|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธอส. เชื่อทรัพย์สินเลห์แมนฯ กว่าจะนำออกขายทอดตลาดได้อีกนาน แนะรอราคานิ่งค่อยซื้อ ฝากความหวังรัฐบาลใหม่เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ พร้อมรอขุนคลังเซ็นอนุมัติดำเนินธุรกิจประกันสินเชื่อ หวั่นวิกฤตการเงินฉุดแผนซีเคียวรีไทเซชั่นเกิดยาก
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวถึงผลกระทบกับภาคอสังหาริมทรัพย์หลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสูกระบวนการล้มละลายว่า การลงทุนของเลห์แมนในเมืองไทยสวนใหญ่เป็นออฟฟิศ สำนักงาน ให้เช่าและได้ขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปแล้วเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ และกระบวนการฟืนฟูจะต้องมีการพิทักษ์ทรัพย์จึงจะสามารถขายสินทรัพย์ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ จึงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และหากทางเลห์แมน มีการขายสินทรัพย์ออกมาเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี
“อย่างไรก็ตามเลห์แมนฯ ได้ขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในไทยไปแล้วเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น กำลังดูว่าในกลุ่มเลห์แมนฯ ยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยมากน้อยแค่ไหน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ของเลห์แมนฯที่คาดว่าจะขายออกมาในราคาถูกนั้น เชื่อว่ากว่าจะเข้าสู่กระบวนการขายจะต้องใช้เวลานานพอสมควร และนักลงทุนควรรอให้ราคานิ่งกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยง ”
สำหรับการประชุมของนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบจากปัญหาเลห์แมนฯ ว่าจะกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือสถาบันการเงินหรือไม่ มากน้อยขนาดไหน นายขรรค์ กล่าวว่า ผลกระทบจากสถาบันการเงินในไทยคงจะมีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากเลห์แมนฯ จะเน้นทำธุรกิจในสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น จึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยคงได้รับผลกระทบไม่มากนัก
ส่วนกระแสข่าวที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ โดยส่วนตัวต้องการให้ทีมเศรษฐกิจเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รีบเรียกความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนกลับมาภายหลังจากที่ไทยมีพรก.ฉุกเฉิน แต่ยอมรับช่วงนี้เป็นสุญญากาศ เพราะกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะเริ่มทำงานได้คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วัน
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า หลังจากเลห์แมนประสบปัญหาทางการเงินส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ ปรับตัวลดลง จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากต้องไประดมทุนผ่านช่องทางอื่น เช่นการกู้ธนาคารโดยตรง ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า นอกจากนี้ในรายที่ออกหุ้นกู้ให้เลห์แมนยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่ต้องมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดอีกด้วย
ทั้งนี้ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่เลห์แมน ลงทุนในเมืองไทยนั้น เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรม และไม่ได้ทุ่มลงทุนมากเหมือนตลาดอื่น หากมีขายทรัพย์สินออกมาเชื่อว่า จะไม่กระทบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยเพราะ ราคาจะไม่ปรับลดลงมาก และหากหากมีการเสนอขายชื่อว่า จะมีผู้ประกอบการไทย ระดับเจ้าสัวบางรายที่พร้อมจะซื้อเนื่องจากทรัพย์สินที่ลงทุนนั้นมีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.)กล่าวว่า หากเลห์แมนต้องขายสินทรัพย์ออกมาเพื่อนำเงินไปใช้หนี้จะไม่กระทบกับ บสก. เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ เพื่อการลงทุนประเภท อาคารสำนักงาน ต่างจาก สินทรัพย์ของ บสก. ซึ่งจะเป็น สินทรัพย์ประเภทเอ็นพีเอ และกฎหมายของบสก.สามารถซื้อเอ็นพีเอได้เฉพาะในส่วนของสถาบันการเงินเท่านั้นไม่สามารถซื้อสินทรัพย์ของ เลห์แมนได้
หวั่นตั้งมอร์เกจอินชัวรันล่าช้า
สำหรับการจัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ มอร์เกจอินชัวรัน เชื่อว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไปจาก 2 กรณี คือ 1. ขั้นตอนการออกกฎกระทรวงเพื่อให้ ธอส. สามารถดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้แม้ว่าจะผ่านกฤษฎีกา แต่ต้องนำกลับมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเซ็นยินยอมอีกครั้ง ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯคนใหม่เซ็นอนุมัติ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ธุรกิจประกันของสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาด้านการเงินจากวิกฤตซัปไพรม์ อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น ของบริษัทประกันในการรับประกันสินเชื่อต่อ ทำให้บริษัทประกันชะลอการลงทุนออกไปได้
อย่างไรหลังจากเลห์แมนเข้าสู่กระบวนการล้มละลายจะส่งผลให้ตลาดเงินปิดตัว ซึ่งจะกระทบกับแผน การระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชั่น)ในวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ของธนาคารต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าผลกระทบเกิดขึ้นจะทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจทำได้ยากขึ้นด้วย
|
|
 |
|
|