปัญหาใหญ่กว่าไทยหลายสิบเท่า "

แกรนด์ แอสเสทฯ ดิ้นบุกธุรกิจต่อ

นายมาร์คแลนด์ เบลคล็อค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทที่เลห์แมนฯได้ลงทุนและถือหุ้นใหญ่ กล่าวอย่างมีนัยสำคัญว่า "ทางเราไม่ได้นิ่งนอนใจ และหาช่องทางระดมทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ มาทดแทนผู้ให้กู้รายใหญ่ในปัจจุบันคือ เลห์แมน บราเธอร์ส คอมเมอเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย จำกัด ในเครือเลห์แมนฯ "

โดยในช่วง ก.ย.นี้ ทางบริษัทยังคงเดินหน้าลงนามในสัญญาการก่อสร้างส่วนที่เหลือของโครงการคอนโดฯหรู รีเจ้นท์ เรสซิเดนซ์ ขนาด 346 ยูนิต บนถนนสุขุมวิท และคาดว่าในเร็วๆนี้ จะเริ่มต้นสานต่อการก่อสร้างโรงแรม 2 แห่ง คือ โรงแรมเดอะรีเจ้นท์ แบงคอก และโรงแรมคราวน์พลาซ่า สุขุมวิท

สำหรับโครงการอสังหาฯและโรงแรมของบริษัทฯ เช่น โครงการหัวหิน บลู ลากูน รีสอร์ท ,โรงแรมเชอราตัน หัวหิน รีสอร์ท, คอนโดฯเทรนดี้ อาคารสำนักงานและศูนย์การค้า และโรงแรมเดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท เป็นต้น อนึ่ง โครงการเหล่านี้อยู่ในทำเลที่ดี และเป็นที่ต้องการของนักลงทุน

อนันดาฯ ประกาศเข้าร่วมประมูล

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เชื่อว่า จะมีจะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติสนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อร่วมประมูลสินทรัพย์ของเลห์แมนฯที่นำออกมาขายทอดตลาด ซึ่งในส่วนของบริษัท อนันดา ดีเวลล็อปเม้นท์ฯ มีความสนใจจะเข้าร่วมประมูลด้วย เพราะสินทรัพย์ของเลห์แมน มีศักยภาพ และมีสภาพคล่องสูง เช่น ตึกให้เช่าเมอร์คิวรี่ และตึกแปซิฟิค

นายชานนท์ กล่าวว่า บริษัทอนันดา ดีเวลล็อปเม้นท์ฯ เกิดจาการร่วมทุนระหว่างกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทีเอ็มดับบลิว เอเชีย พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ 1 ภายใต้การบริหารงานของ ไพร์มเมอริกา เรียลเอสเตท อินเวสเตอร์ จากสหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งในพรูเดนเชียล ไฟแนลเชียล อิงค์ โดยกองทุนทีเอ็มดับบลิวเอเชียได้เข้ามาลงทุนในไทยในปี พ.ศ. 2549 วงเงิน 100 ล้านยูโรหรือ 8,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 6 ปี เน้นลงทุนในบ้านจัดสรร ระดับราคา 2-5 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม ขณะนี้ยังเหลือเม็ดเงินลงทุนอีก 30 ล้านยูโร เชื่อว่าจะลงทุนได้หมดในนี้ ซึ่งทางกองทุนจะยังคงใส่เม็ดเงินที่เหลือเข้ามา เนื่องจากไม่ได้มีปัญหาทางการเงิน เพราะเงินที่เข้ามาใช้ลงทุนมาจากแหล่งอื่นแ และทางพรูเดนเชียลฯไม่ได้มีปัญหาทางทางเงิน เนื่องจากไม่ได้เข้าไปลงทุนใน ตราสารหนี้ที่ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน (ซีดีโอ) ที่มีสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์เป็นหลักประกัน แต่อย่างใด

" วิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นหลังจากปัญหาซับไพรม์และบริษัทเลห์แมนฯเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของสถาบันการเงิน จะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น"

นายชานนท์ กล่าวว่า สำหรับโครงการใหม่ที่จะมีการพัฒนาเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ คือ โครงการ IDEO Verve Sukhumvit 38 ใกล้แนวรถไฟฟ้า มูลค่าโครงการ รวม 3,000 ล้านบาท จำหน่ายราคา1.2 แสนบาทต่อตารางเมตร ซึ่งถือว่าถูกว่าคู่แข่งในทำเลใกล้เคียงกันที่จำหน่ายราคา 1.4 แสนบาทต่อตร.ม. รวมโครงการที่จะเปิดใหม่ในช่วงปลายปี 4 โครงการ

นายชานนท์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในปี 2552 เชื่อว่าจะมีกองทุนใหม่ภายใต้การบริหารงานของไพร์มเมอริกาที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยเพิ่มอีก ซึ่งภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับการลงทุนของต่างชาติ เพราะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนระยะยาว 8-10 ปี ส่วนความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

จับตาแลนด์ฯ-ทีซีซีร่วมวงซื้อ

แหล่งข่าวในวงการอสังหาฯกล่าวว่า นี้คือโอกาสที่ดีของบริษัทอสังหาฯขนาดใหญ่ในไทย ที่จะขยายการลงทุนสู่สินทรัพย์ที่มีคุณภาพและแนวโน้มที่ได้ราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯที่มีเงินทุนหนาอย่างเช่น บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งมีลูกค้าอย่างควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ในการุกคืบสู่การขยายพอร์ตอาคารสำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจน้ำเมา และธุรกิจอสังหาฯ ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีศักยภาพและกำลังสูง ประกอบกับกลุ่มนี้ ยังมีพันธมิตรฯที่เหนี่ยวแน่นจากสิงคโปร์ จึงมีความได้เปรียบค่อนข้างมาก

" แต่ก็ให้ระวังเค้กกันนี้ให้ดีๆ เพราะคนต้องกินเยอะ แต่เนื้อมีจำกัด "แหล่งข่าวกล่าวเตือน

นายอดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการและรองกรรมการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯ กล่าวยอมรับว่า " ทางกลุ่มแลนด์ฯให้ความสนใจเข้าซื้ออาคารสำนักงานของกลุ่มเลห์แมนฯและ AIG ในประเทศไทย เพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจ และลดต้นทุนการดำเนิน ส่วนมูลค่าที่สนใจเข้าไปลงทุนน่าจะอยู่ที่ระดับ 1,000-3,000 ล้านบาท ขอเพียงให้ทางกลุ่มเลห์แมนฯและAIG ประกาศขายออกมา ก็จะเข้าเจรจาซื้อทันที " นายอดิศรกล่าว

นักวิเคราะห์แห่งหนึ่งประเมินสภาพคล่องของกลุ่มแลนด์ฯพบว่า มีกระแสเงินสดสูงถึง 3,000-4,000 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราหนี้สินหลังหักด้วยเงินสดต่อทุนประมาณ 0.50 เท่า ซึ่งมีศักยภาพสูง และมีโอกาสจะซื้อสินทรัพย์คุณภาพเยี่ยมจากสถาบันการเงินสหรัฐที่มีธุรกิจบางส่วนในประเทศไทย อีกทั้งแลนด์ฯเองยังให้ความสนใจในโครงการอาคารสำนักงานเพื่อให้เช่า ซึ่งอาจจะนำไปเพิ่มเป็นสินทรัพย์ในกองทุนรวมอสังหาฯในอนาคต

ซื้อขายอสังหาฯ ทั่วโลกรูดกว่า50%

บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศ โจนส์ แลง ลาซาลล์ ระบุว่า ความปั่นป่วนในตลาดหลักทรัพย์ และการล้มลงของบริษัทวานิชธนกิจขนาดใหญ่ บางแห่งในอเมริกา จะมีผลทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งในความเป็นจริง ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ตลาดสินเชื่อได้รับผลกระทบอย่างมากอยู่แล้วจากปัญหาหนีด้อยคุณภาพ ซึ่งได้เริ่มขยายวงจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไปสู่สินเชื่ออสังหาฯเชิงพาณิชย์ และอสังหาฯประเภทอื่นๆตามมา สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จะส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น การระดมเงินกู้เพื่อลงทุนซื้อโครงการอสังหาฯจึงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายมากยิ่งขึ้นไปอีก

" แม้ราคาขายจะถูกลง และมีโครงการอสังหาฯออกมากเสนอขายมากขึ้น แต่เชื่อว่ากิจกรรมการซื้อขายโครงการอสังหาฯทั่วโลกจะมีไม่มากเหมือนปีที่ผ่านๆ มา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อของโลก ส่งผลให้การขอสินเชื่อของนักลงทุนเพื่อซื้ออสังหาฯเป็นไปได้ยาก นักลงทุนที่มีกำลังซื้อขณะนี้ จำกัดวงอยู่ในเฉพาะกองทุน บริษัท หรือ องค์กรที่มีทุนของตนเองสูง และไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ นอกจากนี้ ภาวะราคาที่ยังไม่นิ่ง ทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อ เพราะยังไม่แน่ใจว่า ราคาจะลดต่ำลงต่อไปอีกหรือไม่ ปีนี้ คาดว่ามูลค่าการลงทุนซื้อขายโครงการอสังหาฯทั่วโลกอาจปรับตัวลดลงได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่มียอดการลงทุนซื้อขายโครงการอสังหาฯสูงสุด และยังไม่สามารถบอกได้ว่า การลงทุนในตลาดอสังหาฯโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อใด เพราะจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อเป็นตัวดำหนด แต่หลายๆ ฝ่ายเชื่อว่า อาจต้องอาศัยเวลาอีกราวหนึ่งปีก่อนที่ปัญหาในตลาดสินเชื่อจะเริ่มคลี่คลาย"

อนึ่ง มูลค่าการลงทุนซื้อขายอสังหาฯที่มีประโยชน์ใช้สอยในเชิงพาณิชย์ (อาทิ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าและโรงแรม) ทั่วโลกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีมูลค่ารวม 233,000 ล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลง 42% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2550 ทั้งนี้ กิจกรรมการซื้อขายจำนวนมากยังคงเป็นการซื้อขายระหว่างประเทศ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 45 %ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด

"สึนามิการเงิน" กระทบกองทุนไทย

นายไพรัช มณฑาพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท 15 ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด ที่ปรึกษาในองค์กรของรัฐขนาดใหญ่หลายแห่ง กล่าวว่า จากสถานการณ์แล้ว คงต้องอธิบายถึงความเชื่อมโยงที่เกี่ยวพันกันในระบบเศรษฐกิจไทยอยู่หลายประเด็นเช่นกัน ซึ่งแน่นอนได้ส่งผลให้เกิดความตระหนกกันในหมู่ผู้เกี่ยวข้องแล้ว อย่างน้อยก็เกิดผลลบต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ตลาดอสังหาฯ ของไทยเห็นว่าปรากฎการณ์นี้ ในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อในทางลบในระยะสั้นเท่านั้น และไม่น่าจะรุนแรงอย่างที่คิด เหตุผลก็คือ เนื่องจากตลาดอสังหาฯของไทยจะอยู่ภายใต้แวดล้อมของผู้เล่นหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือผู้ประกอบการ (นักลงทุน) และ ผู้บริโภค สำหรับพฤติกรรมในด้านผู้ประกอบการก็คงจะมีความระมัดระวังมากขึ้นและอาจจะชะลอการลงทุนชั่วขณะ รวมไปถึงน่าจะมีการชะลอการตัดสินใจของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ในการระดมทุนและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จนถึงในช่วงปลายปี 2551 นี้ด้วย เหมือนกับกรณีของธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เป็นต้น

" ปรากฎการณ์นี้ เชื่อว่าคงจะเป็นไปในระยะสั้นเข้าทำนอง รอคอยและเฝ้าดู อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัจจัยด้านผู้ประกอบการนี้มีความเชื่อมโยงกับตลาดทุนและตลาดเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น การฟื้นความเชื่อมั่นในระยะยาวของภาคเศรษฐกิจรวมและตลาดอสังหาฯไทย อาจไม่ได้ขึ้นกับวิกฤตการณ์ดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยที่ทางการเมืองไม่นิ่งและยืดเยื้อกลับเป็นเรื่องน่าพิจารณาประกอบอย่างเป็นสาระสำคัญ "

ปัจจัยในด้านผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ไม่น่าวิตกนัก เพราะปัจจัยการบริโภคเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆมากกว่าเรื่องเลแมน บราเดอรส์ และคงมีเพียงการชะลอการตัดสินใจและใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งก็คาดหมายว่ามีผลกระทบในระยะสั้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ในเชิงมหภาคแล้ว คงมีเรื่องที่น่าพิจารณาอยู่อีก 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ขนาดการลงทุนของเลแมน บราเดอรส์ฯในตลาดอสังหาฯไทย ที่ลงทุนในอสังหาฯเกรดเอ ทั้งในด้านคุณภาพและทำเล สามารถก่อให้เกิดค่าเช่าในระยะยาวได้ ประเด็นที่ 2 คือความเชื่อมโยงของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอสังหาฯ ซึ่งใน 2 ประเด็นนี้ มีความเกี่ยวข้องกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโดยตรง และเนื่องจากวิกฤตการณ์นี้ เป็นผลมาจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไกลจากตลาดอสังหาฯของไทยมาก และได้ส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบันธุรกรรมต่างๆทั่วโลกมีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น แต่ด้วยเหตุที่ว่าตลาดเงินของไทยก็ดี ตลาดอสังหาฯก็ดี ต่างมีบทเรียนที่ทุกฝ่ายใช้ความระมัดระวังเรียนรู้มาตั้งแต่วิกฤติการณ์ปี 2540 จึงเชื่อได้ว่าทุกฝ่ายตระหนักและน่าจะรับมือกับวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้ไม่ยากในระยะยาว

สำหรับตลาดทุน ถือได้ว่าอ่อนไหวที่สุดในบรรดาตลาดที่กล่าวถึง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่หุ้นอสังหาฯรวมทั้งหุ้นสาธรณูปโภค อาจจะอ่อนไหวไปตามบุคลิกของหุ้นซึ่งมักจะอ่อนไหวเร็วกว่าตลาดอยู่แล้ว แต่หากพิจารณาหุ้นที่มีความอ่อนไหวน้อยกว่าหรือเท่ากับความอ่อนไหวของตลาด เช่น หุ้นด้านอาหาร เครื่องอุปโภค เป็นต้น ก็ไม่น่าจะติดร่างแหไปกับวิกฤตการณ์นี้ในระยะยาวเช่นกัน

ส่วนที่คาดหมายกันว่า รัฐบาลสนใจเตรียมการจัดตั้งกองทุนซื้อสินทรัพย์(ราคาถูก)จากเลแมน บราเดอรส์ในประเทศไทย ก็อาจจะถือว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะอาจจะช่วยให้เกิดกิจกรรมในธุรกรรมทางด้านอสังหาฯได้ในอนาคตได้ แต่คิดเร็วและง่ายไปนิด

" ควรทำความเข้าใจว่า คงไม่ง่ายที่คิดจะไปทุบราคากับเลแมน บราเดอรส์ และทรัพย์สินเหล่านั้น ก็ไม่มีผลต่ออุปทานในตลาดอสังหาฯไทยแต่ประการใด แม้ว่าตามหลักการแล้วดูเหมือนว่า เลแมน บราเดอรส์ น่าจะรีบขายเพื่อส่งเงินกลับไปใช้หนี้ก็ตาม "นายไพรัชกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us