Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กรกฎาคม 2546
ธปท.เปิดทางธ.พาณิชย์ถือหุ้นบ.ในเครือ100%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Standard & Poors (S&P)
บัณฑูร ล่ำซำ
ทักษิณ ชินวัตร
ทาคาฮิรา โอกาวา
Banking and Finance




แบงก์ชาติ เดินหน้าแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นสถาบันการเงินในเครือได้ทั้ง 100% จากเดิมให้ถือได้ไม่เกิน 10% โดยธปท.จะเข้าไปคุมเข้มทั้งระบบ เพื่อป้องกันความเสียหาย ขณะที่ นายกรัฐมนตรี เผย "เอส แอนด์ พี" พอใจตัวเลขเศรษฐกิจไทย แต่ยังกังวลระบบสถาบันการเงินและ การศึกษา ด้าน "บัณฑูร ล่ำซำ" หวั่นหนี้เอ็นพีแอลรอบใหม่ หลังจากแบงก์แข่งขัน กันอย่างรุนแรง แนะให้แบงก์ชาติเข้าไปตรวจสอบระบบการปล่อยสินเชื่อ

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังดำเนินการตามกรอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ (มาสเตอร์แพลน) หลังจากที่ในเบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้ว โดยในแผนดังกล่าวจะมีการเพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในสถาบัน การเงินในเครือให้เพิ่มขึ้นได้เป็น 100% จากเดิมที่ถือได้ไม่เกิน 10%

สำหรับสถาบันการเงินในเครือหมายถึง บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทประกัน แต่ในการบริหารงานให้แยกบริษัทในเครือเป็นนิติบุคคลต่างหาก ไม่ได้บริหารขึ้นตรงโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินของธนาคารพาณิชย์

ส่วนด้านการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์นั้น ธปท.จะเพิ่มความระวัดระวังมากขึ้น โดยการกำกับดูแลฐานะของธนาคารพาณิชย์ จะรวมถึงฐานะรวมของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทในเครือ หากคิดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) หรือการกันสำรองหนี้เสียจะต้องเป็นการคิดสัดส่วนรวมของสถาบันการเงินรวมทั้งเครือของธนาคารพาณิชย์

"การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดข้างต้น จะไม่ทำให้ธนาคารพาณิชย์เกิดปัญหา เพราะขณะนี้การถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในบริษัทในเครือก็มีลักษณะนี้ แต่อาจจะไม่ชัดเจน และขณะนี้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ของธนาคารทุกแห่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 8.5% ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำของธปท.สูงมาก จึงไม่น่าเป็นห่วง"

ส่วนเรื่องการเข้ามาถือหุ้นของสถาบันต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ที่ผ่านมาถือได้ไม่เกิน 25% ในมาสเตอร์แพลนนี้ได้เพิ่มสัดส่วนที่ถือได้เป็น 49% โดยในช่วงการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ผ่านมา มีหลายธนาคารพาณิชย์ ที่ธปท.อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้ถือหุ้นได้ 100% แต่ต่อจากนี้จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นได้เป็น 49% ในกรณีทั่วไป

สำหรับในกรณีที่ถือหุ้นอยู่เกินกว่าที่กำหนดเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งธปท.อนุญาตให้ 10 ปี จะต้องลดสัดส่วนลงมาให้เหลือ 49% สำหรับธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้น ธปท.ยังอนุญาตให้ถือหุ้นได้ในอัตราไม่เกิน 10% โดย ธปท.ยังต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวัง และกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในธุรกิจต่างๆ

นางธาริษา กล่าวต่อว่า ในส่วนของอนาคต ของสถาบันการเงินของประเทศไทยนั้น ธปท.จะมีมาตรการเป็นแพกเกจชัดเจน เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินขนาดเล็กยกระดับตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือมีการควบรวมกิจการกันเพื่อขอเป็นธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดธุรกรรม เพราะธปท.มองว่าในอนาคตระบบการเงินของไทยจะมีธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ส่วนสถาบันการเงินอื่นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย เหมือนอย่างเช่นระบบการเงินของต่างประเทศที่มีแต่ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น

ส่วนเรื่องใบอนุญาตการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์นั้น จะมีแบ่งย่อยเป็นธนาคารพาณิชย์ประเภทต่างๆ ที่มีการประกอบธุรกรรมได้มากน้อยแตกต่างกันไป หรือเป็นประเภทธุรกรรมเฉพาะ เช่นปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ กับธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดธุรกรรม ในแผนแม่บทนี้ อาจจะมีการแยกย่อยต่อไปอีก เช่น ใบอนุญาตสำหรับธนาคารพาณิชย์ในเมือง และใบอนุญาตสำหรับธนาคารพาณิชย์ในแหล่งที่ ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งเงื่อนไขของการจัดตั้ง และธุรกรรมที่ดำเนินการได้จะแตกต่างกันไป โดยข้อกำหนดที่กำหนดในแผนแม่บทนี้ จะต้องแก้ไขโดยประกาศกระทรวงการคลังในข้อ ที่กระทรวงการคลังมีอำนาจประกาศปรับเปลี่ยน ได้เอง และดำเนินการแก้กฎหมายสถาบันการเงินในข้อที่จำเป็นต่อไป

"ในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการดำเนินธุรกิจในเรื่องการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แต่ธปท.เห็นว่ายังไม่ได้มีการแข่งขันกันจนมากเกินไป หรือมีการปล่อยสินเชื่อในอัตราที่สูงเกินไป เพราะตัวเลขสินเชื่อในขณะนี้ยังไม่มากเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งในการปล่อยสินเชื่อยังมีขั้นตอนในการพิจารณาความสามารถในการชำระของลูกค้า ไม่เหมือนในต่างประเทศที่ขอบัตรเครดิตสามารถอนุมัติได้ในทันที"

นายกชี้เอสแอนด์พีพอใจศก.ไทย

ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังที่นายทาคาฮิรา โอกาวา ผู้อำนวยการการจัดอันดับเครดิต ประเทศในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ของเอสแอนด์พี เข้าเยี่ยมคารวะว่า เอสแอนด์พีค่อนข้างพอใจ และเห็นตัวเลขความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งตัวเลขการส่งออก และค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ แต่ยังเป็นห่วง อยู่ 2 เรื่องที่ล่าช้าคือ เรื่องระบบการพัฒนาสถาบันการเงิน ซึ่งต้องหาทางให้ภาคเอกชน และธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเอง และเรื่องการศึกษาที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนา เพราะเป็นเรื่องที่ยาก รวมทั้งยังมีการซักถามถึงเรื่องเศรษฐกิจการบริหาร โดยเอสแอนด์พีไม่ได้แนะนำอะไร เพียงแต่มาสอบถามข้อมูล และถามถึงความแน่วแน่ในการดำเนินนโยบาย

"รัฐบาลไม่เคยคาดหวังจะให้ใครมายกระดับความน่าเชื่อถือของประเทศ เพียงแต่ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และเมื่อผลออกมาขณะนี้แล้ว ใครไม่ปรับเครดิตให้ ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะปัจจุบันนี้ ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยดีกว่าหลายๆ ประเทศ ถ้าเป็นมืออาชีพและทำอย่างตรงไปตรงมา ต้องปรับให้ไทยแน่ เพราะสถานภาพของไทยในวันนี้ ดีกว่าหลายประเทศ ที่มีสถานภาพความน่าเชื่อถือดีกว่าเรา โดยเฉพาะอัตราส่วนของหนี้ระยะสั้นต่อทุน สำรองของประเทศดีมาก"

"บัณฑูร"หวั่นหนี้เสียรอบใหม่แนะธปท.คุมเข้มการปล่อยกู้

ด้านนายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อสูง มีการตัดราคา เพื่อหารายได้ให้กับธนาคารในยามที่ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝากแคบลง หากว่าการแข่งขันมีมากจนเกินไป แล้วทำให้รายได้ไม่คุ้มกับความเสียหาย จะทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้นธปท.จะต้องเข้ามาดูว่าการแข่งขันมีความผิดปกติหรือไม่

"การตัดราคาแล้วรายได้ไม่คุ้มกับสถิติความเสียหาย นั่นคือทั้งระบบเสี่ยงเกินไป แต่ไม่มีใครตอบได้ เรื่องนี้ธปท.ต้องเข้าไปดูว่าระบบแข่งขันกันพอสมควรหรือแข่งกันพาไปเสียหาย ผู้ดูระบบควรเป็นผู้คอยติง แต่ถ้าถามว่าควรเข้ามาดูแลหรือยัง เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบ"

สำหรับในส่วนของธนาคารกสิกรไทยนั้น ธนาคารมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้วย การจัดอันดับเครดิตของลูกค้า เพื่อคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม หากลูกค้ามีความเสี่ยงสูงธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูง ถ้าลูกค้ามีผลการดำเนินงานดีธนาคารก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ต้องยอมรับว่าในการปล่อยสินเชื่อนั้นย่อม มีโอกาสที่จะเป็นหนี้เสียได้ด้วย

"ปัญหาหนักของธนาคารในระยะต่อไป คือการขยายสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการแข่งขันสูง และต้องยอมรับว่าโอกาสเกิดหนี้เสียก็ต้องมี แต่ขณะนี้หนี้เสียธนาคารอยู่ในระดับที่ไม่น่าห่วง"

สำหรับการหารายได้โดยการขึ้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการต่างๆ นั้น นายบัณฑูร กล่าวว่า ธนาคารไม่มีแนวคิดจะขึ้นค่าธรรมเนียมจากปัจจุบัน และเห็นว่าการขึ้นค่าธรรมเนียม ในการให้บริการแก่ลูกค้าในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นธนาคารจึงพยายามออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าไปเสริมในการหารายได้ทดแทน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us