Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กันยายน 2551
มูลค่าหุ้นไทยหลุด5ล.ล้าน พิษเลห์แมนฯป่วนทั่วโลก ตลท.อนุมัติตั้งกองทุนอุ้ม             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยรูดหนักตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่ร่วงระนาว หลัง "เลห์แมน บราเธอร์ส" ล้มละลาย นักลงทุนหวั่นผลกระทบทวีความรุนแรงและยืดเยื้อ ดัชนีหุ้นไทยรูดต่ำสุดกว่า 27 ก่อน แม้จะดีดกลับมาปิดที่ 624.56 จุด ลดลง 17.83 จุด หรือ 2.78% โดยนักลงทุนต่างชาติขายทิ้งเกือบ 2.2 พันล้านบาท ฉุดมาร์เกตแคปหลุด 5 ล้านล้านบาท ทุบสถิติในรอบ 3 ปี 7 เดือน ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไฟเขียวจัดตั้งแมทชิ่งฟันด์พยุงหุ้น 5 กองรวด มูลค่า 2 พันล้าน อ้างฉวยจังหวะซื้อของถูก ด้าน ก.ล.ต. ปลอบขวัญพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแกร่งให้ลงทุนอย่างรอบคอบ ส่วนนักวิเคราะห์ มั่นใจกระทบระยะสั้นๆ ดัชนีไม่หลุด 600 จุด

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (16 ก.ย.) ยังคงได้รับผลกระทบจากการประกาศล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนวิตกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะบานปลายและยืดเยื้อเป็นเวลานาน บวกกับการเมืองที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หากพรรคร่วมรัฐบาลยังสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า และลงไปลึกสุดที่ 614.72 จุด หรือปรับตัวลดลงกว่า 27.67 จุด หลังจากที่นักลงทุนได้เทขายหุ้นออกมาอย่างแรงเพื่อเก็บรักษาเงินสดไว้ ก่อนที่มีแรงซื้อเข้ามาช่วงท้ายตลาดผลักดันดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวปิดที่ระดับสูงสุดของวันที่ 624.56 จุด ลดลงจากวันก่อน 17.83 จุด คิดเป็น 2.78% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 13,924.06 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศได้เทขายหุ้นไทยออกมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดขายสุทธิสูงถึง 2,164.17 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 349.80 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,513.98 ล้านบาท

สำหรับหลักทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้มากที่สุด คือ หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่ราคาปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า โดยธนาคารกสิกรไทย มีราคาปิดที่ 63 บาท ลดลงจากวันก่อน 2 บาท หรือ 3.08% ธนาคารกรุงเทพ ราคาปิด 103 บาท ลดลง 7 บาท หรือ 6.36% และธนาคารไทยพาณิชย์ ราคาปิด 70 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 3.45%

จากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงครั้งนี้ ได้ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตลาดราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 5 ล้านบาท มาอยู่ที่ 4.94 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี 7 เดือน หรือประมาณ 43 เดือน นับจากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 มูลค่าตามราคาตลาดรวมอยู่ที่ 4.95 ล้านล้านบาท

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การประกาศล้มละลายของบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงประมาณ 2.78% ซึ่งน้อยกว่าตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลดลง 4-5% ขณะเดียวกันปัจจัยด้านการเมืองยังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเติบโตของเศราฐกิจไทย หากการเมืองเริ่มคลี่คลายและสามารถเดินหน้าต่อไปได้จะทำให้ปัจจัยลบภายในประเทศลดลง

จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากนั้น คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาอนุมัติร่วมลงทุนกองทุนแมทชิ่งฟันด์ จำนวน 5 กองทุน ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วไปมูลค่ากองทุนละ 400 ล้านบาท รวมมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 5 แห่ง ที่ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วย บลจ.กรุงศรีอยุธยา บลจ.ธนชาต บลจ.กรุงไทย บลจ.กสิกรไทย และบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศ)

โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกองทุนแมทชิ่งฟันด์ ในวันที่ 26 กันยายนนี้ แต่กองทุนดังกล่าวสามารถที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ทันทีขึ้นอยู่กับผู้บริหารจัดการกองทุน โดยหากกองทุนดังกล่าวมีการลงทุนไปแล้วคิดเป็น 1 ใน3 ของมูลค่ากองทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใส่เงินลงทุนร่วมอีก 100 ล้านบาท

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้บลจ.ยื่นความจำนงขอจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ ภายในวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งบอร์ดได้อนุมัติให้จัดตั้งวานนี้ (16 ก.ย.) เพราะเห็นว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามากแล้ว หากเข้าไปลงทุนในช่วงนี้จะได้รับผลตอบแทนที่ดี โดย 5 กองทุนที่อนุมัตินั้นเป็นกองทุนที่จัดตั้งอยู่แล้ว แต่มีการเพิ่มทุน" นางภัทรียา กล่าว

สำหรับกองทุนแมทชิ่งฟันด์ที่เป็นการระดมทุนจากนักลงทุนถาบันขนาดกองทุนละ 1,000 ล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานที่จะต้องมีการขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยบลจ.ที่เสนอมาพบว่านักลงทุนสถาบันที่จะเข้ามาลงทุนนั้นเป็นสถาบันการเงินภายในประเทศ ส่วนนักลงทุนต่างประเทศมีน้อยมาก ขณะที่กองทุนแมทชิ่งฟันด์ ที่จะมีการลงทุนในหุ้นขนาดเล็กนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้บลจ.ยื่นความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้

นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามผลกระทบต่อสถาบันการเงินจากการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส นั้น ธปท. ระบุว่ามี
ธนาคารพาณิชย์ไทยได้รับผลกระทบเพียง 4.3 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนไทยนั้น เลห์แมน บราเธอร์สเข้ามาลงทุนน้อย และเชื่อว่าหากเลห์แมนมีการขายหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ถือออกมาเชื่อว่าจะมีผู้สนใจเข้ามาซื้อลงทุนจากได้ราคาที่เหมาะสม

"นักลงทุนจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ว่าทางการจะมีมาตรการดำเนินการอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น"

ก.ล.ต.เตือนลงทุนอย่างรอบคอบ

นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การประกาศล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส ได้ส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคและไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการปรับสภาพคล่องเพื่อรองรับการไถ่ถอนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ ดังนั้นนักลงทุนจะต้องตัดสินใจซื้อขายหุ้นด้วยความรอบคอบ เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยยังมีความมั่นคงและมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี

"สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ประสานกับหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ขณะที่ธุรกิจด้านหลักทรัพย์ นั้น เลห์แมนฯ ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจในไทย"

สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่ส่วนหนึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ติดตามดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงน่าจะคลายความกังวลลงได้

"ปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ รวมถึงเลห์แมนฯ ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศไทย โดย ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องได้ประสานงานและติดตามข้อมูลที่อาจเกิดผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว" นายประสงค์ กล่าว

ส.นักวิเคราะห์ยันดัชนีไม่หลุด 600 จุด

นายพงศ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในฐานะกรรมการของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคงได้รับผลกระทบด้านจิตวิทยาจากเหตุการณ์ล้มละลายของเลห์แมนฯ ในระยะสั้น แต่เชื่อว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยคงไม่หลุดระดับ 600 จุดอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นในปี 51 นี้ คาด่าจะสามารถยืนได้เหนือระดับ 700-750 จุด โดยมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์การเมืองที่น่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันหากมีการประกาศยุบสภาจะช่วยผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 660-670 จุด แต่ถ้าหากมีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลที่มีความเป็นกลางอาจจะสนับสนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 680-700 จุดได้ ส่วนกรณีเกิดรัฐประหาร แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเหลือที่ 610.612 จุด

"เลห์แมนฯ ล้มละลายไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก เนื่องจากเลห์แมนฯ ถือหุ้นทางตรงและทางอ้อมในบริษัทจดทะเบียน รวมประมาณ 6 พันล้านบาท ถือว่ามีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนโดยรวม"

สำหรับสถาบันการเงินของไทยที่เข้าไปลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนฯ มีมูลค่ารวมประมาณ 9.7 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีการตั้งสำรองฯไว้เรียบร้อยแล้วในระดับ 80-90% โดยธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ถือเป็นแบงก์ที่น่าจะมีการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนฯ มากที่สุด ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีสัดส่วนการลงทุนน้อยมาก

นายพงษ์พันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ปัญหาเลห์แมนฯ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น แต่จะไม่รุนแรงจนทำให้
เศรษฐกิจโลกถดถอย เพราะอย่างจีนและอินเดียมีสภาพคล่องสูงและปรับตัวได้ทันท่วงที ขณะที่ไทยเองยังมีโอกาสเติบโตจากภาคการลงทุน จากการแข็งค่าเงินบาทเป็นปัจจัยหนุน

ด้านปัจจัยด้านเงินเฟ้อในประเทศไทย มองว่ามีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศก็น่าจะได้เห็นในปี 52 คาดว่าจะปรับลดประมาณ 0.50%

สำหรับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คืนวันที่ 16 ก.ย. 51 นี้ คาดว่าเฟดน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% หลักจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ แม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วต้องการให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจมากกว่า ขณะที่ในประเทศไทยนั้น คงจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปี 52 โดยปรับลดลงอีกประมาณ 0.50% เพราะปัจจุบันปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นแรงกดดันเริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้ว

คาดตลาดหุ้นผันผวนในแดนลบ

นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์นักลงทุน บล. พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากความกังวลปัญหาเรื่องของเลห์แมนฯ ประกาศล้มละลาย จนส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงการเมืองในประเทศที่พรรคพลังประชาชนมีมติเสนอชื่อ นายสมชาย วงสวัสดิ์ เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (17 ก.ย.) ตลาดหุ้นยังคงตกอยู่ในภาวะซบเซา เนื่องจากนักลงทุนยังไม่วางใจปัญหาเลห์แมนฯ โดยให้แนวรับที่ 610 จุด และแนวต้านที่ 640 จุด รวมทั้งให้ติดตามผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อน

นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นักลงทุนต่างประเทศตื่น
ตระหนกกับปัญหาการล้มละลายของเลห์แมนฯ จึงได้เทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนฯ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

"วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ โดยให้แนวรับที่ 620 จุด และแนวต้านที่ 642 จุด โดยปัจจัยที่ต้องจับตาคือ เรื่องของตลาดหุ้นทั่วโลก และการประชุมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ส่วนที่น่าลงทุนในระยะยาวจะเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us