Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กรกฎาคม 2546
เคพีเอ็นปรับทัพใหม่รุกแฟรนไชส์-ตลท.             
 


   
search resources

เคพีเอ็น กรุ๊ป, บจก.
กฤษณ์ ณรงค์เดช
Motorcycle




กลุ่มเคพีเอ็นฟื้นตัว ปรับทัพใหญ่ขยับตัวอีกครั้ง รุกธุรกิจใหม่หลังปรับโครงสร้างหนี้ หั่นทิ้งกิจการไม่มีอนาคต จนหนี้กว่าหมื่นล้านเหลือเพียง 2,000 ล้านบาท ส่งผลปีที่ผ่านมาทำกำไรครั้งแรก เดินหน้าขยายธุรกิจในกลุ่ม เปิดแฟรนไชส์ค้าส่งและค้าปลีกอะไหล่รถจักรยานยนต์ KPN PLUS ตั้งเป้าฟันราย ได้ขั้นต้นปีละกว่า 1.5 พันล้านบาท เผยแผนสองส่ง 2 บริษัทในเครือเข้าไประดม ทุนในตลาดหลักทรัพย์ หวังรองรับแผนบุก ตลาดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์

นายกฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานคณะกรรมการบริหาร (CEO) เคพีเอ็น กรุ๊ป ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่าภายหลังจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งปรับโครงสร้างหนี้ และขายหุ้นส่วนใหญ่ในบางบริษัทไป ทำให้ปัจจุบันกลุ่มเคพีเอ็นมีบริษัทในเครือเหลืออยู่เพียง 14 บริษัท และมีหนี้อยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่กว่า 14,000 ล้านบาท

สำหรับหนี้ส่วนใหญ่ที่ผ่านมา จะอยู่ที่รถจักรยานยนต์ยามาฮ่ากว่าหมื่นล้านบาท ดังนั้นเมื่อ กลุ่มเคพีเอ็นขายหุ้นใหญ่ให้กับยามาฮ่า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น โดยเหลือหุ้นอยู่ในปัจจุบันเพียง 15% จึงทำให้จำนวนหนี้ที่มีอยู่ไม่มากนัก และธุรกิจอื่นๆ ในกลุ่มเคพีเอ็นยอดขายไม่ได้ลดลงมากนัก ส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปอย่างราบรื่น และขณะนี้ธุรกิจรถจักรยานยนต์ไม่ถือว่าอยู่ในกลุ่มเคพีเอ็นอีกต่อไป แม้ว่าตนจะยังเป็นกรรมการอยู่ก็ตาม

ทั้งนี้เดิมธุรกิจในกลุ่มเคพีเอ็นจะเน้นที่อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก แต่ภายหลังจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ได้มีการแบ่งเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ เทรดดิ้ง ลอจิสติกส์ และธุรกิจด้านการเงิน ทำให้ มีความหลากหลายในธุรกิจมากขึ้น

"โดยนโยบายของกลุ่มเคพีเอ็นต่อไปนี้ จะไม่มุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่งเหมือนเช่นที่ผ่านมา แต่จะมองว่าธุรกิจไหนที่มีโอกาสบางอย่างอาจจะเป็น ธุรกิจเล็กๆ แต่หากทำแล้วมีกำไร กลุ่มเคพีเอ็น ก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนทันที" นายกฤษณ์กล่าว

ในส่วนของผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ภายหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ ในปีที่ผ่านมากลุ่ม เคพีเอ็นมีกำไรเป็นปีแรก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา โดยมีกำไรอยู่ในหลักสิบล้าน บาท จากผลการดำเนินงานทั้งหมดประมาณกว่า 6 พันล้านบาท ส่วนปีนี้หลังจากดำเนินงานมาครึ่ง ปีเป็นไปตามเป้าหมาย คาดว่าสิ้นปีน่าจะมีผลกำไร ในหลักร้อยล้านบาท หรือมีผลประกอบการ ประมาณกว่า 7 พันล้านบาท

นายกฤษณ์กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน ที่เริ่มดีขึ้น ทำให้ปีนี้กลุ่มเคพีเอ็นมีการขยายธุรกิจครั้งแรก นับตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ เป็นต้นมา โดยได้เริ่มทำธุรกิจศูนย์ค้าปลีกและค้าส่งอะไหล่รถจักรยานยนต์ครบวงจร ในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกในประเทศไทย หรือของโลกก็เป็นได้ โดยใช้ชื่อว่า KPN PLUS

ส่วนสาเหตุที่ทางกลุ่มเคพีเอ็นสนใจที่จะมาทำธุรกิจนี้ เนื่องมาจากการสำรวจตลาดอะไหล่รถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน พบว่ายังเป็นตลาดที่เปิดกว้างอย่างมาก ผู้จำหน่ายแต่ละรายต่างต้องดิ้นรนจัดซื้อจัดหาสินค้าเอง ทำให้ขาดอำนาจ ต่อรองที่ดี ทั้งยังต้องการอาศัยคนกลางหลายทอด ทำให้เสียส่วนแบ่งกำไรไปมากและขาดความ สะดวก ทั้งที่อะไหล่รถจักรยานยนต์ เป็นสินค้าที่จำเป็นและกลุ่มลูกค้า คือ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั่วประเทศมีนับสิบล้านคัน คือเป็นมูลค่าตลาด ปีละกว่า 30,000 ล้านบาท

"จากจุดนี้ทำให้กลุ่มเคพีเอ็นเล็งเห็นโอกาส ประกอบกับประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจใน กลุ่ม จึงได้ผนวกความเชี่ยวชาญทั้งสามสาขาคือ ด้านอะไหล่รถจักรยานยนต์ ด้านระบบลอจิสติกส์และด้านธุรกิจแฟรนไชส์ จากสถาบันดนตรี เคพีเอ็น มารวมเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต ทั้งนี้มั่นใจว่าธุรกิจศูนย์ค้าปลีกและค้าส่งอะไหล่รถจักรยานยนต์ครบวงจร KPN PLUS จะประสบความสำเร็จด้วยดี โดยคาดว่าในเบื้องต้น 3 ปีแรก จะมียอดขายประมาณปีละ 1,500 ล้านบาท"

สำหรับรูปแบบของแฟรนไชส์ KPN PLUS จะมีการออกแบบจัดวางร้านคล้ายกับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น แต่จะเป็นสินค้าประเภทอะไหล่รถจักร ยานยนต์ครบวงจรและขายอะไหล่รถจักรยาน ยนต์ทุกยี่ห้อ ที่สำคัญจุดเด่นของร้านจะอยู่ที่ราคา สินค้าถูกกว่าร้านอื่นทั่วๆ ไป

โดยขณะนี้ได้ทำสัญญาแฟรนไชส์ไปแล้ว 8 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะขยายได้ทั้งสิ้น 25 สาขา และถึง 250 สาขา ภายใน ระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้จะยังขยายแฟรนไชส์ ไปในภูมิภาคเอเชีย อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน ทั้งนี้ในอนาคตจะนำธุรกิจนี้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

นายฤกษ์กล่าวว่า ในส่วนธุรกิจอื่นๆ ของกลุ่มเคพีเอ็น ปัจจุบันถือว่าดำเนินไปได้ด้วยดี และคาดว่าประมาณในช่วงไตรมาสที่สองปี 2546 จะนำบริษัทในกลุ่ม 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้น ส่วนช่วงล่างรถยนต์และบริษัท เคพีเอ็น พลาสติก จำกัด เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมเงินลงทุนรองรับการส่งออกชิ้นส่วนไปยังต่างประเทศ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างมาก ขณะนี้เป็นกลุ่มธุรกิจเทรดดิ้ง ซึ่งเป็น ธุรกิจที่ไม่ต้องมีการลงทุนมาก แต่สามารถทำกำไรได้ดี ดังนั้นอนาคตกลุ่มนี้น่าจะมีสัดส่วนรายได้สูงขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ส่วนมาก ที่สุดยังเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ 60% ที่เหลือเป็นธุรกิจในกลุ่มลอจิสติกส์ และการเงิน

อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มเคพีเอ็นจะมีการทำ ธุรกิจที่หลากหลายขึ้น แต่ทุกกลุ่มธุรกิจจะต้องสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ สเช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ศูนย์ค้าส่ง และค้าปลีกอะไหล่ รถจักรยานยนต์ครบวงจร เพราะนั่นจะทำให้ช่วย ลดต้นทุนในการลงทุน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us