Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กรกฎาคม 2546
NFCสางปัญหาหนี้ไทยพีค่อนฮุบ71%             
 


   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ปุ๋ยแห่งชาติ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - ธ.ก.ส.
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ไทยพีค่อน
สมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์




NFC ดึง "ไทยพีค่อน" จากจีนถือหุ้นใหญ่ 71% ส่งผลแผนปรับโครงสร้างหนี้บริษัทเจ้าปัญหาฉลุย โดยไทยพีค่อนทุ่ม 1,588 ล้านบาทใช้หนี้ พร้อมอัดฉีดเงินใหม่ เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรและเสริมสภาพคล่องอีก กว่า 2,500 ล้านบาท บสท. มั่นใจมีศักยภาพฟื้นฟูกิจการได้ ไม่ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน แต่มีปุ๋ยคุณภาพดีและราคาเหมาะสม

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ของ บมจ.ปุ๋ยแห่งชาติ (NFC) ว่า บสท.และธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะเจ้าหนี้มีหลักประกัน ได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการสรรหาผู้ร่วมทุนใหม่ ตามที่บริษัทเสนอ หลังเจ้าหนี้สั่งให้ที่ปรึกษาการเงินเปิดประมูล เพื่อคัดเลือกข้อเสนอดีที่สุดถึง 3 ครั้ง โดยผู้เสนอแนวทางร่วมทุนดีที่สุด คือ กลุ่มไทยพีค่อน ซึ่งกลุ่ม Xi Yang ผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ของประเทศจีน เป็นผู้ร่วมทุน

คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาข้อตกลงเบื้องต้นได้ภายในสัปดาห์นี้ ก่อนที่บริษัทจะนำแผนร่วมทุนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลาง ตามที่ผู้ร่วมทุนใหม่เสนอ

หาคนฮุบกิจการ 3 รอบ

"สาเหตุที่การแก้ปัญหาของปุ๋ยแห่งชาติ เป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลานาน เนื่องจาก เจ้าหนี้ต้องการให้การแก้ปัญหาในครั้งนี้ เป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จ และมีความโปร่งใส จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้บริษัท ทำการสรรหา ผู้ร่วมทุนอย่างกว้างขวางและเปิดเผย ซึ่งหลังดำเนินการสรรหากว้างขวางถึง 3 ครั้ง ในที่สุด ก็ได้มีการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มไทยพีค่อนเป็นผู้ร่วมทุนใหม่"

"ซึ่งประเด็นที่เจ้าหนี้ให้ความสำคัญมากที่สุด นอกเหนือจากการแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินแล้ว เจ้าหนี้ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขในการประมูลว่า กลุ่มผู้ร่วมทุนใหม่จะต้องไม่ดำเนินการใดๆ ใน อนาคตอันจะก่อให้เกิดการผูกขาด หรือการกำหนดราคาปุ๋ย อันจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ใช้ปุ๋ย ให้ได้รับความเดือนร้อนจากภาวะการขาดแคลนปุ๋ย หรือทำให้ปุ๋ยมีราคาแพงเกินจริง" นายสถิตย์กล่าว

ให้สิทธิธ.ก.ส.ซื้อ NFC 20%

นอกจากนี้เพื่อผลประโยชน์อนาคตต่อเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ย เจ้าหนี้ยังกำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลด้วยว่า ผู้ร่วมทุนใหม่จะต้องให้สิทธิธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ซื้อหุ้นเพิ่มทุนปุ๋ยแห่งชาติ ในส่วนผู้ร่วมทุนใหม่ได้ 20% ราคาเดียวกับผู้ร่วมทุนใหม่ โดย ธ.ก.ส. อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนดังกล่าว

ซึ่งหาก ธ.ก.ส.ตัดสินใจร่วมทุน นอกจากจะมีสิทธิออกเสียง ร่วมบริหารปุ๋ยแห่งชาติ ยังจะช่วยให้ปุ๋ยแห่งชาติสามารถจำหน่ายปุ๋ยได้มากขึ้น ซึ่งตัวเลขในอดีต ธ.ก.ส. มียอดสั่งซื้อปุ๋ยเพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรถึง 300,000-400,000 ตันต่อปี"

กลุ่มทุนจีนฮุบ 71%

ทางด้านนายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย กล่าวถึง ข้อเสนอกลุ่มไทยพีค่อนว่า เจ้าหนี้มีหลักประกันทั้ง 2 ราย จะได้รับชำระเป็นเงินสดรวม 1,866 ล้าน บาท โดยเป็นเงินจากการเพิ่มทุน 71% ของผู้ร่วมทุนใหม่ 1,588 ล้านบาท อีก 78 ล้านบาท เป็นเงินสดในบัญชีบริษัท ซึ่งเป็นหลักประกันอยู่กับเจ้าหนี้ ส่วนอีก 200 ล้านบาท จะเป็นเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ย มีกำหนดชำระภายใน 3 ปี

นอกจากนั้นบริษัทจะโอนที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท ให้เจ้าหนี้ด้วย สำหรับสัดส่วนถือหุ้นอีก 29% ที่เหลือ ซึ่งเจ้าหนี้จะแปลงหนี้บางส่วนเป็นทุน บมจ. ปุ๋ยแห่งชาติ อยู่ระหว่างพิจารณาสัดส่วนถือหุ้น ระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้นเดิม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์ด้วย ว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน

"ปุ๋ยแห่งชาติมีปัญหายืดเยื้อมานาน เนื่องจากโครงสร้างการผลิตที่ซับซ้อน ซึ่งใช้เงินลงทุนในอดีตสูงกว่า 10,000 ล้านบาท ประกอบกับปริมาณการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 30% เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้ต้นทุนการผลิตของปุ๋ยแห่งชาติ สูงกว่าคู่แข่ง มาก" นายสมเจตน์ กล่าว

ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในอดีต ตั้งแต่มีการก่อตั้งบริษัทมามีผลขาดทุนมาโดยตลอด ในปี 2545 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิกว่า 1,962 ล้านบาท และมีขาดทุนสะสมถึง 12,887 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 1,329 ล้านบาท การ แก้ไขปัญหาจึงจำเป็นต้องได้ผู้ร่วมทุนที่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตของบริษัทให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และมีเงินทุนเพียงพอที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทได้ในระยะยาว

นายสมเจตน์ กล่าวเพิ่มว่าจากข้อเสนอของกลุ่มไทยพีค่อน นอกเหนือจากเงินสด 1,588 ล้านบาท ที่ต้องใส่เข้ามาแล้ว ทางกลุ่มยังต้องจัดหาเงินทุนใหม่เข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบริษัท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากธุรกิจปุ๋ยจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสูงมาก ซึ่งตามข้อเสนอดังกล่าวบวกกับประสบการณ์ของกลุ่ม Xi Yang น่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาของปุ๋ยแห่งชาติได้นอกจากนี้ทางผู้ร่วมทุนยังได้ขอให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้กระบวนการทุกอย่างเป็นไปอย่างชัดเจนและโปร่งใส ตลอดจนเพื่อทราบภาระหนี้สินทั้งหมดของบริษัทอย่างชัดเจนด้วย โดยคาดว่าจะสามารถ ยื่นเรื่องต่อศาลฟื้นฟูภายในต้นเดือนสิงหาคม และเจ้าหนี้จะได้รับชำระเงินภายในสิ้นปีนี้แน่นอน

ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2545 บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วรวม 13,139 ล้านบาทมีขาดทุนสะสม 12,887 ล้านบาทโดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 1,329 ล้านบาทมีภาระหนี้สินรวม 14,154 ล้านบาท เป็นภาระหนี้เฉพาะเงินต้นกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินที่มีหลักประกัน 2 รายรวม 8,386 ล้านบาท ประกอบด้วย บสท. จำนวน 6,181 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์จำนวน 2,204 ล้านบาท โดยมีดอกเบี้ยค้างชำระตามบัญชีกว่า 4,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us